พม. จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซักซ้อมแนวทางการส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานคนพิการ

          วันนี้ (๑๐ พ.ย. ๕๘) เวลา ๑๓.๓๐ น. นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปพม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานคนพิการ" เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ซักซ้อมแนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานคนพิการให้กับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ พ.ย. ๕๘ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น ๗ โรงแรมอะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพฯ 
          นายไมตรี กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนพิการที่จดทะเบียนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑.๖ ล้านคน ซึ่งเป็นคนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน (๑๕-๖๐ ปี) จำนวน ๗๕๖,๘๒๐ คน แบ่งเป็นคนพิการที่ไม่มีงานทำร้อยละ ๔๙ มีงานทำร้อยละ ๓๑ และไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากพิการรุนแรงร้อยละ ๒๐ นอกจากนี้ คนพิการร้อยละ ๔๕.๓๘ ไม่ได้รับการศึกษา โดยคนพิการที่ได้รับการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ ๔๔.๓๒ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่าคนพิการส่วนใหญ่ยังไม่มีอาชีพและรายได้ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้คนพิการได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงโอกาสการประกอบอาชีพและมีงานทำเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี ๒๕๕๙ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีนโยบายเร่งด่วน ๘ เรื่อง นโยบายปฏิรูปและพัฒนา ๕ ด้าน และนโยบายตามพันธกิจ ๑๑ ด้าน โดยหนึ่งใน ๘ นโยบายเร่งด่วน คือการเข้าถึงบริการทางสังคมของคนพิการ ได้แก่ ๑) การสนับสนุนการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเพื่อให้คนพิการสามารถเดินทางได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกับคนทั่วไป ๒) การสนับสนุนศูนย์บริการคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิและบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง ๓) การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ ๔) ส่งเสริมอาชีพและการจ้างงาน เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ มีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคม ทั้งการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และการจ้างงานในสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ 
          นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้กำหนดสิทธิของคนพิการไว้อย่างครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการภาคเอกชน ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการในสัดส่วน ๑๐๐ ต่อ ๑ ตามมาตรา ๓๓ รวมทั้งการดำเนินการสร้างงานสร้างอาชีพตามมาตรา ๓๕ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓ หรือนายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓ และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น อาจให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่าสถานประกอบการภาคเอกชนมีการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ ร้อยละ ๘๐ ขณะที่ภาครัฐมีหน่วยงานของรัฐ ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย จำนวน ๒๙๐ แห่ง และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้คนพิการมีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 
          "กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ร่วมกับกรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม นำความรู้ที่ได้จากการประชุม นำไปสู่การปฏิบัติ และขยายผลด้วยการสร้างความเข้าใจแก่สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกิดจากการจ้างงานคนพิการ ตลอดจนการจัดฝึกอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนพิการและความพิการ ให้แก่สถานประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างโอกาสให้คนพิการมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ จะทำให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของคนพิการอย่างยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนคนพิการจาก "ภาระ " ให้เป็น "พลัง" ของครอบครัว สังคม และประเทศชาติต่อไป" นายไมตรี กล่าวในตอนท้าย


ข่าวปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์+กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์วันนี้

UNFPA-สสส. ผนึกกำลังภาครัฐ ภาคี 8 หน่วยงาน ปลดล็อกแพลตฟอร์ม SoSafe เดินหน้ายกระดับสุขภาพและความปลอดภัย ผ่านการพัฒนาชีวิตทุกช่วงวัย สำหรับทุกกลุ่ม ทุกเพศและทุกวัย

ดร. จูลิตตา โอนาบันโจ ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทยและผู้แทนประจำประเทศมาเลเซีย พร้อมด้วย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสันติธร ยิ้มละมัย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ดร. นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข, นายไพศาล วุทฒิลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาตินางสาวภรณี ภู่ประเสริฐ

พร้อมดึงสองรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ PEA และ E... การเคหะแห่งชาติฉลองครบรอบ 52 ปี จัดกิจกรรมวิชาการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย — พร้อมดึงสองรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ PEA และ EGAT เสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารจั...

วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ที่ห้องรอยัล จูบิลี... พม. จัดงานวันคนพิการสากล 2567 มุ่งส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการ เพื่ออนาคตที่ครอบคลุม-ยั่งยืน — วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ที่ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลน...

พม.เดินหน้าขยายสาขา"สถานธนานุเคราะห์" ล่า... พม.เปิด"สถานธนานุเคราะห์" สาขาที่ 46 ลาดกระบังเขต — พม.เดินหน้าขยายสาขา"สถานธนานุเคราะห์" ล่าสุดเปิดสาขาที่ 46 ลาดกระบังเขตประชากรหนาแน่น มีความต้องการ...

การเคหะแห่งชาติจัดเสวนาวิชาการเรื่อง "ตั้... การเคหะแห่งชาติ ระดมกูรูด้านภัยพิบัติ " ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติ " — การเคหะแห่งชาติจัดเสวนาวิชาการเรื่อง "ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และมี...

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย... พม. จับมือภาคีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมขับเคลื่อนอนาคตที่อยู่อาศัย สร้างชุมชนอย่างยั่งยืน — กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)เป็นเจ้าภาพจั...

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก... ปตท. ผนึกกำลัง พม. และ จ.ระยอง ปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวโครงการเขาจอมแหเปิดประตูสู่ระยอง ปี 2567 — นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมแ...