อินเทล ดีเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม: เปลี่ยนรูปแบบการประมวลผลจากอุปกรณ์สู่ระบบคลาวด์

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์

อินเทล ดีเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม: เปลี่ยนรูปแบบการประมวลผลจากอุปกรณ์สู่ระบบคลาวด์ อินเทลเร่งผลิตนวัตกรรมโปรเซสเซอร์ขนาด 22 นาโนเมตรสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้งกราฟิก และ อินเทล? ไวร์เลส ดิสเพลย์ เพื่อใช้กับอัลตร้าบุ๊กเจนเนอเรชั่นถัดไป ประเด็นข่าว - เร่งผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตรใหม่ล่าสุดของอินเทล - ตั้งเป้าในการปฏิวัติการออกแบบเซิร์ฟเวอร์แร็กโดยเสนอ อินเทล แร็ค สเกล อาร์คิเทคเจอร์ (Intel rack scale architecture) เพื่อเพิ่มความคล่องตัว ความจุ และการใช้ประโยชน์จากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนลดลง - จัดส่งตัวอย่าง อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ แบบ 64 บิต รุ่นใหม่เพื่อใช้กับไมโครเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า “Avoton” ไปให้ลูกค้าแล้ว และคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายในวงกว้างได้ภายในครึ่งหลังของปีนี้ - อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 เริ่มถูกนำส่งไปถึงมือลูกค้าแล้ว และจะเริ่มเปิดตัวภายในไตรมาสนี้ อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม ณ กรุงปักกิ่ง วันที่ 10 เมษายน 2556 -- ในช่วงของการจัดงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม ประจำปีภายในสัปดาห์นี้ ผู้บริหารของอินเทล คอร์ปอเรชั่น ได้มีการประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่และความร่วมมือกับพันธมิตร โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเปลียนวิธีการใช้เทคโนโลยีของผู้คนซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์ไปยังระบบคลาวด์เป็นหลัก การเปิดตัวต่างๆ ในครั้งนี้ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร และ อินเทล แร็ค สเกล อาร์คิเทคเจอร์ แบบใหม่ พร้อมทั้งรายละเอียดของโปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ซึ่งจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ด้วย ไดแอน ไบรอัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป แผนกดาต้าเซ็นเตอร์ และแผนกระบบเชื่อมต่อของ อินเทล กล่าวในช่วงการบรรยายโดยให้ความสำคัญต่อดาต้าเซ็นเตอร์ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการประมวลผลส่วนตัวที่น่าทึ่งกว่าเดิม เพื่อรองรับการจัดสรรข้อมูลและบริการต่างๆ แบบเรียลไทม์ นอกจากนั้น ไบรอันยังพูดถึงขั้นตอนที่อินเทลใช้เพื่อจัดเตรียมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์อัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลต่างๆ “ผู้คนต่างต้องการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ต่างๆ ของตนเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านแอพพลิเคชั่นและบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใดก็ตามที่พวกเขาต้องเดินทางไป” ไบรอันกล่าว “อินเทลนำเสนอพอร์ตโฟลิโอของฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีประมวลผลซอฟต์แวร์หลากชนิด ตั้งแต่อุปกรณ์ไปจนถึงดาต้าเซ็นเตอร์ที่ช่วยปรับปรุงรูปแบบการใช้งานและส่งเสริมให้เกิดบริการใหม่ๆ ด้วย” ไบรอันเปิดเผยแผนงานเร่งความเร็วในการขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ของอินเทลให้ครอบคลุมโปรเซสเซอร์ในระดับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นตอนการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรก่อนที่จะถึงปลายปีนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม พอร์ตโฟลิโอด้านทรัพย์สินทางปัญญาของระบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่มากมายของอินเทล ช่วยให้ทางบริษัทสามารถผสานคุณสมบัติต่างๆ เข้าไปในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ จึงทำให้สามารถนำออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทลอะตอม S12x9 รุ่นใหม่ ที่ปรับแต่งมาสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันโดยเฉพาะ โดยใช้เวลาแค่สี่เดือนเท่านั้นหลังจากเปิดตัวโปรเซสเซอร์อินเทล อะตอม S1200 สำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์ อินเทลวางแผนที่จะจำหน่าย อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ อีกสองรุ่นภายในปีนี้ ซึ่งโปรเซสเซอร์ดังกล่าวจะใช้โครงสร้างใหม่และมีประสิทธิภาพต่อวัตต์ที่ดีกว่าเดิมและมีชุดคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ไบรอันทำการสาธิตอินเทลอะตอม โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่สำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้ชื่อรหัสว่า “Avoton” เป็นครั้งแรกในงานนี้ และยืนยันว่าในตอนนี้ได้เริ่มส่งมอบโปรเซสเซอร์ตัวอย่างไปให้ลูกค้าเพื่อทำการทดสอบแล้ว Avoton จะมีอีเธอร์เน็ตคอนโทรลเลอร์ในตัว และคาดว่าจะมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประสิทธิภาพต่อวัตต์สำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์ที่ดีขึ้น และขยายขอบเขตของระบบเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้มากขึ้นด้วย แปลงโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ นอกจากนั้น ไบรอันยังเปิดเผยรายละเอียดแผนงานของอินเทลเกี่ยวกับการพัฒนางานออกแบบอ้างอิงสำหรับ แร็ค สเกล อาร์คิเทคเจอร์ (rack scale architecture) ที่ใช้ชุดเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลเพื่อติดตั้งใช้งานเป็นแร็กเต็มรูปแบบโดยเฉพาะ เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์ที่ขยายขอบเขตได้มากเป็นพิเศษแบบนี้มักอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทที่มีเซิร์ฟเวอร์หลายพันเครื่องและจัดเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งต้องการงานออกแบบแร็กที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้รับมือกับการเติบโตของผู้ใช้ ข้อมูล และอุปกรณ์จำนวนมากได้อย่างคุ้มค่าและง่ายดายกว่าเดิม ระบบแร็กรุ่นเก่าถูกออกแบบมาให้จัดการกับปริมาณงานของแอพพลิเคชั่นหลากชนิด แต่มักไม่สามารถจัดสรรประสิทธิภาพในระดับสูงสุด ภายใต้รูปแบบใช้งานที่มีการขยายระบบสูงมากอยู่ตลอดเวลา งานออกแบบอ้างอิงจะช่วยเปลี่ยนโครงสร้างโซลูชั่นระดับแร็ก ซึ่งอยู่ในสภาพของโมดูลในระดับระบบย่อย (ระบบจัดเก็บข้อมูล ซีพียู ระบบความจำ ระบบเครือข่าย) พร้อมกับจะมีความสามารถในการจัดสรร รีเฟรช หรือจัดสรรทรัพยากรแบบโลจิคอลโดยอิงกับเงื่อนไขปริมาณงานของแอพลิเคชั่นโดยเฉพาะ คุณประโยชน์ที่ได้ประกอบด้วย ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น ความจุที่สูงขึ้น และอัตราการใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลงทุนเฉลี่ยที่ลดลงนั่นเอง ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ต่างๆ นี้ รวมทั้งข้อมูลของอินเทล อะตอมโปรเซสเซอร์ S12x9 รุ่นใหม่ สำหรับเซิร์ฟเวอร์ระบบจัดเก็บข้อมูล ผลิตภัณฑ์ตระกูลอินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ E3v3 ผลิตภัณฑ์ตระกูลอินเทลซีออนโปรเซสเซอร์ E7v2 และอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารและระบบเครือข่ายที่ใช้ชื่อรหัสว่า “Rangeley” ได้ที่ตารางสรุปข่าว แปลงสภาพรูปแบบการใช้ระบบการประมวลผล เคิร์ก สกาวเกน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปแผนกดูแลลูกค้ากลุ่มพีซีของอินเทลกล่าวว่า ในตอนนี้ทางบริษัทกำลังส่งตัวอย่าง อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ไปให้ลูกค้าระดับโออีเอ็ม และจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ภายในไตรมาสนี้ “อัลตร้าบุ๊กที่ใช้อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 จะมีรูปแบบการประมวลผลแบบใหม่ที่น่าตื่นเต้นมากกว่าเดิม แถมยังมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ ได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงความสามารถในการใช้แบตเตอรี่ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเทลเลยก็ว่าได้” สกาวเกนกล่าว “นอกจากนั้นอัลตร้าบุ๊กรุ่นใหม่ยังช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสสัมผัสกับอุปกรณ์แบบ “สองรูปแบบในหนึ่งเดียว” ที่เป็นแบบคอนเวอร์ทิเบิลและแบบแยกชิ้น (Detachable) ที่เป็นการรวมข้อดีของรูปแบบการใช้พีซีเต็มประสิทธิภาพกับข้อดีของแท็บเล็ตในโครงสร้างแบบใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าเดิมอีกด้วย” สถาปัตยกรรมระดับไมโครของ อินเทล คอร์ รุ่นใหม่ จะช่วยให้อินเทลพัฒนากราฟิกที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ นอกจากนั้น โซลูชั่นกราฟิกรุ่นใหม่ยังจะมีรูปแบบการผสานการทำงานระดับใหม่ที่รองรับการใช้งานในโครงสร้างและการออกแบบอุปกรณ์แนวใหม่ ที่มีระบบแสดงผลคุณภาพสูงภายในตัวอีกด้วย สกาวเกนทำการสาธิตระบบกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นในงานออกแบบอ้างอิง อัลตร้าบุ๊กที่ใช้อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ที่ชื่อรหัสว่า “Harris Beach” การสาธิตใช้เกมชื่อดังอย่าง Dirt 3* ที่นำเสนอรูปแบบการแสดงผลและการเล่นเกมได้ในระดับเดียวกับการ์ดกราฟิกที่ปกติผู้ใช้ต้องซื้อแยกต่างหาก นอกจากนั้นเขายังทำการสาธิตโน้ตบุ๊คระดับพรีเมี่ยมที่ใช้อินเทล หรือ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์เจนเนอเรชั่น 4 ที่มีชื่อรหัสว่า “Niagara” โดยการเล่นเกม Grid 2* จากบริษัท Code Masters* ได้ โดยที่ไม่ต้องใช้การ์ดกราฟิกแยกต่างหากอีกด้วย นอกเหนือจากคุณสมบัติเรื่องหน้าจอสัมผัสแล้ว Intel? Wireless Display (Intel WiDi) จะกลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐานของอุปกรณ์อัลตร้าบุกที่ใช้อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 เพื่อช่วยให้ผู้คนส่งสตรีม คอนเทนท์และแอพพลิเคชั่นส์จากตัวอุปกรณ์ไปยังจอภาพขนาดใหญ่ได้อย่างปลอดภัยและไม่ต้องยุ่งยากเรื่องสายเคเบิลอีกต่อไป สกาวเกนกล่าวว่าชุมชนนักพัฒนาในประเทศจีนเป็นผู้นำในการนำเอา Intel WiDi ไปใช้กับระบบต่างๆ โดยเขายังประกาศอีกว่าผู้ผลิตโทรทัศน์ชั้นนำในจีนอย่าง TCL* ได้ผลิตโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยี Intel WiDi ในตัวแล้ว นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์รับสัญญาณรุ่นใหม่ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน Intel WiDi จาก QVCD* และ Lenovo” และกล่องแปลงสัญญาณ (set top box) จาก Gehua* อีกด้วย สกาวเกนสาธิตความก้าวหน้าเรื่องการประหยัดพลังงานในตัวอัลตร้าบุ๊กอย่าง Toshiba Portege แบบแยกชิ้น ที่ใช้อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 แบบประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น สกาวเกนยังเปิดตัวระบบรับคำสั่งโดยใช้เสียงเป็นภาษาจีนแมนดารินในอัลตร้าบุ๊กจากอินเทลและ Nuance* อีกด้วย สกาวเกนเน้นย้ำว่าอินเทลมีระบบประมวลผลสำหรับทุกระดับราคา โดยเขาได้ประกาศแผนการบุกตลาดใหม่ผ่านทาง SoC แบบ 22 นาโนเมตร ที่มีรหัสว่า Bay Trail ที่มีชุดคุณสมบัติระดับพีซีที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องคอนเวอร์ทิเบิลราคาประหยัด โน้ตบุ๊กแบบมีฝาพับ เดสก์ท้อป และคอมพิวเตอร์ออลอินวันราคาประหยัด ที่จะเริ่มจำหน่ายภายในปลายปีนี้ โมไบล์ อินไซด์ แทน วัง กวน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปแผนกกลุ่มโมไบล์คอมมูนิเคชั่นส์ อินเทล ประเทศจีน กล่าวว่า ทางบริษัทกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ดีที่สุดภายใต้โลโก้ อินเทล อินไซด์ โดย แทน ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของบริษัทที่เกี่ยวกับการพัฒนาอินเทล อะตอมโปรเซสเซอร์ Z2580 (ชื่อรหัสว่า “Clover Trail+”) สำหรับสมาร์ทโฟน และ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z2760 (ชื่อรหัสว่า “Clover Trail”) สำหรับแท็บเล็ต ซึ่งโปรเซสเซอร์ทั้งสองรุ่นเข้ามาส่งเสริมการพัฒนาอุปกรณ์และรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ แทน กล่าวว่า สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุ่นต่อไป ที่ใช้อะตอม ไมโครโปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ล่าสุดซึ่งได้จากขั้นตอนการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร จะใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่หลากหลายที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม อินเทล ความเป็นผู้นำเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ การผลิต และความสามารถรองรับการทำงานของโอเอสหลากชนิดใน วินโดวส์* 8 และแอนดรอยด์* โดยที่อินเทล อะตอม แบบคว๊อตคอร์ SoC (ชื่อรหัสว่า “Bay Trail”) จะเป็น อะตอม โปรเซสเซอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน โดยจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแท็บเล็ตรุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบันถึงสองเท่า แท็บเล็ตที่ใช้โปรเซสเซอร์ที่มีชื่อรหัสว่า “Bay Trail” จะเริ่มจำหน่ายภายในปลายปีนี้ และจะรองรับรูปแบบการใช้งานและดีไซน์ใหม่ที่มีความบางเพียง 8 มม. พร้อมอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่อยู่ได้ตลอดทั้งวัน และมีโหมดสแตนบายนานหลายสัปดาห์ นอกจากนั้น แทน ยังได้พูดถึงอินเทล อะตอม SoC ที่ใช้ชื่อรหัสว่า “Merrifield” ซึ่งจะเริ่มจำหน่ายให้ลูกค้าได้ภายในปลายปีนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะทำให้สมาร์ทโฟนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใช้ทำงานอย่างคุ้มค่ามากขึ้น และมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนรุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน แทน สรุปการบรรยายโดยเรียกร้องให้นักพัฒนาชาวจีนหันมาสร้างนวัตกรรมร่วมกันเพื่อช่วยเร่งความเจริญเติบโตให้ตลาดอุปกรณ์โมไบล์ เขาประกาศถึงความตั้งใจของอินเทลที่จะขยายตลาดแพลตฟอร์มในจีนโดยเฉพาะ พร้อมผนึกความร่วมมือในหมู่ชุมชนโดยมุ่งเน้นไปที่แท็บเล็ตที่ใช้อะตอมโปรเซสเซอร์และ ระบบแอนดรอยด์* เป็นหลัก บวกกับงานออกแบบเพื่อทำให้อุปกรณ์โมไบล์ที่ใช้เทคโนโลยีรุ่นล่าสุดของอินเทลออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เขาเสริมอีกว่านักพัฒนาชาวจีนมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความพยายามนี้ ในขณะที่ความเร็ว ขอบเขต และผลิตภัณฑ์ขนานแท้จากจีนจะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ไปทั่วโลก พรีวิวงานไอดีเอฟวันที่สอง ดั๊ก ฟิชเชอร์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของแผนกซิสเต็มส์ซอฟต์แวร์ของอินเทลจะมาบรรยายในงาน ไอดีเอฟวันที่สอง โดยจะเน้นไปที่ตำนานปริศนาหลายเรื่องในอุตสาหกรรมไอที และจะมีการแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับโอกาสทองที่รอเหล่านักพัฒนาอยู่ เขาจะอธิบายว่าอินเทลแปลงสภาพจากประสบการณ์ด้านพีซีแล้วหันมาแสวงหาความก้าวหน้าในตลาดอุปกรณ์ได้อย่างไร อินเทลสนับสนุนสภาพแวดล้อมการใช้ระบบปฏิบัติการหลากชนิด และความพยายามที่จะช่วยให้เหล่านักพัฒนาขยายขอบเขตและสร้างความทันสมัยให้ระบบประมวลผลโดยใช้คุณสมบัติใหม่ๆ ที่มีอยู่ในฮาร์ดแวร์ และความก้าวหน้าด้านซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างรูปแบบการใช้งานที่โดดเด่นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังจะพูดถึงการที่นักพัฒนาจะสามารถใช้ประโยชน์จาก HTML 5 เพื่อลดต้นทุนโดยรวมและปรับปรุงเวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดสำหรับการพัฒนาและติดตั้งแอพพลิเคชั่นข้ามแพลตฟอร์มได้อย่างไร การนำเอาระบบสัมผัสและเซ็นเซอร์อินเตอร์เฟซไปสร้างความทันสมัยให้แอพพลิเคชั่น และการใช้เทคโนโลยีระบบประมวลผลการรับรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคติดต่อกับพีซีผ่านระบบควบคุมโดยใช้เสียง ระบบตีความท่าทาง ระบบติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตา และระบบอื่นๆ อีกมาก จัสติน แรทเนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทลจะมาบรรยายเกี่ยวกับการที่ อินเทล แล็บส์ ได้เตรียมแผนงานเพื่ออนาคตที่สดใสกว่าเดิมเอาไว้แล้ว เขาจะมาเปิดเผยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเมืองต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันและพึ่งพาอาศัยกัน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ อาทิ อากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด สุขอนามัยที่ดีขึ้น และความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยกว่าเดิม นอกจากนั้นเขาจะอธิบายว่าการใช้ชีวิตภายในเมืองใหญ่มีความต้องการระบบสื่อสารบอร์ดแบนด์ไร้สายที่เร็วขึ้นและมีราคาถูกกว่าเดิมมากแค่ไหน แรทเนอร์กล่าวว่า หลังจากยุคข้อมูลข่าวสารแล้ว เราจะก้าวสู่ยุคใหม่ที่เขาตั้งชื่อว่า “สังคมข้อมูล” เขาจะอธิบายว่าข้อมูลใช้ระบบคลาวด์จะทำงานแทนผู้ใช้ทุกคน ผ่านความร่วมมืออย่างปลอดภัยได้อย่างไร ระบบคลาวด์จะวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลที่ต่างกันเข้าด้วยกันเพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่ามากกว่าเดิมให้แก่ผู้คนทั่วไป องค์กร และสังคมโดยรวม แรทเนอร์วางแผนที่จะสร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนโดยนำเอาเทคโนโลยี อินเทล ซิลิคอน โฟโตนิกส์ มาเปิดตัวเป็นครั้งแรกอีกด้วย อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม งานไอดีเอฟเป็นการจัดแสดงอุปกรณ์โมบายล์ ระบบดิจิตอล เอ็นเตอร์ไพรซ์ ระบบดิจิตอลโฮม รวมทั้งเทคโนโลยีและงานวิจัยต่างๆ ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก งานไอดีเอฟครั้งล่าสุดจัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติของจีนระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน ศกนี้ โดยมุ่งเน้นที่ตลาดในจีนโดยเฉพาะ และได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมภายในจีนและผู้นำอุตสาหกรรมของอินเทลในภูมิภาคนี้ งานไอดีเอฟครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ มอสโคเน่ เซ็นเตอร์ เวสต์ ในซานฟรานซิสโก ระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน ศกนี้ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.intel.com/idf เกี่ยวกับอินเทล อินเทลเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผลรวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand Intel, และโลโก้ของ Intel เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นๆอาจถูกอ้างอิงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้น *-กภ-

ข่าวดาต้าเซ็นเตอร์+เซิร์ฟเวอร์วันนี้

เรฟบิตส์ดูแลความปลอดภัยทางอีเมลครบวงจร ปกป้องได้ตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์เมลไปจนถึงอินบ็อกซ์ของผู้ใช้งาน

โซลูชันรักษาความปลอดภัยทางอีเมลอันล้ำหน้าช่วยปกป้องการรับอีเมลทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่ดาต้าเซ็นเตอร์/เซิร์ฟเวอร์เมลบนคลาวด์ ไปจนถึงอุปกรณ์เอดจ์ ด้วยการวิเคราะห์ SEG และเอเจนต์อินบ็อกซ์ฝั่งไคลเอนต์ เรฟบิตส์ (RevBits) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ครบวงจร ครอบคลุมอุปกรณ์ปลายทาง ระบบคลาวด์ และระบบภายในองค์กร ประกาศเปิดตัวเรฟบิตส์ ซีเคียว อีเมล เกตเวย์ (Secure Email Gateway หรือ SEG) เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางอีเมลฝั่งไคลเอนต์ที่มีอยู่เดิมไปอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ลูกค้าป้องกันอีเมลมุ่งร้ายที่มีกลไกซับซ้อน

ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทร... นักลงทุนเพิ่มเม็ดเงินลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยและเอเชียแปซิฟิกปี 2565 — ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก รายงานว่า ธุรกิจดาต้าเซ...

นักลงทุนรวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เ... การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยมีโอกาสขยายตัว — นักลงทุนรวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เริ่มให้ความสนใจมองหาโอกาสการลงทุนในอสังหาริมทร...

เซิร์ฟเวอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ของ Hewlett Packard Enterprise ผ่านการรับรองความยั่งยืนจาก TCO Certified เป็นแบรนด์แรก

ผลิตภัณฑ์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์ไอทีอื่น ๆ และเซิร์ฟเวอร์ของ Hewlett Packard Enterprise ก็ขึ้นแท่นเซิร์ฟเวอร์ตัว...

ดร.ลิซ่า ซู ซีอีโอ บริษัท AMD เข้าร่วมการบรรยายในงาน CES 2021 - เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นครั้งแรกบนโลกดิจิทัล

ดร.ลิซ่า ซู ซีอีโอ บริษัท AMD ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษใน งาน CES 2021 keynote ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และในด้านความบันเทิงต่าง ๆ โดยมี HP, Lenovo,...

Big Data Exchange (BDx) สร้างความร่วมมือกับ Cogent ในดาต้าเซ็นเตอร์ SIN1 ในสิงคโปร์

BDx จับมือกับ Cogent มุ่งให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้าทั่วเอเชีย Big Data Exchange (BDx) ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์อิสระที่ดำเนินกิจการครอบคลุมทั้งเอเชีย ประกาศสร้างความร่วมมือครั้งใหม่กับ Cogent Communications ในดาต้า...

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดตัว PowerScale สตอเรจ สร้างมาตรฐานใหม่ ปลดล็อคศักยภาพใหม่ทางข้อมูล

ระบบ PowerScale สตอเรจ นำสิ่งที่ดีที่สุดของฮาร์ดแวร์ เดลล์ อีเอ็มซี เซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ สตอเรจ มาเพื่อช่วยลูกค้าในการจัดการไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์หลัก ที่พื้นที่ปลายทาง (edge) และที่พับลิคคลาวด์...

ไลท์ ออน สตอเรจ เปิดตัวคลาวด์เจนเนอเรชั่น... LITE-ON เปิดตัวคลาวด์เจนเนอเรชั่นล่าสุด และโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลองค์กรในงาน COMPUTEX 2019 — ไลท์ ออน สตอเรจ เปิดตัวคลาวด์เจนเนอเรชั่นและโซลูชั่นการจัดเ...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ขานรับเทรนด์โซลูชั่นเ... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จัดแสดงโซลูชั่นเอดจ์ (Edge Solution) ในงาน IEEE PES GTD ASIA 2019 — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ขานรับเทรนด์โซลูชั่นเอดจ์ (Edge Solution) มาแร...