"พิเชฐ" เปิดโรดแมพกระทรวงวิทยฯ ลั่น พร้อมเป็น “ข้อต่อ” ทุกกระทรวง ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย

          เมื่อเวลา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ4.3กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น. ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึง แนวนโยบายการดำเนินงานตามโรดแมพ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยกับรัฐบาล ว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถึงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อนำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย นั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนงานด้านดังกล่าว พร้อมที่จะเป็นข้อต่อให้ทุกกระทรวงเพื่อเป็นพลังร่วม ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา จึงได้จัดทำ โรดแมพ สำหรับการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศโดย ใน 6 แผนงานหลักดังนี้คือ
แผนงานแรก คือ การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D CENTER) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ส่งเสริมการลงทุนด้านวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพแรงงานไทย สร้างโอกาสทางอาชีพให้กับบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ฯลฯ เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยจากฐานการผลิตที่อาศัยแรงงานราคาถูก มาเป็นฐานการผลิตที่ใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
          แผนงานที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะให้การสนับสนุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega-Projects) ประกอบด้วย การพัฒนากำลังคนและเทคโนโลยีระบบราง การสนับสนุนการจัดตั้ง Rubber City โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนากำลังคน และเพิ่มมูลค่าผลผลิตของอุตสาหกรรมยางพารา การจัดตั้งเมืองนวัตกรรมด้านอาหาร หรือ Food Innopolis ฯลฯ อันนำไปสู่ความเป็นอิสระด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของคนไทย การเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรไทย และ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ
          แผนงานที่ 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ด้วย One-stop Service ด้านการวัดและวิเคราะห์ มาตรฐานและคุณภาพ การบริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมสังคมสีเขียว เทคโนโลยีสีเขียว การลดกำแพงทางการค้า การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไทย
          แผนงานที่ 4. ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั่วประเทศ ให้เข้าถึง วทน.ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐานแข่งขันได้ การสร้างโอกาสให้ SMEs เข้าถึงกองทุนวิจัยและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของภาครัฐ
          สำหรับแผนงานที่ 5. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงมากขึ้น เช่น การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ สนับสนุนให้เกิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หอดูดาว ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาสนใจวิทยาศาสตร์ การเพาะปลูกอัจฉริยะ (Smart Farming) โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการควบคุมการเพาะปลูก การสร้างสมาคมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสนับสนุนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ภาครัฐ การจัดตั้งสถาบันนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำไปสู่การขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs เป็นต้น
          สำหรับแผนสุดท้ายคือ แผนงานที่ 6 นั้น จะเน้นการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยผลักดันนวัตกรรมเป็นวาระแห่งชาติ ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการด้าน วทน.ของประเทศ ผลักดันให้มีการจัดทำกรอบงบประมาณราย 5 ปี เพื่อให้เกิดการลงทุนที่มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ วทน. ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรและบริหารจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าและยั่งยืน รวมถึงการยกระดับศูนย์วิจัยต่างๆ ทั่วประเทศ
          กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; โรดแมพทั้ง 6 แผนงาน ตามที่ได้กล่าวข้างต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมที่จะเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;ข้อต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯสภานิติบัญญัติแห่งชาติ; ของทุกกระทรวงเพื่อเดินสู่เป้าหมายเดียวกันคือปฏิรูปประเทศไทย และเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯสภานิติบัญญัติแห่งชาติ; ดร.พิเชฐ กล่าวย้ำ

"พิเชฐ" เปิดโรดแมพกระทรวงวิทยฯ ลั่น พร้อมเป็น “ข้อต่อ” ทุกกระทรวง ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย

ข่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัย/พัฒนา ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน

นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเ... นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค — นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digi... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน จัดการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 6 — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digital China Summit) ครั้งที่ 6 เปิดฉากขึ้...

จีนเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและเวิร์กช็อปบ่มเพาะอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ชวนทั่วโลกเข้าร่วมได้ฟรี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...

รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความ... จีน-อาเซียน สำรวจความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ค...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้... การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 (The 5th Digital China S...