กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร พาซาญ่า โอเปร่าสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมมือกันอีกครั้ง เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

17 May 2016
มูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ (Bangkok Opera) จัดงานแถลงข่าวการแสดงบัลเล่ต์-โอเปร่า "สุริโยไท" การแสดงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ บริเวณโถงหน้าหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2559 โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์การแสดงบัลเล่ต์-โอเปร่า สุริโยไท ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดแสดงขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม – วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2559 รวม 5 รอบ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งได้มีการเสวนาในหัวข้อ "สุริโยไทมีความหมายอย่างไรสำหรับคนไทยยุคร่วมสมัย"
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร พาซาญ่า โอเปร่าสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมมือกันอีกครั้ง เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

คุณสมเถา กล่าวว่าในปี 2556 ทั้ง 5 รอบของการแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" เต็มหมดทุกรอบ จึงต้องมีการเพิ่มการแสดงขึ้นอีก 4 รอบในอีกหลายเดือนต่อมา การแสดงดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการแสดงด้านดนตรีคลาสสิคที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หรืออาจถือได้ว่าเป็นการแสดงที่มีผู้ชมเนืองแน่นมากที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้

การแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" โดยสมเถา สุจริตกุล ในปี 2556 เป็นการเริ่มต้นของศิลปะผสมผสานรูปแบบใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นการพบกันระหว่างบัลเลต์ที่มีการเล่าเรื่องราว (Narrative Ballet) ของทางตะวันตก และละครนาฏยศิลป์ของไทย การแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" คือการเชื่อมโยงกันระหว่างแนวคิดทางด้านดนตรี การออกแบบ การกำกับท่าเต้น และเพลงของตะวันตกและเอเซีย

การแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" นั้นเป็นการรวมฉากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของสยามในช่วงที่กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองในฐานะที่เป็นมหานครใหญ่ และเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมต่างๆ ของโลก โดยมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระสุริโยทัย วีรกษัตรีย์อันเลื่องพระนามในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ศิลปะบัลเลต์แบบ "narrative ballet" ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวทั้งหมดผ่านนาฏยศิลป์ นั้นได้สูญสิ้นหรือตายไปเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้วนับตั้งแต่ที่บัลเล่ต์แบบรัสเซีย (Ballets Russes) ก้าวขึ้นมารุ่งเรืองที่สุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลุกศิลปะประเภทนี้ให้ฟื้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง สมเถาจึงได้มอบหมายให้ภูวเรศ วงศ์อติชาติ ซึ่งทำงานร่วมกับเขามาแล้วทั้งในงานโอเปร่า (แม่นาก โอเทลโล พระเตมีย์ใบ้) และในงานละครเพลง (เรยา เดอะมิวสิคัล) มาสร้างสรรค์รูปแบบผสมผสานของนาฏยศิลป์ ซึ่งประกอบด้วยลีลาการเต้นแบบสมัยใหม่กับนาฏศิลป์ไทย

ผู้ออกแบบฉากคือดีน ชิบูญ่า อดีตผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของคณะมหาอุปรากรแห่งซานฟรานซิสโก (San Francisco Lyric Opera) สำหรับงานผ้าที่ใช้ในการแสดงนั้นสร้างสรรค์อย่างพิเศษโดยผู้นำด้านการออกแบบผ้าอย่างพาซาญ่า (Pasaya) นักร้องโอเปร่าที่มีชื่อเสียงอย่างสเตซี แท็พเพ่น ได้หวนกลับมาแสดงอีกครั้ง นอกจากนี้ ทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยกรชาวไทยที่มีฝีมือระดับแถวหน้าในเวทีนานาชาติจะมาอำนวยเพลงให้กับวงดุริยางค์สยามฟิลฮาโมนิคออเคสตร้า

HTML::image( HTML::image(