ฟรอสต์ฯเผยโอกาสในพม่า เทียบชั้น เพชรเม็ดงามที่รอการเจียระไน

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน

ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน เผยโอกาสทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศพม่า นาย วิเวก ไวยา ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้กล่าวในงานสัมมนา “โอกาสธุรกิจและการลงทุนในอินโดนีเซียและเมียนมาร์ สำหรับ SMEs" ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิตต์ เมื่อไม่นานมานี้ว่า “พม่าเป็นประเทศเดียวที่มีภูมิประเทศเชื่อมต่อทั้งอินเดีย และ จีน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจและมีศักยภาพในด้านต่างๆสูงนับตั้งแต่เปิดประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดประเทศพม่าจึงเป็นประเทศแรกที่ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันได้เลือกเดินทางมาเยือนในระหว่างการเยือนประเทศแถบอาเซียนเมื่อเดือนที่ผ่านมา” ปัจจุบัน พม่ากำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน รายได้ GDP (PPP) ของพม่ากำลังสูงขึ้นและเติบโตในอัตราที่แข็งแกร่งมาก นอกจากนี้ นายวิเวกได้ตั้งข้อสังเกตว่า GDP (PPP) ของพม่า ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2550 นอกจากนี้ พม่ายังมีแรงงานหนุ่มสาวจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยด้านนี้จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เป็นอ่ยางดี นายวิเวกได้กล่าวเสริมว่า อัตราว่างงานของพม่ามีเพียง ร้อยละ 5 ซึ่งนับว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคการเกษตรที่ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทีสำคัญทั้งในแง่ของ GDP และการจ้างงาน “สินค้าที่นำเข้าไปในพม่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นฐาน ซึ่งยังผลิตไม่ได้ภายในประเทศ ดังนั้นจึงมีศักยภาพในการเติบโตเป็นอย่างมาก สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกในปีที่ผ่านมา ได้แก่ สินค้าปิโตรเลียม เครื่องจักรและอะไหล่ วัสดุก่อสร้าง พลาสติก น้ำมันปาล์ม ยานพาหนะและอะไหล่ ยา เรือ ปูนซีเมนต์และปุ๋ย” “ในสองสามปีที่ผ่านมา ถือได้ว่า ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นนักลงทุนชั้นนำของพม่า แต่ก็อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลง เนื่องจากตลาดพม่าเปิดมากขึ้น นอกจากกจะมี บริษัทต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างวิ่งเข้าไปลงทุนแล้ว ยังมีบริษัทจากสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆอีกด้วย ซึ่งหากกฎหมายของพม่านิ่งเมื่อไหร่ เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของประเทศพม่าอย่างแน่นอน” นายวิเวกเปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทุกภาคอุตสาหกรรมของพม่ามีความน่าสนใจ แต่ธุรกิจที่น่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากที่ตั้งและภูมิประเทศของพม่าคือ โครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง ไฟฟ้า น้ำ ท่าเรือ และถนน เป็นต้น “ธุรกิจน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค จัดว่ามีความน่าสนใจมากที่สุดและง่ายต่อการลงทุนในประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม ราคาอสังหาริมทรัพย์จัดว่าอยู่ในระดับที่สูงมากแล้วในขณะนี้ ดังนั้น นักลงทุนต่างๆควรระมัดระวังปัจจัยดังกล่าว” “เขตเศรษฐกิจพิเศษ จะต้องมีการดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ เพื่อกระตุ้นทั้งการนำเข้าและส่งออก นายวิเวกตั้งข้อสังเกตว่า สินค้าเกือบร้อยเปอร์เซนต์ถูกลำเลียงผ่านท่าเรือย่างกุ้ง และทิลาวา ประเทศพม่า เปรียบเสมือน ตัวเชื่อมเส้นทางเศรษฐกิจอาเซียนทางตอนใต้ เพื่อไปสู่ประเทศอินเดีย” พม่าจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับการมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอเป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลอย่างยิ่งกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิตกระแสไฟฟ้าของพม่าในปัจจุบันมาจากพลังงานน้ำ ร้อยละ 70 จากก๊าซ ร้อยละ 24 และจากถ่านหินร้อยละ 4 ดีเซล ร้อยละ 2 เขาเสริมว่า ระดับการผลิตในปัจจุบันอยู่ที่ 1,350 MW ซึ่งจะลดลงอีกในฤดูร้อน เนื่องจากพลังงานน้ำลดลง และความต้องการไฟฟ้าของพม่าจะเพิ่มสูงถึง 3000 MWภายในปี 2016 นาย วิเวกได้กล่าวเพิ่มเติมว่าภาคการสื่อสารโทรคมนาคมของพม่า นับว่ามีศักยภาพมากมาก เนื่องจากมียอดโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนเพียง 3 ล้านเลขหมาย จากประชากรทั้งหมด 60 ล้านคน และ wireless penetration มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น จึงถือว่ามีเปอร์เซนต์ที่จะเติบโดได้อีกมาก “พม่าจะมียอด wireless penetration สูงถึงร้อยละ 50 ภายในปี 2558 แต่โทรศัพท์และซิมการ์ดจะมีราคาค่อนข้างสูง หรืออยู่ที่ประมาณ 150-200 เหรียญสหรัฐฯ” นายวิเวกเผย -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย+สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศวันนี้

กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กร ยืนยันภาคการเงิน-อุตสาหกรรม-ตลาดทุน ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว

กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กร ยืนยันภาคการเงิน-อุตสาหกรรม-ตลาดทุน ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว ย้ำด้านการประกันภัยทำงานเชิงรุก พร้อมเบิกจ่ายสินไหมรวดเร็ว-เป็นธรรม นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า วันที่ 31 มีนาคม 2568 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) สภาวิศวกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมโชว์น... Dow โชว์นวัตกรรมวัสดุศาสตร์ลดคาร์บอน หนุนผู้ประกอบการไทยมุ่งสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมโชว์นวัตกรรมด้านวัสดุศาสตร์ ในธีม "สู...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ จับมือ 4 มหาวิทยาลัยดัง และ วิทยุการบิน ยกระดับกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร....

เมื่อเร็วๆนี้ นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประ... NER ชูแนวคิด NER Creating value beyond rubber ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางในงาน FTI EXPO 2025 — เมื่อเร็วๆนี้ นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริห...

บมจ.พีรพัฒน์ เทคโนโลยี หรือ "PRAPAT" นำโด... PRAPAT ร่วมงาน "FTI EXPO 2025" แสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยสู่สายตาโลก — บมจ.พีรพัฒน์ เทคโนโลยี หรือ "PRAPAT" นำโดย นายสืบพงศ์ เกตุนุติ (คนกลาง) ประธานบริษ...

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นายโชคชัย อัศวร... บางจากฯ ร่วม FTI EXPO 2025 ชูแนวทาง "BCG for Climate Action: ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน" — วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นายโชคชัย อัศวรังสฤษฎ์ Chi...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. โชว์ Green Technology ในงาน FTI EXPO 2025 — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ...

สกสว. เครือข่ายเศรษฐกิจและนวัตกรรม เปิดเว... สกสว. - เครือข่ายเศรษฐกิจและนวัตกรรม เปิดเวทีระดมความเห็นแผนยุทธศาสตร์ — สกสว. เครือข่ายเศรษฐกิจและนวัตกรรม เปิดเวทีระดมความเห็นแผนยุทธศาสตร์ อุตฯ เซมิคอน...