เครื่องสำอางไทยตีตลาดญี่ปุ่น อาเซียน 10 เดือนแรกขยายตัวกว่า 6% ชี้แนวโน้มตลาดนิยมสมุนไพร-ธรรมชาติ เล็งเจาะตลาดฮาลาลกำลังซื้อสูง เผยเร่งลดปัญหาภาษีนำเข้า-ขึ้นทะเบียนเวชสำอาง

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยการส่งออกสินค้าเครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวว่า ในช่วง 10 เดือนของปีนี้(มกราคม – ตุลาคม )ส่งออกเพิ่มขึ้น 6.6% หรือ มีมูลค่า 2,257 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นสินค้าสิ่งปรุงแต่งสำหรับใช้กับผม วัตถุดิบเพื่อใช้ทำเครื่องสำอาง สิ่งปรุงแต่งที่ใช้แต่งหน้า หรือบำรุงผิว สิ่งปรุงแต่งเพื่ออนามัยในช่องปากและฟัน สบู่ สิ่งปรุงแต่งที่ใช้โกนหนวด อาบน้ำและดับกลิ่นตัว และหัวน้ำหอมและน้ำหอม คาดว่าการส่งออกปีนี้จะเพิ่มขึ้น 15% หรือ คิดเป็นมูลค่า 2,880 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยญี่ปุ่นขยายตัวเพิ่มขึ้น 27% และอินโดนีเซียขยายตัวเพิ่มขึ้น 7% ทั้งนี้แนวโน้มของตลาดที่น่าสนใจ คือ ฮาลาล เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมาก ดังนั้นผู้ประกอบการควรพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานฮาลาล เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไนและนอกกลุ่มอาเซียน เช่น กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ตลาดญี่ปุ่นมีความนิยมและให้ความสนใจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากสมุนไพร/ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น สบู่สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้กับเส้นผม เครื่องสำอางสมุนไพรใช้ดับกลิ่นตัว เป็นต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรเป็นที่รู้จักทั่วโลกทั้งคุณภาพมาตรฐาน และมีแนวโน้มการส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดใหม่ที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ ลิเบีย 313% เอธิโอเปีย 139% และนอร์เวย์ 119% โดยไทยมีจุดแข็งในเรื่องของ ราคาถูก (ค่าแรงที่ถูกกว่า) เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ความประณีตและการบริการที่มีความหลากหลายด้านวัตถุดิบในการผลิต มีสถาบันรองรับและมาตรฐานการผลิตที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก หากไทยสามารถลดปัญหาในด้านภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าและต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ของไทยที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น จีนและมาเลเซีย ปรับปรุงแบบและคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ยังเสียเปรียบคู่แข่ง เช่น จีนและเกาหลีใต้ กฎระเบียบการขอขึ้นทะเบียนฉลากสรรพคุณเกี่ยวกับเวชสำอางยังไม่ชัดเจน รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การขาดการวิจัยและการพัฒนาคุณภาพสินค้านำเข้าของจีนค่อนข้างเข้มงวดและกีดกัน จะทำให้การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น นางศรีรัตน์ กล่าวถึงกลยุทธ์ทางการตลาดว่า กรมฯจะสนับสนุนการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาทางด้านการผลิตวัตถุดิบอย่างจริงจัง ช่วยเหลือผู้ประกอบการทำการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ดีและมีประสิทธิภาพทัดเทียมต่างประเทศ การลดกำแพงภาษีนำเข้าวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ในการผลิต เร่งแก้ไขกฎหมายและปรับปรุงประสิทธิภาพการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับประมาณคำขอ จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายการส่งออกในตลาดหลักและตลาดที่มีศักยภาพ โดยเน้นการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า เป็นต้น-กภ-

ข่าวกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ+การค้าระหว่างประเทศวันนี้

DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที "THAIFEX - ANUGA ASIA 2025"

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย และโคโลญเมสเซ่ เยอรมนี จัดประชุมผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจัดแสดงสินค้าในงาน THAIFEX ANUGA ASIA 2025 โดยเป็นการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับภาพรวมการจัดงาน การเข้าร่วมงาน การก่อสร้าง การตกแต่งคูหา การจราจร ระเบียบข้อบังคับการเข้าร่วมงาน รวมถึงมาตรการรับมือภัยพิบัติ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในช่วงระหว่างการ เตรียมงานและพร้อมต้อนรับการเข้าชมงานในปีนี้ งาน THAIFEX ANUGA ASIA 2025 เป็นงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ ครบวงจร

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัด... "พาณิชย์" จัดงาน Thai Night ส่งเสริมภาพยนตร์-บันเทิงไทยสู่สายตาชาวโลก — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัดงาน Hong Kong Thai Night 2025 งานสร้างเคร...

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่... สสว. จัดงาน "ปลดล็อคความสำเร็จ SME" ปี 2568 — สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะจัดงานเผยแพร่นโยบาย/โครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการส่ง...