เครือเบทาโกรโชว์ “ชุดตรวจสอบเชื้อก่อโรคในอาหาร” นวัตกรรมด้านอาหารปลอดภัย ในงาน NSTDA Investor’s Day 2013

กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--เครือเบทาโกร

นายสัตวแพทย์รุจเวทย์ ทหารแกล้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยและพัฒนา เครือเบทาโกร กล่าวว่า ภายในงาน NSTDA Investor’s Day 2013 ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในวันที่ 12 กันยายน 2556 ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เครือเบทาโกร ผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจรชั้นนำของประเทศ ที่มุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานอาหารปลอดภัยสูงสุดในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ได้ร่วมออกบูธโชว์นวัตกรรมด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety) โดยนำ “ชุดตรวจสอบเชื้อก่อโรคในอาหาร” มาแสดงในงาน ซึ่งเป็นผลงานที่วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร ประกอบด้วยชุดตรวจสอบ 4 ชุด ได้แก่ การตรวจหาและการจำแนกเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) การตรวจจำแนกชนิดเชื้อลิสเตอร์เรีย (Listeria แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) การตรวจจำแนกชนิดเนื้อสัตว์ในผลิตภัณฑ์อาหาร และการตรวจจำแนกชนิดสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร “เครือเบทาโกร ได้พัฒนาชุดตรวจสอบเชื้อในผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจหาและจำแนกตัวอย่างโดยใช้ระยะเวลาในการทดสอบที่รวดเร็ว ให้ความจำเพาะสูง (specificity) ความไวสูง (sensitivity) รวมทั้งสามารถทำการตรวจจำแนกตัวอย่างได้หลายชนิดในครั้งเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เช่น การตรวจเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ สามารถทราบผลหลังการตรวจเพียง 24 ชั่วโมง หรือ ชุดตรวจจำแนกชนิดเนื้อสัตว์ในผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถตรวจสอบได้ว่ามีเนื้อสัตว์อื่นที่ไม่พึงประสงค์เป็นส่วนประกอบในอาหารนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่างเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคอาหารฮาลาล เป็นต้น ส่วนชุดตรวจจำแนกชนิดสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร สามารถตรวจสอบสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ได้ถึง 15 ชนิด อาทิ ถั่วลิสง อัลมอนด์ ปลา นมวัว ข้าวสาลี และโอ๊ต จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภคที่แพ้อาหารบางประเภท” นายสัตวแพทย์รุจเวทย์ กล่าว -กภ-

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+ศูนย์วิจัยและพัฒนาวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...