เนื่องจากจีนมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในเวทีโลก เทศกาลประจำปีที่มีความสำคัญที่สุดของจีนอย่างตรุษจีน จึงกลายเป็นวาระที่มีการเฉลิมฉลองอย่างแพร่หลายในโลกตะวันตก ซึ่งมักมีการเชิญชวนบรรดานักแสดงชั้นแนวหน้าของจีนเพื่อจัดการแสดงในช่วงเทศกาลอย่างสม่ำเสมอ งานแสดงเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่ตั้งตารอจากชาวจีนและนักศึกษาชาวจีนตามมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐและแคนาดาเพียงเท่านั้น แต่ยังได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเช่นกัน สำหรับเทศกาลตรุษจีนในปีนี้ได้มีการเชิญชวนนักแสดงชาวจีนชื่อดังมากมาย ซึ่งรวมถึง เล่ย เจี่ย โย-โย หม่า และหลาง หลาง ที่ได้ร่วมกันถ่ายทอดบทเพลงจากบ้านเกิดแก่บรรดาผู้ฟังในโทรอนโตและนิวยอร์ก ซึ่งได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี และยังได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้ชมทั่วไป
รูปภาพ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20150302/178687
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา (วันที่สามของเทศกาลตรุษจีน) ผู้ชมการแสดงต่างฝ่าหิมะและความหนาวเย็นเพื่อเข้าร่วมการแสดงคอนเสิร์ตเฉลิมฉลองวันปีใหม่จีนจนบัตรขายหมดเกลี้ยง โดยวงดนตรี Toronto Symphony Orchestra ได้เชิญชวน เล่ย เจี่ย และหลาง หลาง เป็นนักร้องนำและนักเปียโน เพื่อเปิดการแสดงอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งจุดประกายความกระตือรือร้นจากผู้ชมอย่างไม่ลดละ
และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ (วันที่หกของเทศกาลตรุษจีน) ทางวงดนตรี New York Philharmonic ได้เฉลิมฉลองวันปีใหม่จีนเป็นปีที่สี่ติดต่อกันด้วยการเปิดกาลาคอนเสิร์ตที่ Lincoln Center ร่วมกับเหล่าศิลปินมากความสามารถ ซึ่งรวมถึงเล่ย เจี่ย และนักเล่นเชลโลชาวจีน-อเมริกันอย่างโย-โย หม่า สำหรับงานประจำปีนี้มีผู้ชมที่ไม่ใช่ชาวจีนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากอย่างน่าสังเกต ไม่ว่าจะเป็น เจมส์ โวลเฟนซอห์น อดีตประธานธนาคารโลก และเหล่าผู้คร่ำหวอดในแวดวงวอลล์สตรีท โดยคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นภายในฮอลล์ขนาด 2,600 ที่นั่งนั้นเรียกได้ว่าหาบัตรเข้าชมได้ยาก
สำหรับเวทีการแสดงในอเมริกาเหนือนั้น เล่ย เจี่ย ได้สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าชมผ่านบทเพลงพื้นเมืองของจีนสองเพลงด้วยกัน ได้แก่ The Village of Sanshilipu และ In Praise of Cattle โดยการแสดงของเธอนั้นได้รับกระแสตอบรับอย่างอบอุ่น และต้องออกมาปรากฏตัวเพื่อน้อมรับเสียงชมเชยจากผู้ชมอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งผู้ชมที่ไม่ใช่ชาวจีนส่วนใหญ่ต่างทึ่งไปกับน้ำเสียงและระดับเสียงอันทรงพลังภายใต้โน้ตคู่แปด โดยผู้ชมชาวจีนบางรายถึงกับต้องหลั่งน้ำตาเมื่อนักร้องสาวรายนี้ได้เริ่มบทแรกของ The Village of Sanshilipu
เพราะเหตุใดจึงต้องเป็น เล่ย เจี่ย?
