โรคอีสุกอีใส มักเกิดในเด็ก อาการเริ่มด้วยไข้ต่ำๆ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็นผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ เริ่มแห้งตกสะเก็ดและร่วงในเวลา 5-20 วัน ผื่นอาจขึ้นในคอ ตา และในปากด้วย ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและให้ร่างกายได้รับความอบอุ่นอยู่เสมอ หากมีไข้ควรรับประทานยาลดไข้ ประเภทพาราเซตามอล หากมีอาการเจ็บคอหรือไอควรปรึกษาแพทย์ เด็กนักเรียนที่ป่วย ควรให้หยุดเรียนประมารณ 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีอาการคันมากอาจใช้ยาทา โดยปรึกษาแพทย์ก่อน ดูแลรักษาผิวหนังให้สะอาด ไม่ควรแกะตุ่มหนอง จะทำให้อักเสบ และควรตัดเล็บให้สั้น สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อต้องปฏิบัติงาน และคลุกคลีกับผู้อื่น หากเป็นไปได้ผู้ป่วยต้องหยุดอยู่บ้านเป็นเวลา 3-7 วัน หรือจนกว่าจะหาย
ดร.นายแพทย์ สุวิช ธรรมปาโล กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันโรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด และโรคหัด โดยการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ ของเล่น ร่วมกับผู้ป่วย ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้ง เวลาไอ จาม ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาดมือ เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวและสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อยๆ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หลักเลี่ยงสถานที่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก เป็นต้น และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันโรคอีสุกอีใสสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit