โรงเรียนจินดาพงศ์ ให้ความสำคัญกับภาษาไทย จัดงาน วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2557 ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 โดยจัดกิจกรรมให้เด็กนักเรียนได้ฝีกการย่อความ เรียงความ แข่งขันการอ่านภาษาไทยในงาน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรักการอ่านแบบไม่ผิดเพี้ยน เผยล่าสุดพบปัญหาคำศัพท์ภาษาไทยผิดเพี้ยนเกิดใหม่ไม่ถูกต้อง จากค่านิยมผิด ส่งผลทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่คล่อง เร่งรณรงค์ให้มีการอบรมครูภาษาไทยในโรงเรียน และภายนอกโรงเรียน อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือผู้ปกครองในการดูแลบุตร-หลาน ร่วมรณรงค์รู้รักภาษาไทยเพราะเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาไทย ยังต้องเป็นภาษาชาติ
อาจารย์จินดา ตันตราจิณ ผู้อำนวยการโรงเรียนจินดาพงศ์ เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ทางโรงเรียนจัดให้มีกิจกรรม เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านภาษาไทย เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และคุณค่าของภาษาไทย โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทยในโรงเรียน ต้องให้เด็กสามารถที่จะย่อความ เรียงความ แบบเขียนได้คล่อง อ่านได้คล่อง ออกเสียงภาษาไทยได้แบบไม่ผิดเพี้ยน อย่างไรก็ตามจะต้องได้รับความร่วมมือหลายฝ่ายทั้งครูในโรงเรียนเอง ในทุกรายวิชาต้องเอาใจใส่ ไม่เฉพาะแก้ไขปัญหาที่ครูภาษาไทย อย่างเดียว ซึ่งที่ โรงเรียนจินดาพงศ์ จัดอบรมครูภายในโรงเรียน และส่งครูภาษาไทยไปอบรมหลักสูตรข้างนอก เมื่อมีการจัดอบรมในหน่วยงานรัฐต่างๆ และที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วยที่ จะดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด สังเกตุการใช้ภาษาไทยของเด็ก พูด กล่าว ชักชวนให้พูดภาษาไทยออกเสียงให้ถูกต้อง
“ประเทศไทยเรามีความโชคดีมาก ที่มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทยเป็นของเราเอง ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้กับแผ่นดินไทยอย่างมีคุณค่า เยาวชนคนรุ่นหลัง จึงต้องช่วยกันรักษาไว้ ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นการรณรงค์ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทางโรงเรียนจัดให้มีกิจกรรม วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2557 ซึ่งกำหนดให้มีกิจกรรมเด่นๆ เกี่ยวกับภาษาไทยไว้ทั้งหมด ในงานประกอบด้วย การแข่งขันการอ่านภาษาไทย เขียนภาษาไทย การคัดรายมือ ประกวดคำขวัญ คำกลอนต่างๆ แข่งขันเล่านิทาน กระตุ้นให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมๆ กับนำผลงานของนักเรียนเก่งมาแสดง ต่อไปเราก็จะได้เด็กเก่งภาษาไทยมากขึ้น ” อาจารย์จินดา กล่าว
ทั้งนี้ ถ้าเราย้อนไปดูประวัติความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ มีความน่าสนใจมาก ซึ่งสืบเนื่องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำ”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “...เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…” ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ … สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ครั้งนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลจึงประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ 13 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นมา สำหรับการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ที่โรงเรียนจินดาพงส์ มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย ดังนี้
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
2. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้นักเรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
3. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน
นอกจากนี้ทางแผนกปฐมวัยยังจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีการละเล่น และอาหารในวรรณคดีมาร่วมงานวันภาษาไทยด้วย กิจกรรมนิทรรศการหน่วยการเรียนรู้ระดับอนุบาลเรื่อง “หนูเป็นเด็กไทย”ระดับอนุบาล 3 สืบสานประเพณีไทย อ. 3/1 ประเพณีแห่ผีตาโขน - เป็นประเพณีไทยอีสานตอนเหนืออ. 3/2 ประเพณีวันลอยกระทง - การประดิษฐ์กระทงอ. 3/3 ประเพณีสาร์ทไทย - วิธีการทำข้าวกระยาสาสร์ท อ. ¾ ประเพณีสงกรานต์ ระดับอนุบาล 2 การละเล่นไทย - สาธิตการละเล่นไทย- มอญซ้อนผ้า- เดินกะลา- รีรีข้าว- งูกินหางซุ้มพักผ่อน ดื่มน้ำ สมุนไพรดอกอัญชัญ และรับประทานขนมสาคูใส้หมูระดับอนุบาล 1 อาหารในวรรณคดี - ขนมจีนน้ำยา น้ำพริก แกงเขียวหวาน แกงไตปลา - น้ำพริกปลาทู - ผัดไทย- การจัดผักเครื่องเคียง- ส้มตำ – สาธิตการตำส้มตำโดยเด็กอนุบาล- ขนมครก – ชมเด็กทำขนมครก ระดับเตรียมอนุบาล - ขนมไทย- สาธิตการทำข้าวต้มมัด- ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง- ลูกชุป ขนมชั้น ขนมสอดใส้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit