นิ่วในถุงน้ำดี

          นิ่วในถุงน้ำดี
          หญิงสุขภาพดีเจอ นิ่วในถุงน้ำดี มากกว่าชาย
          นวัตกรรมการรักษาด้วย ผ่าตัดส่องกล้อง...

          การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) หรือคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในน้ำดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้ เชื่อว่าเกี่ยวกับการติดเชื้อของทางเดินน้ำดีและความไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆหลายๆก้อนก็ได้ รวมทั้งคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง หญิงที่มีบุตรแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ทาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกจะมีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนทั่วไป

          นพ.อาสา สิงห์ชินสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม รพ.รามคำแหง ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการตามมาหลังจากเกิดนิ่วในถุงน้ำดีว่า อาจมีตั้งแต่ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางครั้งที่นิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดีทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น หรือถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่จะทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองได้ ซึ่งนิ่วจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงจึงไม่ควรปล่อยไว้นาน ขณะที่บางรายอาจตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้น
          จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี หรือมีอาการบ่งชี้อย่างไร?
          นพ.อาสา สิงห์ชินสุข ให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยมี นวัตกรรมก กลุ่ม กลุ่มแรกจะไม่มีอาการบ่งบอกเลยจึงทราบได้ด้วยวิธีตรวจร่างกายด้วยการทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ส่วนอีกกลุ่มจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร ซึ่งจะแสดงอาการกินอาหารเข้าไปแล้วจุกแน่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน หรืออาจเป็นลักษณะเรื่อยๆ ทำให้บางทีเข้าใจผิดว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากมีอาการคล้ายๆกัน บางรายจะมาในลักษณะของผลแทรกซ้อนของตัวนิ่วที่เกาะในท่อน้ำดีจะมาทำให้ตัวเหลือง ปวดท้อง เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน จะเป็นเรื่องของถุงน้ำดีอักเสบ ด้วยเหตุนี้การทำอัลตร้าซาวด์ดูเรื่องนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นวีธีตรวจหานิ่วที่ดีที่สุด
          ใครมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้บ้าง?
          นพ.อาสา สิงห์ชินสุข ระบุว่าส่วนใหญ่แล้วโรคนี้เกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักเป็นผู้หญิงที่สุขภาพดีมีวัย 4นิ่วในถุงน้ำดี ปี ขึ้นไป มีน้ำหนักเกินจากที่ใช้ชีวิตประจำวัน โดยบริโภคอาหารประเภทไขมัน ซึ่งมีคอเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ ทานอาหารมีกากใยไฟเบอร์น้อย อีกประการหนึ่งมีประวัติคนในครอบครัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ผู้มีภาวะเป็นเบาหวานหรือกำลังลดน้ำหนักเฉียบพลันทำให้เกิดการตกตะกอนในตัวน้ำดีได้ง่ายขึ้น อันตรายที่เกิดขึ้นจะมีตั้งแต่ตัวถุงน้ำดีเองและส่วนใหญ่คนไข้ที่มาหาหมอขณะมีอาการมักเป็นเรื่องของถุงน้ำดีอักเสบมากที่สุด รองลงไป คือ เรื่องของถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดีเกิดนิ่วอุดตัน ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นดีซ่านหรือติดเชื้อในกระแสเลือด ส่วนผลแทรกซ้อนที่ค่อนข้างรุนแรง คือ ตับอ่อนอักเสบ มีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบแทรกซ้อนได้อีก และอีกประการหนึ่ง คือ อาจเป็นโรคมะเร็งในถุงน้ำดีได้
          รักษาอย่างไรเมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดี?
          ถ้าผู้ป่วยมีอาการปรากฏขึ้นแล้วจะแนะนำให้ผ่าตัดทุกราย ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเป็นมาตรฐานในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากมีข้อดีคือผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการเปิดแผลผ่าตัดปกติ บางรายมาเช้ากลับเย็นหรือค่ำ แต่ส่วนใหญ่ก็อาจพักในโรงพยาบาล ส่องกล้อง-นวัตกรรมก วัน เพื่อดูความเรียบร้อย
          นวัตกรรมกนวัตกรรมกนิ่วในถุงน้ำดี; ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าพยายามรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ตรงเวลา เลี่ยงการทานมื้อ อดมื้อ เพราะอาจทำให้น้ำดีเข้มข้นมากจนกระทั่งตกตะกอนได้มาก ต้องระวังเรื่องการลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมน้ำหนักตัวและเลี่ยงอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูงเพื่อช่วยลดอาการนิ่วในถุงน้ำดีครับนวัตกรรมกนวัตกรรมกส่องกล้อง;

นิ่วในถุงน้ำดี

ข่าวโรงพยาบาลรามคำแหง+นิ่วในถุงน้ำดีวันนี้

งานสัมมนา "เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? อาการปัสสาวะเล็ด ราด บ่อย ลำบาก, ติดเชื้อ, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต"

หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ หรือกังวลเรื่องต่อมลูกหมากโตและนิ่วในไต นี่คือโอกาสดีที่คุณไม่ควรพลาด! โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานสัมมนา "เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? อาการปัสสาวะเล็ด ราด บ่อย ลำบาก, ติดเชื้อ, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต" วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 เวลา 12.30 16.30 น. ห้องประชุมชั้น 10 อาคาร 3 โรงพยาบาลรามคำแหง เจาะลึก 4 ประเด็นสุขภาพสำคัญ โดยแพทย์เฉพาะทางถึง 4 ท่าน กับ 4 หัวข้อสำคัญที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินปัสสาวะของตัว

ดร. ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ CEO กลุ่มบริษัท โร... ดร.ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ ได้รับรางวัล Best Women CEO in Strategic Leadership - Healthcare — ดร. ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ CEO กลุ่มบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหงและบริษัท...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 53 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 53 วันอังคารที่...

เพราะสุขภาพไตดี..เท่ากับสุขภาพดี มาดูแลไต... World Kidney Day 2025 ชวนกันมาฟังเรื่องไต! "ดูแลไตอย่างไรให้แข็งแรง" — เพราะสุขภาพไตดี..เท่ากับสุขภาพดี มาดูแลไตให้แข็งแรงกันเถอะ โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญช...

อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Ba... อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Babies" สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-6 เดือน — อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Babies" สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-6 ...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52 วันจันทร์ที่...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 51 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 51 วันจันทร์ที่...

14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก World Diabetes... โรงพยาบาลรามคำแหงชวนร่วมกิจกรรมงาน "วันเบาหวานโลก" วันที่ 14 พ.ย.2567 เวลา 08.00-15.00 น. — 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก World Diabetes Day โรงพยาบาลรามคำแห...