ปรับภูมิคุ้มกันสมดุลดูแลอาการจอประสาทตาเสื่อม

22 Sep 2015
ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของคนเรา อาการจอประสาทตาเสื่อมถือเป็นปัญหายอดฮิตที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงวัยปัจจุบัน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 55 ต้องสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรจนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต
ปรับภูมิคุ้มกันสมดุลดูแลอาการจอประสาทตาเสื่อม

อาการจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD) เกิดจากการเสื่อมสภาพในส่วนกลางของจอประสาทตาพบได้มากกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น พันธุกรรม เชื้อชาติที่มักพบในคนผิวขาว เพศโดยพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมถึงการสูบบุหรี่ที่ทำให้มีโอกาสเกิดขึ้นเร็วกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 ปี ร่วมถึงความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) นักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกผู้คิดค้นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลด้วยสารสกัดธรรมชาติ ระบุว่า อาการจอประสาทตาเสื่อมแบ่งได้ 2 ประเภท โดยร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นมักพบเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง จะมีการเสื่อมสลายมีโปรตีนและไขมันจับอยู่ที่จุดกลางรับภาพจอประสาทตา จากขบวนการเสื่อมตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ บางรายมีความรุนแรงก็อาจพัฒนาไปเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตาบอด

อาการจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกเกิดจากที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตาและผนังชั้นอาร์พีอี ซึ่งจะเปราะบางและแตกง่ายมาก ทำให้มีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลว จนจุดกลางรับภาพของจอประสาทตาบวมและเกิดแผลเป็น ทำให้การมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว พร่ามัว จนสูญเสียการมองเห็นไปอย่างรวดเร็วและเฉียบพลัน อาการของผู้ที่เป็นแต่ละรายจะแตกต่างกันไป บางคนอาการอาจจะลุกลามไปช้ามาก ใช้เวลานานกว่าที่จะสูญเสียการมองเห็น แต่สำหรับบางรายอาการก็อาจจะลุกลามเร็วจนทำให้ตาบอดข้างเดียวหรือทั้งสองข้างได้

มีหลายกรณีที่ผู้ที่เป็นไม่สังเกตเห็นความผิดปกติในการมองเห็นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างยังมองเห็นได้ดี แต่ถ้าเป็นทั้งสองข้างจะรู้สึกถึงความผิดปกติได้เร็วกว่า โดยมีอาการเริ่มต้น เช่น มองภาพบิดเบี้ยว มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นขาด มองเห็นส่วนกลางของภาพไม่ชัด ขาดหายหรือมืดดำไป ด้วยเหตุนี้ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพดวงตาไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไร โดยคนที่อายุ 40 – 64 ปีแนะนำให้ตรวจทุก 2-4 ปี ส่วนคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไปควรตรวจถี่ขึ้นทุก 1-2 ปี

การตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะแรกเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะในปัจจุบันการรักษาทำได้อย่างมากเพียงหยุดหรือชะลออาการเท่านั้น โดยการรักษาจอประสาทตาแบบแห้งเป็นเพียงการควบคุมและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเพื่อมิให้อาการลุกลาม ส่วนการรักษาจอประสาทตาแบบเปียกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การผ่าตัด และการฉีดยา โดยนักวิจัยในอังกฤษและอเมริกาพบว่า Interleukin 18 (IL18) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน สามารถใช้ฉีดเป็นยาเข้าเส้นเพื่อระงับและหยุดการไหลออกของเลือด จากเส้นเลือดหลังจอประสาทตาเสื่อม ป้องกันตาบอดได้

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่สมดุลจึงเป็นกุญแจสำคัญของถนอมดวงตา ด้วยแนวคิดการปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล "ใช้อาหารเป็นยา" โดยการวิจัยยาวนานกว่า 38 ปีเพื่อศึกษาสารองค์ประกอบของมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ล่าสุด คณะนักวิจัยไทยของเอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ ได้ค้นพบนวัตกรรมธรรมชาติมีชื่อว่า "APCOessence" ที่ได้จากการสกัดเนื้อและเมล็ดมังคุดซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการหลั่งสารภูมิคุ้มกัน Interleukin 18 (IL18) สามารถถนอมดวงตา ไม่ให้สูญเสียการมองเห็นจากอาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกได้ นับว่าเป็นมิติใหม่ของการถนอมดวงตาด้วยสารสกัดจากธรรมชาติอย่างแท้จริง

ศ.ดร.พิเชษฐ์ชี้ว่า แม้อาการจอประสาทตาเสื่อมจะไม่มีวิธีป้องกันโดยตรง แต่สิ่งที่เราทำได้เพื่อถนอมดวงตาให้ใช้งานเป็นปกติได้นานที่สุดก็คือ การดูแลภูมิคุ้มกันให้สมดุลเพื่อถนอมดวงตา และลดปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าโดยสวมแว่นตากันแดดเวลาออกกลางแจ้ง รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ที่สำคัญที่สุดคือ คนรอบข้างและผู้สูงอายุเองต้องเอาใจใส่เข้ารับการตรวจตาและจอประสาทตาเป็นระยะตามคำแนะนำในแต่ละช่วงอายุ และรู้จักสังเกตความผิดปกติในการมองเห็นของดวงตาแต่ละข้าง ไม่ควรรอจนเป็นหนักถึงขั้นสายตาพร่ามัว เพราะหนทางในการถนอมดวงตาให้ใช้งานได้อย่างยาวนานคือการป้องกันก่อนเกิดอาการนั่นเอง