นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2558 - ปัจจุบัน (20 ก.ย. 58) มีจังหวัดได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนักของอิทธิพลพายุหว่ามก๋อ จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี พังงา ชุมพร ตราด สระบุรี ระนอง สตูล ตาก จันทบุรี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตรัง ฉะเชิงเทรา นครนายก กระบี่ พัทลุง นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ รวม 51 อำเภอ 136 ตำบล 542 หมู่บ้านสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 6 จังหวัด รวม 22 อำเภอ 69 ตำบล 336 หมู่บ้าน โดย พังงา เกิดฝนตกหนัก\อย่างต่อเนื่องและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า อำเภอคุระบุรี และอำเภอกะปง รวม 14 ตำบล 51 หมู่บ้าน ปัจจุบันฝนหยุดตก ระดับน้ำทรงตัว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์ จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 – 2 วัน ระยอง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และอำเภอแกลง รวม 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ปัจจุบันฝนหยุดตก สามารถสัญจรได้ตามปกติ ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน และอำเภอสวี รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ปัจจุบันฝนหยุดตก ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร จันทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งหางแมว อำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอขลุง อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอท่าใหม่ และอำเภอแหลมสิงห์ รวม 24 ตำบล 125 หมู่บ้าน ถนนเสียหาย 3 สาย สะพานเสียหาย 2แห่ง ฝายเสียหาย 1 แห่ง คอสะพานเสียหาย 1 แห่ง ปัจจุบันฝนหยุดตก ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางพื้นที่ หากไม่มีฝนตกเพิ่มในพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2 - 3 วัน ตราด น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะช้าง และอำเภอเขาสมิง รวม 2 ตำบล 7 หมู่บ้าน สตูล น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพ อำเภอเมืองสตูล อำเภอควนกาหลง และอำเภอละงู รวม 15 ตำบล 95 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) 8 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ชลบุรี พัทลุง ตรัง พังงา จันทบุรี ระยอง และตาก หากไม่มีฝนตกเพิ่มในพื้นที่คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 – 2 วัน ทั้งนี้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงาoที่เกี่ยวข้องระดมเจ้าหน้าที่ พร้อมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรกลสาธารณภัยออกปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ภัยและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลัง พร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นผิวจราจรและพื้นที่ลุ่มต่ำ อีกทั้งส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ตลอดจนซ่อมแซมสาธารณูปโภคและ สิ่งสาธารณประโยชน์ ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ท้ายนี้ ผู้ประสบภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
0-2243-0674 0-2243-2200www.disaster.go.th