Manulife Asset Management เผยผลวิจัยล่าสุด พบครัวเรือนในเอเชียร่ำรวยด้วยสินทรัพย์ แต่รายได้หลังเกษียณต่ำ

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยยังเปิดเผยด้วยว่า ความมั่งคั่งส่วนบุคคลที่สะสมไว้ในระดับค่อนข้างสูงของครัวเรือนต่างๆ ในเอเชีย สามารถสร้างรายได้หลังเกษียณได้อย่างมั่นคง หากมีการบริหารการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ Manulife Asset Management เปิดเผยผลวิเคราะห์ความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณของครัวเรือนผู้สูงอายุใน 5 เขตเศรษฐกิจเอเชีย พบว่า ครัวเรือนในประเทศและเขตการปกครองเหล่านี้มีระดับความมั่งคั่งทางสินทรัพย์ที่สะสมไว้ค่อนข้างสูง และให้ความเห็นว่า หากบริหารสินทรัพย์เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะช่วยเสริมแหล่งรายได้หลังเกษียณอื่นๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ รายงานดังกล่าวจัดทำขึ้นภายใต้หัวข้อ “Asset rich, income poor? Key components of retirement income security for aging Asia” (ร่ำรวยด้วยสินทรัพย์ แต่รายได้ต่ำ? ปัจจัยหลักสำหรับความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณสำหรับประชากรผู้สูงอายุในเอเชีย) ซึ่งเป็นผลวิจัยฉบับที่สามของ Manulife Asset Management ในเรื่องเกี่ยวกับ ความเตรียมพร้อมเพื่อการเกษียณของประชากรในเอเชีย โดย 5 เขตเศรษฐกิจเอเชียที่ทำการสำรวจได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ และไต้หวัน ซึ่งก้าวสู่ระดับที่มีการปันผลทางประชากร (demographic dividends) สูง กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ก้าวจากวัยทำงานเข้าสู่วัยเกษียณค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถสร้างรายได้ในระดับที่สูงกว่าการบริโภค มีการออมและการลงทุนเพิ่มขึ้น และโดยทั่วไปจะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีความมั่งคั่งทางสินทรัพย์ของครัวเรือนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ ผลวิจัยเผยว่า สถานการณ์เช่นนี้เกิดจากความท้าทายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบสำคัญของความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณ 5 ประการ ได้แก่ เงินเดือนและค่าจ้าง สวัสดิการภาครัฐ ผลประโยชน์จากกองทุนบำนาญ การช่วยเหลือจากครอบครัว และรายได้จากความมั่งคั่งทางสินทรัพย์ของครัวเรือน ทั้งนี้ ผลวิจัยสำคัญๆ เกี่ยวกับความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณในประเทศและเขตการปกครองต่างๆ ที่สำรวจ ปรากฏดังนี้ ฮ่องกงมีการพัฒนาระบบบำนาญอยู่ในเกณฑ์ที่ดีซึ่งช่วยเสริมความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณ โดยมีอัตราส่วนการครอบคลุมประชากรอยู่ที่ร้อยละ 56 อย่างไรก็ตาม ชาวฮ่องกงมีแนวโน้มออกจากตลาดแรงงานตั้งแต่อายุยังน้อย และมีรายได้รับจากสินทรัพย์ที่สะสมไว้ในระดับต่ำ เนื่องจากลงทุนค่อนข้างมากในรูปเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณของญี่ปุ่นได้รับแรงสนับสนุนจากอัตราส่วนผู้สูงอายุที่อยู่ในตลาดแรงงานในระดับสูง โดยมีผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานต่อในวัยเกษียณถึงร้อยละ 22 อย่างไรก็ตาม รายได้หลังเกษียณที่น้อยลงเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า การช่วยเหลือจากครอบครัวสำหรับบรรดาครัวเรือนผู้สูงอายุ ได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1 ของความต้องการด้านการบริโภคทั้งหมดของพวกเขา สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีกลุ่มประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในเอเชีย และมีระดับสวัสดิการภาครัฐต่ำที่สุดในบรรดาเขตเศรษฐกิจที่สำรวจ แต่ในทางกลับกัน ความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณของสิงคโปร์ได้รับปัจจัยบวกจากระบบบำนาญที่ดี ซึ่งสะสมเงินบำนาญไว้ถึงร้อยละ 68 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ รายได้หลังเกษียณในเกาหลีใต้ ได้รับอานิสงส์จากตัวเลขสัดส่วนผู้สูงอายุในตลาดแรงงานที่สูงที่สุดในเขตเศรษฐกิจที่สำรวจ อย่างไรก็ตาม สวัสดิการภาครัฐที่ต่ำ โดยอยู่ที่เพียงร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้สูงอายุในเกาหลีใต้ เนื่องจากภาระสร้างความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณตกอยู่ที่แต่ละครัวเรือนมากกว่าเขตเศรษฐกิจอื่น ไต้หวันมีอัตราส่วนความมั่งคั่งทางการเงินครัวเรือนต่อระดับรายได้สูงที่สุดในบรรดา 5 ประเทศและเขตการปกครองข้างต้น สิ่งท้าทายที่สุดสำหรับครัวเรือนสูงอายุในไต้หวัน อาจเป็นเรื่องอัตราการอยู่ร่วมครัวเรือนเดียวกันของคนหลายวัย ซึ่งลดลงจากร้อยละ 70 เมื่อปลายปี 2523 มาอยู่ที่ร้อยละ 60 ในปี 2548 รายงานต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภาพความมั่นคงด้านรายได้หลังเกษียณของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ด้านนายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เราก็เชื่อว่า ผู้สูงอายุหลายครัวเรือนในประเทศไทยประสบภาวะเช่นเดียวกับในเขตเศรษฐกิจทั้ง 5 ที่เข้าสำรวจ กล่าวคือ ร่ำรวยด้วยสินทรัพย์ แต่รายได้หลังเกษียณต่ำ ครัวเรือนที่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีทางเลือกไม่มากนัก นอกจากต้องขายทรัพย์สินที่สะสมไว้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และโภคภัณฑ์ หรือเบิกเงินประกันชีวิตหรือเงินฝากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในช่วงวัยเกษียณ โดยเฉพาะในครัวเรือนที่ไม่มีทรัพย์สินสะสมไว้มาก ก็อาจเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นสำหรับผู้เกษียณที่มีอายุยืนยาวอาจไม่มีรายได้พอใช้ “ไม่ว่าจะมีความมั่งคั่งระดับใด ครัวเรือนต่างๆ สามารถบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการเปลี่ยนจากเงินออมหรือเงินฝากธนาคารมาเป็นการลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีการกระจายลงทุนสินทรัพย์หลายประเภท (Asset Allocation) โดยมีสินทรัพย์หลายประเภทด้วยกันที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ลงทุน อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ได้เริ่มเกิดขึ้นบ้างแล้วในประเทศไทยผ่านการการลงทุนในกองทุนรวม เราพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 500 จาก 0.435 ล้านล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2545 เป็น 2.614 ล้านล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2555 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้ลงทุนได้มองหาทางเลือกต่างๆ ในการลงทุนที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ซึ่งอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์และในบางเวลา ผลตอบแทนที่แท้จริงอาจถึงขั้นติดลบเมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อด้วย” นายต่อกล่าว ขณะที่ นาย Michael Dommermuth ดำรงตำแหน่ง International Asset Management ของ Manulife Asset Management Asia กล่าวสรุปว่า ผลวิจัยของเราบ่งชี้ว่า ครัวเรือนทั่วเอเชียจะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นสำหรับการออมเพื่อใช้ยามเกษียณในอนาคตข้างหน้านี้ ทั้งนี้ เราได้ตระหนักถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บสะสมสินทรัพย์ของครัวเรือนไปยังการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ เช่น กองทุนหุ้นที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลซึ่ง บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) ได้เสนอขายอยู่ในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญที่สุด แนวโน้มนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประชากรสูงอายุในเขตเศรษฐกิจต่างๆ ในเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่เหลือเวลามากพอในการปรับตัวเพื่อเผชิญกับภาวะดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: Website: www.manulife-asset.co.th โทรศัพท์: 02-246-7650 กด 2 โทรสาร: 02-642-6341 ฝ่ายการตลาด : ชัชฎดา เอกะหิตานนท์ 0-2264-7650 ต่อ 8615 หรือ 0-2354-1006 พันธุ์วดี พินทุโยธิน 0-2246-7650 ต่อ 8608 วัฒนพงษ์ ราญรอน 0-2246-7650 ต่อ 8640 -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวManulife Asset Management+บริหารสินทรัพย์วันนี้

Manulife Asset Management (Thailand) partners with First State Investments (Hong Kong) for the launch of Manulife Asian Equity Plus FIF (MN-AEPLUS) IPO 12-18 March 2019

Manulife Asset Management (Thailand) ("Manulife AM (Thailand)") has announced the upcoming launch of the Manulife Asian Equity Plus FIF (MN-AEPLUS), which invests in high quality companies with attractive long-term growth prospects through the First State Asian Equity Plus Fund ("Master Fund"), a Morningstar-ranked fund. Michael Reed, Chief Executive Officer of Manulife Asset Management (Thailand), explained: "In 2018, investors experienced a challenging environment driven by numerous

TISCO Bank Public Company Limited, led by... Photo Release: TISCO Bank – Manulife AM (Thailand) — TISCO Bank Public Company Limited, led by Mr. Sakchai Peechapat, President and Manulife Asset Manag...

Manulife Asset Management (Thailand) launches Global Asset Allocation Fund - time to look beyond single asset class investment solutions

Manulife Asset Management (Thailand) has announced the upcoming launch of the Manulife Strength – Global Asset Allocation FIF (MS-GAA or "the Fund"), an open-ended...

Manulife Asset Management partners with TMB Bank to expand sales channels nationwide

Strategic partnership to expand and strengthen Manulife Asset Management (Thailand)'s fund distribution network and build awareness of compelling investment products On 29 September 2015, Manulife Asset Management ...

Thailand investors limit returns potential by holding 50% of financial assets in cash – Manulife Asset Management

Investors across Asia are losing ground each year as savings grow more slowly than costs due to inefficient asset allocation – excessive cash holdings mean that Thai investors likely face...

นักลงทุนไทยจำกัดโอกาสในการรับผลตอบแทนของตัวเอง ด้วยการถือครองเงินสดถึงร้อยละ 50 ของสินทรัพย์เพื่อการลงทุน – บลจ. แมนูไลฟ์

นักลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชียกำลังเสียโอกาสในการลงทุนมากขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากผลตอบแทนจากเงินออมโตช้ากว่าต้นทุนต่างๆ เนื่องจากการจัดสรรสินทรัพย์ที่ขาดประสิทธิภาพ ซึ่งนักลงทุน...

New report suggests married Thai couples add 7 to 11 years to retirement planning

Manulife Asset Management today issued a report that finds many married couples in Asia, including in Thailand, are significantly underestimating the length of time they will spend in retirement and, as a result, are...

รายงานล่าสุดชี้ว่าคู่สมรสไทยควรคาดการณ์ระยะเวลาหลังเกษียณให้ยาวนานขึ้นราว 7 ถึง 11 ปี ในการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ

Manulife Asset Management ออกรายงานผลศึกษาที่พบว่า คู่สมรสจำนวนมากในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ประเมินช่วงเวลาวัยเกษียณไว้สั้นกว่าที่ควรจะเป็นมาก ทำให้มีโอกาสสูงที่จะเก็บเงินออมไว้ใช้ยาม...