นางสุทธิลา สวนาพร อาจารย์ประจำสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า จากกระแสนิยมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ทุกคนเห็นถึงคุณค่าของผ้าไทย ซึ่งทางสาขาวิชาพยายามปลูกฝังให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียน นำผ้าไทยมาพัฒนาในรูปแบบใหม่เพิ่มมูลค่า หรือนักศึกษาที่มาจากพื้นถิ่น จะพยายามให้นักศึกษานำผ้าในพื้นถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้มีความหลากหลาย ความสวยงามของผ้าไทย ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ กระบวนการในการทอผ้าแต่ละพื้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผ้าไทยมีราคาแพง จึงไม่ได้รับความสนใจในกลุ่มของวัยรุ่น รูปแบบในการตัดเย็บ เหมาะกับพิธีการมากเกินไป
เสน่ห์ของผ้าไทย ลักษณะลวดลายที่กลมกลืน เส้นไหม ที่ผ่านกระบวนของการปั่น การสอดเส้น เช่น ผ้ามัดหมี่ สำหรับงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แต่ละปี จะนำผ้าไทยมาออกแบบและตัดเย็บให้เข้ากับยุคสมัย ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยของอาจารย์วราภรณ์ วงค์ปถัมภ์ พัฒนาชุดสาวมุสลิมจากผ้าชาวม้ง คว้ารางวัล เหรียญเงิน (KIWIE 2012 Silver Medal) จาก KIWIE 2012 ในงาน Korea International Women’s Invention Exposition 2012 ประเทศเกาหลีใต้ รวมไปถึง การนำผ้าไทยมาตัดเย็บผสมผสานกับผ้ายีนส์มือสอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกใส่ผ้าไทย ให้ทันสมัย ด้วยเทคนิคที่แตกต่างมากขึ้น การออกแบบให้เหมาะสมกับวัยและโอกาสในการสวมใส่
การสวมใส่ผ้าไทย เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรให้เหมาะกับกาลเทศะที่จะสวมใส่ วัยและโอกาสต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าไทยที่มีราคาแพง ควรเลือกให้เหมาะกับวัย ปรับประยุกต์เข้าด้วยกัน ผ้าซิ่น 1 ผืน กับเสื้อลูกไม้ ใส่ให้พองาม ไม่ต้องชุดไทยสไบเฉียง เพราะอาจจะมีราคาแพง ทำให้ฟุ่มเฟือย ยกตัวอย่างคนสมัยโบราณที่ไม่มีกระบวนการในการตัดเย็บ แต่คนสมัยนั้นยังนำผ้ามาจับ มาผูก กลายเป็นโจงกระเบน ขึ้นอยู่กับกาลสมัยของยุคนั้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit