กระทรวงวิทย์ฯ ผนึก สธ. ดึงแล็ปเอกชน ลุยตรวจมาตรฐานเครื่องวัดความดันทั่ว ปท.

กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า จากที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ร่วมมือกับ หน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดำเนินโครงการ “สถาปนาขีดความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครื่องมือวัดความดันโลหิตในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล” เพื่อยกระดับมาตรฐานเครื่องวัดความดันโลหิต ให้เกิดผลการตรวจวัดที่ถูกต้อง แม่นยำ สามารถเป็นข้อมูลประกอบส่งเสริมให้แพทย์วินิจฉัยรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่น่าเชื่อถือได้ เบื้องต้นจากการลงพื้นที่สุ่มตัวอย่างในการทวนสอบความใช้ได้ของเครื่องวัดความดันโลหิตในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กว่า 1,200 เครื่องทั่วประเทศ พบว่ามีเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ประมาณ 20% ส่วนใหญ่เกิดจากขาดข้อมูลทางเทคนิคและอุปกรณ์พิเศษเฉพาะรุ่น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนอะไหล่เพื่อให้เครื่องใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จึงเห็นควรให้มีการยกระดับควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิตดังกล่าวทั้งในขั้นตอนของการกำหนดเกณฑ์ของเครื่องมือที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ และการกำหนดให้มีระบบการทดสอบตามระยะเวลา (Periodic Verification) สำหรับเครื่องฯ ที่ใช้ในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดให้มีการทวนสอบการใช้งานทุก 2 ปี อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและง่ายต่อการควบคุมมาตรฐานเครื่องวัดความดันโลหิตในระยะยาว นายวรวัจน์ ฯ ยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ว่า เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวมีจำนวนมาก จึงได้ให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบตามระยะเวลา โดยห้องปฏิบัติการเหล่านั้นต้องผ่านกระบวนการขอการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิตตามระบบ ISO/IEC 17025 กับสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สมป.) ซึ่งทางกระทรวงวิทย์ฯ พร้อมผลักดัน การพัฒนาวิธีการทดสอบ/สอบเทียบเครื่องมือทางการแพทย์อีกหลายรายการให้สอดคล้องกับวิธีการตามมาตรฐานสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเป็น Medical Hub ของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้เขียนข่าว/ผู้ประสานงาน นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา เบอร์โทรศัพท์ 02 -775100 ต่อ 4226 เบอร์แฟกซ์ 02-577-2859 อีเมลล์ [email protected]นท-

ข่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัย/พัฒนา ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน

นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเ... นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค — นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digi... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน จัดการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 6 — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digital China Summit) ครั้งที่ 6 เปิดฉากขึ้...

จีนเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและเวิร์กช็อปบ่มเพาะอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ชวนทั่วโลกเข้าร่วมได้ฟรี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...

รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความ... จีน-อาเซียน สำรวจความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ค...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้... การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 (The 5th Digital China S...