นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2558 - ปัจจุบัน มีจังหวัดได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนักของอิทธิพลพายุหว่ามก๋อ จำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี พังงา ชุมพร ตราด สระบุรี ระนอง สตูล ตาก จันทบุรี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตรัง ฉะเชิงเทรา และนครนายก รวม 27 อำเภอ 65 ตำบล 287 หมู่บ้าน มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร และชลบุรี สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 5 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 10 จังหวัด โดยนครนายก เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมืองนครนายก ชลบุรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ และอำเภอหนองใหญ่อีกทั้งเกิดน้ำท่วมขังเส้นทางจราจรบริเวณถนนมอเตอร์เวย์สาย 7
ช่วง กม.98 และ กม.116 ส่วนถนนสาย ชบ 2081 แยก 331 – บึง ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง คอสะพานขาด ถูกน้ำกัดเซาะเป็นโพรงใต้ถนนแขวงทางหลวงชลบุรีที่ 2 ระยอง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง อำเภอเขาชะเมา และอำเภอบ้านฉาง รวม 8 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 500 ครัวเรือน พังงา น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอกะปง ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน และอำเภอสวี รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ตราด น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเกาะช้างสระบุรี น้ำป่าไหลหลากกัดเซาะถนนเชื่อมต่อหมู่บ้านยาง ตำบลดงพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กับพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ส่งผลให้ถนนไม่สามารถสัญจรได้ จันทบุรี น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรใน 3 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอขลุงระนอง ลมกระโชกแรง
ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง อำเภอละอุ่น และอำเภอกระบุรี ทำให้มีต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้าแรงสูง ดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง และมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ สตูล น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพและอำเภอเมืองสตูล รวม 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 4,029 ครัวเรือน 7,808 คน เบื้องต้นศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลังพร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นผิวจราจรและพื้นที่ลุ่มต่ำ อีกทั้งส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ตลอดจนซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณประโยชน์ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ท้ายนี้ ผู้ประสบภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th