TK ใช้เงินกู้ระยะสั้นเพิ่ม ลดต้นทุนทางการเงิน ยืนยันพร้อมออกหุ้นกู้ทันที หากแบงค์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย

กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--ฐิติกร

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและประเทศ พร้อมออกหุ้นกู้หรือกู้เงินสถาบันการเงินทันทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตามแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องและแรงกดดันจากรัฐบาล นายประพล พรประภา กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ TK เปิดเผยว่า TK มีแผนที่จะออกหุ้นกู้และเงินกู้ระยะยาว ระหว่าง 3 ปี ถึง 5 ปี ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการบริหารต้นทุนทางการเงิน ซึ่งปัจจุบัน TK มีเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3,550 ล้านบาท หรือ 65% ของเงินกู้ทั้งหมด โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4% “เนื่องจาก TK เป็นลูกค้าชั้นดีและไม่เคยเป็น NPL ของทุกสถาบันการเงิน TK ได้รับการสนับสนุนที่ดีมาโดยตลอด การกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวนั้น เป็นผลดีกับ TK ในการบริหารต้นทุนและลดความเสี่ยงในด้านอัตราดอกเบี้ย เพราะปัจจุบัน เรามีสัดส่วนเงินกู้ต่อทุนหรือ Debt Equity Ratio ต่ำเพียง 1.5 เท่า TK จึงพร้อมที่จะกู้เงินอัตราดอกเบี้ยคงที่เพิ่ม เพื่อขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง” นายประพลกล่าว ปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังผันผวนและในหลายภูมิภาคกำลังมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะยุโรป (ECB) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง จาก 0.75% มาอยู่ที่ 0.5% อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขวิกฤติทางการเงิน ในขณะที่ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ทำให้กระทรวงการคลังเชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย น่าจะเป็นแนวทางทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกได้ ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. ยังไม่มีมติใดๆ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย นายประพลกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขันตลาดเช่าซื้อ ซึ่งที่ผ่านมา TK สามารถบริหารจัดการต้นทุนดอกเบี้ยได้ดีเนื่องจาก TRIS ให้ Credit Rating แก่ TK ที่ A- ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย TK ในช่วง 3 - 4 ปีอยู่ที่ประมาณ 4% นายประพลกล่าวว่า TK สามารถเติบโตต่อเนื่องได้ดีมาโดยตลอด TK ได้ตั้งเป้าไว้เมื่อต้นปีนี้ว่าจะเติบโตอีกไม่ต่ำกว่า 10% ในปีนี้ ในขณะที่ผลประกอบการเมื่อปีที่แล้ว รายได้รวมเพิ่มขึ้นจาก 3,369.6 ล้านบาท ในปี 2554 มาเป็น 3,662.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% ส่วนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อสุทธิรวม เพิ่มขึ้นจาก 7,576.3 ล้านบาท ในปี 2554 มาเป็น 8,647.9 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 14.1% และกำไรสุทธิ 712.1 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลกำไรสูงสุดนับจากการก่อตั้งกิจการมากว่า 40 ปี และทำลายสถิติติดต่อกัน 3 ปีซ้อน การขยายสาขาเป็นอีกกลยุทธ์ที่จะทำให้ TK สามารถรักษาเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ได้ โดยในปีนี้ TK ได้เพิ่มสาขาไปแล้ว 3 สาขา และช่วงเวลาที่เหลือในปีนี้ จะเพิ่มสาขาอีก 7 แห่ง ในขณะที่การขยายทีมงานในปีนี้ TK กำลังเปิดรับสมัครพนักงานเพิ่มเติมอีก 250 คน จากปัจจุบันที่มีพนักงานกว่า 1,800 คนทั่วประเทศ -กผ-

ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย+บริษัท ฐิติกร จำกัดวันนี้

TK ไตรมาส 1/2566 รายได้รวม 415.1 ล้านบาท กำไรสุทธิ 42.1 ล้านบาท กำเงินสด 2,101.3 ล้านบาท พร้อมใช้ขยายธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจใหม่

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ปรับกลยุทธ์บริหารต้นทุนทางการเงิน ใช้วงเงินกู้ลดลง เปลี่ยนถือเงินสด 2,101.3 ล้านบาท ที่พร้อมใช้ขยายพอร์ตเช่าซื้อและใช้ลงทุนธุรกิจใหม่ทันทีเมื่อมีโอกาส พร้อมเปลี่ยนกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบ ลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2566 กำไรสุทธิ 42.1 ล้านบาท ลดลง 68.8% จากรายได้รวม

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล... PDPC ร่วมตำรวจ-ธปท. ทลายขบวนการใช้ข้อมูลบัตรเครดิตผิดกฎหมาย ยึดกว่า 3.3 ล้านรายการ — สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC โดย พ.ต.อ....

ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างต้องรวดเร็วทันใจ ก... อยากกู้เงินด่วนออนไลน์ เลือกที่ไหนดี มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง — ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างต้องรวดเร็วทันใจ การกู้เงินด่วนออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับคว...

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าคณะกรรมกา... ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหนุน กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย — ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแ...

ย้อนกลับไปในปี 2559 "พร้อมเพย์" ได้ถือกำเ... "พร้อมเพย์" 8 ปีแห่งการพลิกโฉมระบบการเงินไทย ระบบที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนไทยอย่างแท้จริง — ย้อนกลับไปในปี 2559 "พร้อมเพย์" ได้ถือกำเนิดขึ้นในฐานะโครงสร้างพื้...