ภายในงานได้มีการเผยแพร่ข้อมูลถึงศักยภาพที่โดดเด่นในด้านต่างๆของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นLocations, Production, CG & post-production, Hospitality และ Talents ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนในการผลิตภาพยนตร์ และสื่อบันเทิงจากทั่วโลก ถือเป็นโอกาสอันดีในการประกาศมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำ Production และ Post Production เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับกองถ่ายภาพยนตร์และสื่อบันเทิงต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย ซึ่งจะได้รับสิทธิ์คืนเงิน 15-20% โดยนโยบายจะเริ่มขึ้นในปีหน้า และคาดว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังให้ความสนใจกับกิจกรรม Panel Discussion ซึ่งเป็นการเสวนาระหว่างบุคลากรผู้ผลิตภาพยนตร์ของประเทศไทยและ Producer ภาพยนตร์ระดับโลก ได้แก่ Mr. Thomas SchuhlyProducer ภาพยนตร์เรื่อง Alexander , Mr. Steven Paul Producer ภาพยนตร์เรื่อง Taken , Mr. Kulthep Narula นายกสมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ , Mr. Anucha Boonyawatanaผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นที่ยอมรับจากเวทีการประกวดภาพยนตร์จากทั่วโลก โดยการเสวนาครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นเวทีที่เผยให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการยอมรับจากเวทีระดับนานาชาติ
ไม่เพียงแค่นั้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการ จากทั่วโลก ในงาน Thai Business Matching ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของ Cannes Film Festival 2016 ที่ชี้วัดความสำเร็จได้จากผู้ให้ความสนใจที่จะดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ด้านภาพยนตร์และสื่อบันเทิง กับผู้ประกอบการชั้นนำของไทยไม่ว่าจะเป็น บริษัท เบนีโทน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไฟว์ สตาร์ โปรดักชั่น จำกัด, บริษัท แฮนด์เมด ดิสทริบิวชั่น จำกัด, บริษัท ก้าวไทยทะยาน จำกัด, บริษัท กลองชัยพาณิชย์ จำกัด, บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด, บริษัท พระเกศ ฟิล์ม จำกัด, และ บริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด
กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและสื่อบันเทิง ให้ก้าวทะยานสู่การพัฒนาขั้นต่อๆไปในระดับสากล
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit