โดย ดร.โชติรัส ชวนิชย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย กล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ว่า “จากประเด็นหัวข้อการจัดการประชุมวิชาการ “Green ASIA and Sustainability” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเพื่อการจะนำไปสู่สังคมสีเขียว (Green Society) การมีคุณภาพชีวิตและคุณภาพทางสังคมที่ดี และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ได้เป็นประเด็นที่นักวิชาการ นักบริหารหลากหลายวงการให้ความสนใจในการศึกษาและตระหนักถึง การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างมากในปัจจุบันของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชากร (Quality of life) และเกิดความไม่ยั่งยืนของการพัฒนา (Unsustainable Development) ด้านต่างๆ ได้แก่ (1) ด้านเศรษฐกิจ ผลจากการพัฒนาที่ผ่านมา แม้ในเชิงปริมาณจะพบว่า มีผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต แต่ยังคงมีปัญหาด้านการกระจายรายได้ และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ (2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในปัจจุบันได้มีการขยายตัวของสังคมเมือง และมีการอพยพของประชากรเข้าสู่เมืองมากขึ้น จนมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโลก (WHO, 2013) สถานที่และความเป็นอยู่ในเมือง ที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเดินทาง มลภาวะ รวมทั้งการมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจส่งผลต่อ การจัดระเบียบสังคม การเป็นคนแปลกหน้า ปัญหาอาชญากรรม (3) ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพความแออัด อากาศเสีย น้ำเสียจากชุมชน โรงงาน บ้านเรือน ความต้องการพื้นที่ส่วนกลาง สวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวในชุมชน ล้วนเป็นประเด็นเร่งด่วนต่อการวางผังเมือง และการจัดการการพัฒนาเพื่อการจะนำไปสู่สังคมสีเขียว เพื่อการมีคุณภาพชีวิตและคุณภาพทางสังคมที่ดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องประกอบด้วยมิติการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่สมดุลกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ “ที่ทำให้คนในยุคต่อไป สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้เหมือนคนในยุคปัจจุบัน” นั่นคือ การใช้ทรัพยากรที่ยังคงให้ทรัพยากรมีโอกาสสร้างกลับคืนมา มีคุณภาพและปริมาณที่มีจำนวนเท่าเดิมหรือ มากกว่าเดิม โดยในประเด็นที่กล่าวมาต้องใช้หลักการพัฒนาสังคม หรือ การพัฒนาคนให้มีความรู้และมีจิตสำนึกในการบริโภคและการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด (Green Ecology) และในมิติของการพัฒนาเทคโนโลยี ต้อง เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) นอกจากนี้ ในมิติของการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต้องประกอบด้วย การมีคุณภาพของ ทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าวมา ประกอบด้วย (1) การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (2) การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ และลดวัฒนธรรมบริโภคนิยม (3) การพัฒนาที่คำนึงถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากการศึกษาและผลงานวิจัยที่หลากหลายในปัจจุบัน ได้มีการบูรณาการ องค์ความรู้ที่สำคัญใน 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ด้าน Green Products and Wellness (2) ด้าน Alternative Energy (3) ด้าน Tourism and Service Industries (4) ด้านคุณภาพสังคม (Social Quality) ในมิติของ Green Management และ Sustainable Development การพัฒนาเพื่อนำไปสู่สังคมสีเขียว เพื่อการมีคุณภาพชีวิตและคุณภาพทางสังคมที่ดีนั้น จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพการทำงานร่วมกันทางวิชาการ ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในมิติการพัฒนาทางสังคม โดยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
ความร่วมมือด้านวิชาการในการจัดการประชุมวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ประจำปีการศึกษา 2556 ในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยสู่นักวิชาการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการเปิดโลกทัศน์การศึกษาไทยสู่เวทีโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสร้างสรรค์ความรู้ในการพัฒนาประเทศเข้าสู่ระดับอาเซียนและเอเชียในอนาคตอันใกล้นี้
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มีความตั้งใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประชาคมวิชาการ ให้การตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้เสนอผลการวิจัย ที่เป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเวียดนาม และประเทศ สปป.ลาว ผู้เสนอผลการวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาทั้งของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และสถาบันการศึกษาอื่น ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสถาบันวิชาชีพทางด้านการศึกษา ผู้สนใจทั่วไป นับเป็นเวทีวิชาการสำหรับทุกท่านที่จะได้นำเสนอ และรับฟังความก้าวหน้าทางด้านวิชาการที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป”
ในงานจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย โดย ดร.โชติรัส ชวนิชย์ อธิการบดี กับ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ต่างตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิจัย อบรม เผยแพร่วิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติต่อไป
นอกจากนี้ยังจัดให้มีการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Green Asia and Sustainability” โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ และการนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการจากต่างประเทศจำนวน 7 ประเทศ อาทิ Ir.Somphone Phanousith (Assistant Advior to the Prime Minister, Secretary General of Laos Union of Science and Engineering Association) , Associate Professor Dr. Tai wan Ping (Cheng Shiu University, Taiwan) , Prof. Nobuhiro Onishi (Dr. John C. Placente (Director of Electronics and Electrical Department, Far Eastern University, Philippines ฯลฯ รวมทั้งการอภิปรายกลุ่ม ประเด็น “Green Society , Competitiveness and Sustainability ” และ ประเด็น “Green product and wellness, Alternative Energy โดย ศ.ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ อุปนายกสมาคมนักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาเคมี คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสายงานอุตสาหกรรมและรองประธานสภาอุตสาหกรรม คุณสุวัฒน์ กมลพนัส รองประธานกลุ่มพลังงานทดแทน และกรรมการผู้จัดการกลุ่มมิตรผล และการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ และนักวิชาการ จำนวน 40 บทความ
ซึ่งดร.โชติรัส ยังได้กล่าวในตอนท้ายว่า ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพื่อประโยชน์ทางสังคมและประเทศชาติ จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมพัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit