2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 10,540 ล้านบาท เนื่องจาก
- การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 10,700 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,840 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 4,840 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 3,000 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 6,495.10 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,395.08 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 5,100.02 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,380.55 ล้านบาท เนื่องจาก
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,150 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 2,530.55 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3,240.71 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 710.16 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 33.64 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 3.78 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 29.86 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5,024.60 ล้านบาท เนื่องจาก
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 20,000 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายตามสัญญาเงินกู้มากกว่าชำระคืน จำนวน 15,975.40 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 16,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 24.60 ล้านบาท
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ
หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 2,455.79 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 1,352.73 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 3,808.52 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557 มีจำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 363,973.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.44 และหนี้ในประเทศ 5,286,167.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.56 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,494,122.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.24 และหนี้ระยะสั้น 156,018.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.76 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,835,153.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.58 และหนี้ระยะสั้น 814,987.72 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.42 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
หมายเหตุ: การนำข้อมูลและ/หรือบทวิเคราะห์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไปใช้และ/หรือเผยแพร่ต่อ ขอความร่วมมืออ้างแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5522