ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประสบความสำเร็จในการออกตราสารด้อยสิทธิ เพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 เสนอขายให้ผู้ลงทุนในประเทศมาเลเซียมูลค่ารวม 4 พันล้านบาท

           ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประสบความสำเร็จในการออกตราสารด้อยสิทธิ เพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 เสนอขายให้ผู้ลงทุนในประเทศมาเลเซียมูลค่ารวม 4 พันล้านบาท สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อธนาคารพร้อมเป็นตัวกลางพาสถาบันไทยไปออกตราสารในต่างประเทศ
          นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประสบความสำเร็จในการออกและเสนอตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 ตามเกณฑ์ Basel3 (Basel3 Compliant Tier2 Sub Debt) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ครั้งที่ 1/2557 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.6% หรือเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ 6 เดือน บวก 2.3% (เมื่อคำนวณจากเงินสกุลริงกิตเป็นสกุลเหรียญสหรัฐ) ต่อปีจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2567 โดยธนาคารมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดได้เมื่อครบปีที่ 5 
          ธนาคารกำหนดวันเสนอขายในวันที่ 7 ก.ค. 2557 โดยเป็นการเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศมาเลเซียทั้งจำนวน แต่จากการสำรวจความต้องการซื้อตราสาร (Book building) พบว่ามีผู้สนใจจองซื้อเข้ามาเกินกว่า 2.5 เท่าของปริมาณเสนอขายทำให้ธนาคารขยายวงเงินเสนอขายจากเดิม 25สุภัค ศิวะรักษ์ ล้านริงกิต เป็น 4สุภัค ศิวะรักษ์สุภัค ศิวะรักษ์ ล้านริงกิต หรือเทียบเป็นสกุลเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 4,สุภัค ศิวะรักษ์สุภัค ศิวะรักษ์สุภัค ศิวะรักษ์ ล้านบาท 
          กลุ่มผู้ลงทุนที่ลงทุนในตราสารชุดนี้ ประกอบด้วย บริษัทประกันในสัดส่วน 25% บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 39% กองทุนส่วนบุคคล 33% และธนาคาร 3%
          ทั้งนี้ ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในครั้งนี้ เสนอขายโดยมีกลุ่มซีไอเอ็มบีเป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย ตราสารได้รับการจัดอันดับ AA3 จาก RAM Rating Services Berhad
          "การออกตราสารด้อยสิทธิครั้งนี้ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย นับเป็นครั้งแรกของธนาคารต่างประเทศที่ออกและเสนอขายตราสารด้อยสิทธิตามเกณฑ์บาเซิล 3 ในประเทศมาเลเซีย ท่ามกลางความท้าทายของประเทศผู้ออก ธนาคารรู้สึกยินดีกับผลตอบรับที่ดี และมีความต้องการจองซื้อเข้ามาเกินปริมาณที่ตั้งไว้ และขายในราคาต้นทุนที่น่าพอใจอีกด้วย ธุรกรรมนี้ที่ประสบความสำเร็จได้ส่วนหนึ่งเกิดจากตลาดตราสารหนี้ประเทศมาเลเซียที่พัฒนาไปมาก ความสามารถของกลุ่มซีไอเอ็มบีในการอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย และส่วนสำคัญคือความความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย และประเทศไทย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย และกลุ่มซีไอเอ็มบี มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อให้บริการและเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการระดมเงินทุนทั้งในและต่างประเทศ” นายสุภัค กล่าว
 
 

ข่าวธนาคารซีไอเอ็มบีไทย+ธนาคารซีไอเอ็มบีวันนี้

พรูเด็นเชียล ประเทศไทย จับมือ ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศความร่วมมือรับศักราชใหม่ สร้างความแข็งแกร่งผ่านช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ในประเทศไทย

บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย หนึ่งในผู้นำธุรกิจประกันชีวิต ผนึกกำลัง ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ("ซีไอเอ็มบี ไทย") ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการทางด้านการเงินชั้นแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรเพื่อขยายธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ในประเทศไทย โดยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการประกันชีวิตของพรูเด็นเชียล ทั้งในด้านสุขภาพรวมถึงการสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่ลูกค้าของซีไอเอ็มบี ไทย

นายวิสุทธิ์ บริบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ... ภาพข่าว: โอนเงินไว ไปต่างแดน เริ่มต้น 99 บ. — นายวิสุทธิ์ บริบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจรายย่อย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ( คนที่ 3 จากขวา)...