ทำไมวงดนตรีชื่อดังระดับโลกสองวงอย่าง Toronto Symphony Orchestra และ New York Philharmonic ต่างเชิญ เล่ย เจี่ย มาร่วมงานพร้อมกัน ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ไม่ได้คาดคิดแต่ก็ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับทั้งสองวง ทั้งนี้ เล่ย เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยนักร้องสาวรายนี้สามารถคว้าใจผู้ชมได้ทั้งในจีนและต่างประเทศผ่านการแสดงสุดประทับใจ ซึ่งเธอได้ฝึกฝนมาในด้านเพลงร้องดั้งเดิมของจีน ซึ่งถ่ายทอดถึงแก่นแท้ของการร้องเพลงพื้นเมืองของจีน เธอได้อุทิศตนเพื่อสนับสนุนบทเพลงกัวเฟิงแบบใหม่มาอย่างยาวนาน อันเป็นแนวเพลงที่ถูกมองว่าเป็นแก่นแท้ของประเทศจีน และได้มีการถ่ายทอดแนวเพลงดังกล่าวผ่านศิลปะในรูปแบบต่างๆและผลงานสมัยใหม่ ขณะที่อัลบั้มเพลงของเธออย่าง Dandelion Sky นั้นได้รับการยกย่องจากโจชัว ชีค ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลแกรมมี่ให้เป็น "The Most Chinese of Voices." นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นตัวแทนนักร้องเยาวชนจากชุมชนเพลงร้องจีน เธอไม่ได้รับความนิยมในหมู่ทหารจีนระดับสูงเพียงเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมจากพลทหารทั่วไปด้วยเช่นกัน เธอมักจะมีโอกาสเปิดการแสดงอันน่าทึ่งแก่เหล่ากองทหารจีนอยู่เสมอ จนทำให้เธอแทบจะไม่มีเวลาเปิดการแสดงในต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เธอได้เป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้ม The Songs of the 56 Chinese Nationalities ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นเพลงที่ได้รับการคัดสรรเพื่อเป็นของขวัญจากจีนแก่บรรดาผู้นำประเทศต่างๆที่มีความสัมพันธ์อันดีกับจีน โดยสามารถรับฟังบทเพลงเหล่านี้ได้ในห้องฟังเพลงตามหอสมุดสาธารณะทั่วโลก และด้วยความสำเร็จนี้เอง วงออเคสตร้าระดับโลกสองวงนี้จึงไม่ลังเลที่จะเชิญนักร้องชื่อดังมากความสามารถเช่นนี้มาร่วมงาน
ทำไมเธอถึงเลือกเพลงพื้นเมืองส่านซี
สำหรับเหตุผลที่เธอเลือกแสดงผ่านบทเพลง The Village of Sanshilipu และ In Praise of Cattle ในอเมริกาเหนือนั้น เล่ยเปิดเผยว่า เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เธอได้เลือกร้องเพลง Homesick ในงาน Spring Festival Gala Evening ประจำปีนี้ โดยทั้ง The Village of Sanshilipu และ In Praise of Cattle ต่างเป็นเพลงพื้นเมืองของส่านซี อันเป็นบทเพลงเรียบง่ายที่สามารถสื่อถึงรูปแบบเพลงจีนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญไปกว่านั้น เป็นบทเพลงที่ชาวจีนพลัดถิ่นส่วนใหญ่คุ้นเคยและสามารถร้องตามได้ไม่ว่าจะมีถิ่นกำเนิดมาจากส่วนใดของจีน ทั้งนี้ เธอได้แสดงความหวังว่า บทเพลงสองเพลงนี้จะเป็นเครื่องย้ำเตือนถึง “ถ้วยน้ำ แก้วไวน์ เมฆ และความรักชั่วชีวิต” เพื่อรำลึกถึงความหลังของผู้ฟังที่มีต่อบ้านเกิด และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้สัมผัสกับความอบอุ่นของบ้านเกิด และความคิดถึงจากญาติมิตรซึ่งรออยู่ที่บ้าน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit