เชฟรอน และ สวทช. มอบรางวัลผลงาน 3 มิติ สุดล้ำ Enjoy Science: Let’s Print the World การประกวดเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ครั้งแรกของประเทศ

          เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D Printing) เป็นนวัตกรรมที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางและได้รับการนำไปใช้ในหลากหลายวงการ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในอนาคต เมื่อเราสามารถ "พิมพ์" สิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการ โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ เหมือนที่เราใช้เครื่องพิมพ์ทั่วไปในปัจจุบัน โดยมีการนำมาใช้กันในหลากหลายวงการ ทั้งการแพทย์ สถาปัตยกรรม อุตสาหกรรม ไปจนถึงการออกแบบ
          อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือมีการนำใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมากนัก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จึงร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดโครงการ "Enjoy Science: Let's Print the World" การประกวดออกแบบผลงานจากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ ครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อชิงรางวัลรวมกว่า 68เครื่องพิมพ์สามมิติ,เครื่องพิมพ์สามมิติเครื่องพิมพ์สามมิติเครื่องพิมพ์สามมิติ บาท เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีพิธีประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ ไปเมื่อเร็วๆ นี้
          นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของโครงการ Let's Print the World ว่า "โครงการ Let's Print the World เป็นส่วนหนึ่งของโครงการEnjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ (Science)เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Math) หรือสะเต็ม (STEM) โดยเชฟรอน ได้ร่วมกับ สวทช. เฟ้นหากิจกรรมที่จะสื่อสารให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปเห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องสนุก และเป็นเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้เกิดความสนใจและแรงบันดาลใจต่อการศึกษาในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น เราเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เราจึงจัดการประกวดออกแบบผลงานจากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิตินี้ขึ้น และเชิญชวนให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปลองใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการว่าจะนำเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมาสร้างเป็นผลงานอะไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการสรรค์สร้างนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้"
          ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า "การประกวดนี้มุ่งสร้างความสนใจและแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สาธารณชนในวงกว้าง เราจึงแบ่งการประกวดออกเป็น สถาปัตยกรรม ประเภท คือ นักเรียน – นักศึกษา (ระดับไม่เกินปริญญาตรีหรือเทียบเท่า) และบุคคลทั่วไป เปิดรับสมัครผลงานในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ผ่านมา ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเยาวชนและบุคคลทั่วไปส่งผลงานเข้าร่วมทั้งหมด บริษัท เชฟรอน49 ชิ้น จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และเพื่อให้โครงการนี้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงรางวัลสำหรับผู้เข้าประกวดจึงเป็นรางวัลที่ไม่ใช่จำนวนเงิน หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 3เครื่องพิมพ์สามมิติ ท่าน ได้มาเข้าค่ายอบรมและแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ การออกแบบ และการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะให้ความรู้และแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้าประกวดเพื่อนำไปต่อยอดทั้งในการศึกษาและการประกอบอาชีพได้ และสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้เดินทางไปเข้าร่วมงานMaker Faire Berlin ที่ประเทศเยอรมนี เพื่อเปิดโลกทัศน์ในเรื่องของการสร้างสรรค์นวัตกรรมรูปแบบต่างๆ จากนักประดิษฐ์และนักออกแบบระดับโลก และยังมีรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 68เครื่องพิมพ์สามมิติ,เครื่องพิมพ์สามมิติเครื่องพิมพ์สามมิติเครื่องพิมพ์สามมิติ บาท" 
          ในรอบสุดท้าย ผู้เข้ารอบได้สั่งพิมพ์ชิ้นงานและปรับแก้จนได้ตามต้องการและส่งมอบชิ้นงานพร้อมนำเสนอแก่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งใช้หลักเกณฑ์ในการตัดสินผลงาน ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นไปได้ในการผลิตชิ้นงานประโยชน์ใช้สอย ศักยภาพในการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์หรือสังคม และเอกลักษณ์ความเป็นไทย โดยผู้ชนะเลิศในประเภทนักเรียน-นักศึกษา ได้แก่ นางสาวศิริลักษณ์ สังวาลวรวุฒิ จากผลงาน "ปะการังเทียม" ส่วนผู้ชนะเลิศในประเภทบุคคลทั่วไป ได้แก่ นางสาวเสาวคนธ์ ภุมมาลี จากผลงาน "ทศกัณฑ์"
          นางสาวศิริลักษณ์ สังวาลวรวุฒิ นิสิตชั้นปีที่ สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงผลงานปะการังเทียม ว่า "ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล ในปัจจุบันปะการังในธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีอัตราการรอดชีวิตน้อยลง หนึ่งในวิธีการฟื้นฟูแนวปะการังก็คือการใช้ปะการังเทียม อย่างไรก็ดีปะการังเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีอัตราการเติบโตและการอยู่รอดของปะการังที่ไม่สูงนัก ดิฉันจึงเกิดแนวคิดที่จะใช้เทคโนโลยีสามมิติผลิตต้นแบบปะการังเทียมเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยออกแบบให้สามารถลดแรงกระแทกของน้ำทะเลซึ่งจะช่วยให้เพิ่มอัตราการลงเกาะ การเติบโตและการอยู่รอดของปะการังได้ ทั้งยังสามารถเพิ่มความหลากหลายของปะการังที่มายึดเกาะซึ่งจะนำไปสู่ความหลากหลายของระบบนิเวศน์ทางทะเลอีกด้วย เมื่อนำปะการังเทียมต้นแบบไปผลิตและนำไปใช้จริงจะไม่เพียงช่วยอนุรักษ์และพื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเล แต่ยังเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของทะเล อันนำไปสู่การกำเนิดของแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยได้อีกด้วย"
          ด้านนางสาวเสาวคนธ์ ภุมมาลี สถาปนิกและนักออกแบบอิสระกล่าวถึงผลงานทศกัณฑ์ ว่า "โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันมีความสนใจทั้งเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ และศิลปวัฒนธรรมไทย จึงเกิดแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาสร้างผลงานออกแบบที่มีกลิ่นอายของศิลปะไทย โดยใช้หัวโขนทศกัณฑ์เป็นแบบ ซึ่งความท้าทายของการสร้างงานชิ้นนี้คือการขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติ ซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อนและต้องทำให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง ทั้งยังต้องออกแบบโดยคำนึงถึงเงื่อนไขทางเทคนิคของเครื่องพิมพ์สามมิติและวัสดุที่ใช้พิมพ์ จึงจะได้ผลงานที่สวยงาม โดยผลงานทศกัณฑ์สามารถนำไปปรับเป็นขนาดต่างๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น โคมไฟ ของตกแต่งบ้าน พวงกุญแจ เป็นต้น ซึ่งผลงานนี้แสดงให้เห็นว่าศิลปะไทยสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อีกมากมาย ด้วยการผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่"
          นางสาวศิริลักษณ์ กล่าวถึงความประทับใจที่มีต่อโครงการ Let's Print the World ว่า "ก่อนการประกวด ตัวดิฉันเองไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้การพิมพ์สามมิติมากนัก แต่เนื่องจากโครงการนี้ให้ความสำคัญกับไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสให้กับทุกคน โดยผู้ที่ส่งผลงานไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเลย ซึ่งต่างจากการประกวดอื่นๆ ที่ต้องการผู้สมัครที่มีทักษะเพียบพร้อม ดิฉันจึงตัดสินใจส่งผลงานเข้าร่วม เมื่อมาเข้าค่ายอบรมก็ได้ความรู้และคำแนะนำมากมายจากวิทยากรและทีมงาน ทำให้สามารถพัฒนาและเพิ่มเปลี่ยนไอเดียออกมาเป็นผลงานได้ในที่สุด ซึ่งประสบการณ์ ความรู้ และทักษะที่ได้รับ ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย"
          สำหรับผลงานอื่นๆ ที่ได้รับรางวัลในสาขานักเรียน-นักศึกษา ประกอบด้วย รางวัลรองชนะเลิศอันดับ บริษัท เชฟรอน "โคมไฟเอนกประสงค์" โดยนายเกื้อกูล ต่อสกุล ซึ่งออกแบบโคมไฟที่รวมเอาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มาไว้ด้วยกัน เช่น นาฬิกาปลุก ลำโพง ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ สถาปัตยกรรม คือ "ต้นแบบที่เก็บสายหูฟัง" โดยนาย ศิรพัชร นาคะรัตนากร ซึ่งเปลี่ยนหูฟังแบบธรรมดาให้เป็นหูฟังแบบสปอร์ต ที่สายหูฟังไม่เกะกะ ขณะที่รางวัลในประเภทบุคคลทั่วไปนั้น รองชนะเลิศอันดับ บริษัท เชฟรอน ได้แก่นางสาวพิริยา เดชธาดา กับผลงาน "I did it all" ของที่ระลึกแนวใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น และรองชนะเลิศอันดับ สถาปัตยกรรม นางสาวหยาดนภา ผาเจริญ กับผลงาน "แบบจำลองเพื่อใช้ในการเรียนนวดฝ่าเท้าแผนไทยอย่างมีประสิทธิภาพ" นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนวดในจุดที่แม่นยำ ด้วยแรงที่พอเหมาะ ซึ่งจะช่วยยกระดับการนวดแผนไทยให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในระดับสากล
          นายไพโรจน์ กล่าวว่า "ผลงานที่ส่งเข้าประกวดโครงการ Let's Print the World แต่ละชิ้นสะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่นในการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติมาใช้ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่จำกัด ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยเราหวังว่าการประกวดนี้จะช่วยให้เยาวชนและคนที่สนใจการออกแบบเห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ และจุดประกายให้เด็กรุ่นใหม่หันมาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเกิดแรงบันดาลใจและความสนใจในการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการ "Enjoy Science: สนุกคิด พลังวิทย์ เพื่ออนาคต"
 

ข่าวเครื่องพิมพ์สามมิติ+บริษัท เชฟรอนวันนี้

Creality K2 Plus Combo - ที่สุดของ 3D Printer ระดับมืออาชีพ

บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไอทีรายใหญ่ของประเทศไทย ขอแนะนำ Creality K2 Plus Combo เครื่องพิมพ์สามมิติระดับมืออาชีพ ที่มาพร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัย รองรับการสร้างสรรค์งานพิมพ์คุณภาพสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติเด่นของ Creality K2 Plus Combo: พิมพ์ได้สูงสุดถึง 16 สี ด้วย Intelligent Creality Filament System (CFS) ระบบดันเส้นอัจฉริยะที่สามารถสลับสีอัตโนมัติ พร้อมกล่องเก็บเส้นแบบปิด รองรับการพิมพ์ขนาดใหญ่ โมเดลขนาดสูงสุด 350x350x350 mm

ออกแบบอวัยวะมนุษย์ด้วย 3D Printing เทคโนโ... โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ผู้นำนวัตกรรมสร้างสรรค์การผ่าตัดปิดกะโหลกแบบ 3D Printing — ออกแบบอวัยวะมนุษย์ด้วย 3D Printing เทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับการผ่าตัดของว...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... "กับดักริ้นดูดเลือด สร้างด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ" เข้าประกวดรับรางวัลการวิจัย ปี 2566 — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจ...

Snapmaker ผู้นำด้านการผลิตแบบดิจิทัล เปิด... Snapmaker ฉลองครบรอบ 5 ปี จัดกิจกรรม "Make It Happen" — Snapmaker ผู้นำด้านการผลิตแบบดิจิทัล เปิดตัวแคมเปญฉลองครบรอบ 5 ปี ในวันที่ 2 สิงหาคม พร้อมจัดกิจกร...

'เมกเกอร์ สเปซ' มีเครื่องมือและเทคโนโลยีอ... ฟอร์ดเปิด 'เมกเกอร์ สเปซ' พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โรงงานเอฟทีเอ็ม — 'เมกเกอร์ สเปซ' มีเครื่องมือและเทคโนโลยีอันทันสมัย ทั้งเครื่...

โรงเรียนนานาชาติเคไอเอสชนะการประกวดด้วยไอ... โรงเรียนนานาชาติเคไอเอส ชนะประกวด Ultimaker Education Challenge APAC — โรงเรียนนานาชาติเคไอเอสชนะการประกวดด้วยไอเดียบทเรียนหมากเกม 3D บริษัทผู้ผลิตเครื่อง...

บริษัทชั้นนำผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติ Ul... Ultimaker ปล่อยโซลูชั่น Cura Connect ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพิมพ์สามมิติอย่างมืออาชีพ — บริษัทชั้นนำผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติ Ultimaker ประกาศปล่อยโซลูชั...

เอ็กซ์วายแซดพริ้นติ้ง จัดแถลงข่าวงานเปิดตัว da Vinci Color เครื่องพิมพ์สามมิติสีเต็มรูปแบบ เครื่องแรกของโลก

"เอ็กซ์วายแซดพริ้นติ้ง รุกตลาดไทย หวังครองตำแหน่งเบอร์หนึ่งเรื่องเครื่องพิมพ์สามมิติ พร้อมเปิดตัว da Vinci Color เครื่องพิมพ์สามมิติสีเต็มรูปแบบ เครื่องแรกของโลก" วันที่ วันพฤหัสบดีที่ 9...