กรุงเทพฯ--21 ก.พ.--สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
วิถีของชาวไทยผูกโยงอยู่กับความเชื่อและศาสนามาเป็นเวลาช้านาน แม้ว่าจะยุคใด สมัยใด วัด หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของชุมชน และชาวบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตชนบท บทบาทของวัดและพระสงฆ์ ในฐานะศูนย์รวมใจของชุมชน ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และยังคงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ผูกพันกับวัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ในขณะที่เราใช้สถานที่ของชุมชนอย่างวัดวาอาราม วัดบางแห่งที่ถูกใช้ โดยมิได้คำนึงถึงการทำนุบำรุงรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลัง วัดตามชนบทหลายแห่งเริ่มเสื่อมโทรมลง เพราะทั้งโบสถ์ กุฎิวัดของพระ ลานธรรม และห้องน้ำ ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และขาดหน่วยงานที่จะเข้ามาช่วยทำนุบำรุง ปรับปรุงภูมิทัศน์ต่างๆ จนทำให้ทุกวันนี้วัดบางแห่งที่เคยคึกคักและเต็มไปด้วยพุทธศาสนิกชน กลับถูกทอดทิ้งให้เงียบเหงาวันนี้หน่วยงานภาครัฐอย่าง สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จับมือกับ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือส.ส.ท. และองค์กรธุรกิจที่ได้รับรางวัล 5ส แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรตัวอย่างในการจัดพื้นรวมถึง สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้มีความเหมาะสมกับหน่วยงานของตนเอง พันธมิตรทั้งหมดนี้รวมตัวกันเพื่อจัดโครงการ “วัดสร้างสุข” ขี้นเพื่อพัฒนารูปแบบ และแนวคิดการจัดการแบบ 5ส ให้เกิดขึ้นในวัดซึ่งเป็นศูนย์รวมของคนไทยทุกคน
คุณอนุวรรตน์ ศิลาเรืองอำไพ ผู้อำนวยการสายงานการศึกษาฝึกอบรมและวินิจฉัยให้คำปรึกษา ของส.ส.ท. กล่าว่า ปัญหาการจัดระเบียบของวัด และการจัดการด้านความสะอาดเกิดจากการขาดวินัยของคนไทยเอง และการขาดจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมที่จะทำนุบำรุงรักษาพื้นที่ชุมชน ทำให้เราได้พบเห็นสภาพที่ไม่น่าพึงประสงค์ตามมุมต่างๆ ของวัด และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเหล่านี้ คณะทำงานจึงต้องลงพื้นที่ให้ความรู้ในหลักการของ 5ส พร้อมทั้งปลุกจิตสำนึกและระเบียบวินัยให้กับคนไทยโครงการ “วัดสร้างสุข” นั้นนอกจากจะมุ่งเน้นการปรับภูมิทัศน์และส่งเสริมเรื่องการสร้างความสะอาดทุกพื้นที่ของบริเวณวัดแล้ว ยังมีการส่งเสริมด้านจิตใจ คือการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อให้เป็นลานฟังธรรม และนั่งสมาธิ ซึ่งที่พื้นที่บริเวณนั้นจะมีการให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมทั้งถวายบทเรียนความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ เพราะ จะเป็นบุคลากรหลักที่จะนำเอาระบบ 5ส มาใช้กับพื้นที่ของวัด รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ต่อไปยังศาสนิกชนด้วย โดยเป้าหมายองค์รวมคือการเปลี่ยนแนวคิด นำไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนาจิตใจ สังคมและประเทศชาติในที่สุด ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวัดนำร่องทั้งหมด 4 วัด คือ 1. วัดสุทธิวราราม (เขตสาธร) 2.วัดจำปา (เขตตลิ่งชัน) 3. วัดด่าน (พระราม 3) และ 4. วัดคลองเตยใน (เขตคลองเตย)
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวว่า อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการภายในวัด สถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย อันเกิดจากการรวมตัวกันของคนในสังคม ช่วยพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ยกระดับจิตใจพุทธศาสนิกชน รวมทั้งสามารถใช้พื้นที่วัดในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดและรับฟังปัญหาของคนในชุมชน เชื่อว่าการทำ CSR รูปแบบนี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมไทยให้ดีขึ้นได้ในอนาคตจึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ ที่เห็นความสำคัญของการทำ CSR ในรูปแบบใหม่ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “วัดสร้างสุข” เพื่อรวมกันสร้างสังคมแห่งความสุข ด้วยกัน
ด้วยความขอบคุณจาก สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) โทรสาร : 02-7199481-3 E-mail : [email protected] สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณอภิชาติ ยิ้มแสง โทรศัพท์ : 02-717-3000 ต่อ 790 , http://www.facebook.com/wat.sangsuk นายอนุวรรตน์ ศิลาเรืองอำไพ นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์
-นท-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit