“BEE PRODUCTS” จากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรม

          “BEE PRODUCTS” จากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรม ในงาน“มหกรรมน้ำผึ้งคุณภาพ”โดยกรมส่งเสริมฯ
          “ผึ้ง” หนึ่งในสัตว์ที่เป็นรู้จักและคุ้นเคยของมนุษย์ มาช้านาน เป็นแมลงที่มีประโยชน์ ทั้งในด้านช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชผลโดยช่วยในการผสมเกสร และมนุษย์ได้นำผลิตภัณฑ์จากผึ้งมาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีตกาล จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ พบว่า ในสมัยอียิปต์โบราณได้นำน้ำผึ้งมาใช้เป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ และใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินตรา จึงกล่าวได้ว่า “ผึ้งเป็นแมลงมหัศจรรย์” ที่สร้างคุณประโยชน์และให้ผลผลิตอันทรงคุณค่า
          และสำหรับคนไทย ที่ส่วนใหญ่จะรู้จัก “ผึ้ง” ในฐานะของสัตว์ตัวน้อยยอดขยัน ผู้มีความหวงถิ่นเป็นเลิศ จนหลายคนที่เคยสัมผัสกับ พิษของ “เหล็กใน” ที่เป็นอาวุธร้ายสำหรับป้องกันศัตรูของสัตว์ชนิดนี้ ที่คนไทยโบราณรู้จักกับใช้ “น้ำปูนใส” ในการระงับพิษจากเหล็กในของผึ้ง และในต่างประเทศ รู้จักการใช้ “พิษผึ้ง” เพื่อมาทำเป็นยารักษาโรค ซึ่งต่อมาจึงสามารถรับรู้ได้ถึงเหตุผลของความหวงถิ่น และประโยชน์ของผึ้งได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้ เรียนรู้และ ใช้ประโยชน์จากสัตว์ประเภทนี้ จวบจนได้กลายมาเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” ในปัจจุบัน
          จากคุณสมบัติของ “ผึ้ง” และ “รังผึ้ง” สู่การพัฒนามาเป็น “เกษตรกรรม” และต่อยอด “จนกลายเป็นอุตสาหกรรม ผึ้ง จนกลายมาเป็น “ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง(BEE PRODUCTS) ที่มูลค่ามหาศาล เป็นที่มาของรายได้ และคุณค่าต่อสุขภาพ
          กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกร เลี้ยงผึ้งเพื่อเสริมสร้างรายได้ ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย (น้ำผึ้ง)” และพัฒนาจนสามารถสร้างเป็น ผลิตภัณฑ์แปรรูป เพื่อสนองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดในแต่ละปี
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงข้อมูลในส่วนของการเลี้ยงผึ้งว่า “การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของประเทศไทยได้เจริญเติบโตเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง และเกิดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผึ้งตามมา จากรายงานของ FAO ปี 2556 มีการเลี้ยงผึ้งทั่วโลก จำนวน 135 ประเทศ ผลผลิตน้ำผึ้งรวม 1,636,399 ตัน ประเทศที่มีผลผลิตน้ำผึ้งมาก 3 อันดับแรกของโลกได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 446,089 ตัน ตุรกี จำนวน 94,245 ตัน และยูเครน จำนวน 70,300 ตัน ตามลำดับประเทศไทยมีผลผลิตน้ำผึ้งเป็นอันดับ 32 ของโลก จำนวน 8,000 ตัน
          สำหรับประเทศในอาเซียนที่มีผลผลิตน้ำผึ้งมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ประเทศเวียดนาม จำนวน 16,944 ตัน การส่งออกและนำเข้าน้ำผึ้งของประเทศไทย จากรายงานของกรมศุลกากร ปี 2556 มีการส่งออกน้ำผึ้งจำนวน 8,945.17 ตัน มูลค่า 577.64 ล้านบาท ตลาดส่งออกน้ำผึ้งที่สำคัญ ได้แก่ เยอรมัน รองลงมาได้แก่ ไต้หวัน และซาอุดิอาราเบีย ตามลำดับ โดยปริมาณการนำเข้าน้ำผึ้ง มีปริมาณ 6,542.68 ตัน คิดเป็นมูลค่า 385.10 ล้านบาท และมีการนำเข้าน้ำผึ้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เมียนม่า และเวียดนาม ตามลำดับ
          ในปี 2556 ประเทศไทยมีการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในพื้นที่ 50 จังหวัด จำนวน 184,927 รัง มีจำนวนฟาร์มเลี้ยงผึ้ง 964 ฟาร์ม ได้ผลผลิตน้ำผึ้งประมาณ 10,000 ตัน จากพืชต่างๆ ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ นุ่น สาบเสือ ขี้ไก่ย่าน ยางพารา งา และทานตะวัน สามารถผลิตนมผึ้ง (รอยัลเยลลี่) 200 ตัน ไขผึ้ง 300 ตัน และเกสรผึ้ง 100 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงผึ้ง และก่อให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผึ้ง สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงผึ้ง ทำให้เกิดการจ้างงานทุกระดับทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมากกว่า 10,000 คน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท
          และก่อให้เกิดประโยชน์ตามมาอีกหลายประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผึ้งหลากหลายชนิด คือน้ำผึ้ง ไขผึ้ง เกสร นมผึ้ง (รอยัล เยลลี่) โปรโปลิส เป็นต้น ผึ้งเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรพืช ทำให้พืชที่ต้องใช้ผึ้งเป็นแมลงผสมเกสรติดผลมากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิต ผลจากการที่ผึ้งช่วยผสมเกสรมีมูลค่ามากกว่าผลิตภัณฑ์ผึ้งที่ได้รับจากผึ้งมากมายหลายเท่า ประกอบกับสถานการณ์การส่งออกและการนำเข้าน้ำผึ้งของประเทศไทยพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว
          จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรพบว่า “การเลี้ยงผึ้ง” และผลิตภัณฑ์จาก “ผึ้ง” ในปัจจุบัน มีแนวโน้มเติบโตและพัฒนาจาก ภาคเกษตรกรรม สู่การเป็นสินค้าประเภทเกษตรแปรรูป และกำลังจะพัฒนาเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เป็นที่นิยมและต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ ที่นอกจากจะมีความต้องการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผึ้งโดยตรงแล้ว ยังถูกใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร และยารักษาโรค รวมถึงเครื่องสำอางในหลากหลายรายการ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
กรมส่งเสริมการเกษตร นอกจากจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงผึ้งเพื่อสร้างรายได้แล้ว ยังเน้นไปที่การสร้างเส้นทางแห่งการตลาดที่มั่นคงและยั่งยืน จึงได้จัดงาน “มหกรรมน้ำผึ้งคุณภาพ สุขภาพดีด้วยผลิตภัณฑ์ผึ้ง ” โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ตลอดจนช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งจะได้รับราคาน้ำผึ้งที่สมเหตุผลสอดคล้องกับคุณภาพของน้ำผึ้ง ที่จะเป็นโอกาสอันดีกับซึ่งผู้บริโภคและผู้ผลิตจะได้สามารถสร้างธุรกิจได้โดยตรง
          รวมถึงยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความรู้ในด้านต่างๆ ผ่านผลงานทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าในวงการเลี้ยงผึ้งไทย !!
          อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวต่ออีกว่า “งานมหกรรมน้ำผึ้งคุณภาพ สุขภาพดีด้วยผลิตภัณฑ์ผึ้ง ที่จะจัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 4 กันยายน 2557 ณ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร ถือเป็นงานสำคัญที่จะเผยแพร่และสร้างความนิยมให้กับผลิตภัณฑ์จากผึ้งให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่สนใจของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยมีเป้าหมาย การส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ในกลุ่มคนที่ใส่ใจให้ความสำคัญกับการรักษ์สุขภาพ และมีกำลังซื้อ โดยจะมีการนำสินค้าน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้งคุณภาพดีเข้าสู่ตลาดในสังคมเมืองใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจใหญ่ที่สำคัญของประเทศไทย
          ซึ่งเป็นโอกาสอันดี ในการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ตลอดจนเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งจะมีรายได้และมีช่องทางทางการตลาด เพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้บริโภคก็จะได้รับสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผึ้งที่มีคุณภาพ รวมถึงได้รับความรู้จากผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ที่จะเป็นการส่งเสริมเกิดเส้นทางทางการตลาดที่ยั่งยืน และเป็นรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย” นายโอฬาร กล่าว
          และทั้งหมดนี้คือเส้นทางแห่งสัตว์เศรษฐกิจที่มาแรงอย่างผึ้ง และเป็นที่มาของสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ที่กำลังจะทำให้ “ผึ้ง” ในวันนี้ ไม่ใช่แค่สัตว์มีพิษธรรมดา อย่างที่คนไทยคุ้นเคย แต่กลายเป็นสัตว์มีมูลค่า ที่นำพาไปสู่ธุรกิจ ซึ่งอาจต่อยอด ให้เป็นเศรษฐีได้ไม่ยาก

“BEE PRODUCTS” จากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรม
“BEE PRODUCTS” จากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรม
“BEE PRODUCTS” จากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรม
 

ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร+กรมส่งเสริมฯวันนี้

เกษตรฯ เบรกโรคใบด่าง หวั่นทำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดขาดแคลน สร้างแปลงเกษตรกรผลิตท่อนพันธุ์มันสะอาดมอบให้กรมส่งเสริมฯ 1,371 ไร่

กรมวิชาการเกษตร ป้องปัญหาโรคใบด่างเกรงจะทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดขาดแคลน รุดส่งมอบคู่มือเทคโนโลยีผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและมีคุณภาพเผยเทคโนโลยีดังกล่าวได้จากโครงการวิจัยพัฒนาและขยายผลเทคนิคการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและมีคุณภาพในพื้นที่ 951 ไร่ ซึ่งสามารถผลิตท่อนพันธุ์ได้ถึงกว่า 12 ล้านท่อน และสร้างแปลงเกษตรกรผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด 1,371 ไร่ มอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรขยายผลในโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก ครม.ต่อไป นายสมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษ... เกษตรฯ เตือนชาวสวนกล้วยไม้ เตรียมรับมือช่วงแล้ง เฝ้าระวังน้ำเค็มรุก — นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร สร้างการรับ...

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริ... กรมส่งเสริมการเกษตร ขับเคลื่อนการพัฒนาเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2568 — นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุมคณะทำงาน...