นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ.เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ที่ผ่านคุณสมบัติด้วยวิธีจับสลาก สำหรับการรับซื้อไฟฟ้าจากสหกรณ์ภาคการเกษตรและได้ประกาศไปเบื้องต้นแล้วนั้นคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการการตรวจสอบแล้วนำเสนอ กกพ. เห็นชอบ และได้มีประกาศกกพ. อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 59 โดยมีรายชื่อเจ้าของโครงการสหกรณ์ภาคการเกษตรที่ผ่านการพิจารณา รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 67 รายกำลังการผลิตรวม 281.32 เมกะวัตต์ และไม่ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีจับสลาก จำนวน 100 ราย (จากจำนวนที่เข้าสู่การคัดเลือกโดยวิธีจับสลาก จำนวนทั้งหมด 167 ราย)ซึ่งจะมีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแบ่งตามพื้นที่ประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวน 61 ราย กำลังการผลิตรวม 259.67 เมกะวัตต์ (ภาคกลาง 25 ราย/รวม 108.2 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันออก 17 ราย/รวม 70.47 เมกะวัตต์ , ภาคเหนือ 1 ราย/รวม5 เมกะวัตต์ และภาคตะวันตก 18 ราย/รวม 76 เมกะวัตต์)และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีจำนวน 6 ราย กำลังการผลิตรวม 21.65 เมกะวัตต์
"ทั้งนี้ จำนวนโครงการสหกรณ์ภาคการเกษตร ที่ไม่ผ่านการคัดเลือก จำนวน100 ราย เหตุผลที่ไม่ผ่าน ส่วนใหญ่ ก็เนื่องมาจากจำนวนโครงการที่เชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า (Station) หรือกำลังการผลิตติดตั้งที่เสนอขาย มีขนาดเกินกว่าศักยภาพของระบบส่งไฟฟ้า (Station) โดยผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกสามารถมารับเอกสารคืนภายหลัง 30 วันนับจากวันที่ 26 เม.ย. นี้ เป็นต้นไป"
"โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะมีอายุสัญญา 25 ปี และได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบFiTที่ 5.66 บาทต่อหน่วยซึ่งจะต้องดำเนินการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) ภายในวันที่ 31ธ.ค. 59ทั้งนี้ เจ้าของโครงการหรือผู้สนับสนุนโครงการจะต้องมายื่นคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า เพื่อลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (กฟภ. หรือ กฟน.) ภายใน 120 วันนับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้า หากไม่มีการลงนามในสัญญาฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิกอย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว ห้ามมิให้มีการโอนสิทธิและหน้าที่ในคำขอขายไฟฟ้าหรือในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับผู้อื่น โดยผู้สนใจติดตามรายละเอียดหลักเกณฑ์การจับสลากเพิ่มเติมได้ที่www.erc.or.th" นายวีระพล กล่าวย้ำเพิ่มเติม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit