ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น พร้อมด้วย 42 องค์กรภาคี ระดมพลังคนไทยใน “วันต่อต้านคอร์รัปชั่น 2555 : รวมพลังเปลี่ยนประเทศไทย” รณรงค์แก้ปัญหาการโกงกินอย่างเป็นรูปธรรม ผลักดันให้การทุจริตเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้ ทุกภาคส่วนร่วมแสดงพลังและส่งสัญญาณพร้อมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง เชื่อมั่นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เปิดเผยว่า การจัดงานรวมพลังเปลี่ยนประเทศไทยในปีนี้ ต้องการให้ภาคธุรกิจรวมทั้งทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ก้าวพ้นจากปัญหาดังกล่าว ดังเช่นประเทศสิงคโปร์ ซึ่งนายลี กวน ยู อดีตผู้นำของประเทศเชื่อว่า พลังที่มีอานุภาพที่สุดที่จะต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น คือ ทัศนคติของสังคม ที่จะร่วมกันประณาม และสาปแช่งบุคคลที่กระทำผิด จนสามารถทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้
การปาฐกถาพิเศษโดย ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เรื่อง “ร่วมพลังภาคธุรกิจ ต่อต้านคอร์รัปชั่น” ระบุ คอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่สะสมและเรื้อรังมานาน แม้ทุกรัฐบาลจะถือเอาการป้องกันและปราบปรามเป็นนโยบายสำคัญ แสดงว่าความมุ่งมั่นเพียงอย่าวเดียวไม่สามารถเอาชนะปัญหาดังกล่าวได้ จำเป็นต้องมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง ทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ อาทิ ประเทศสิงคโปร์เคยมีปัญหาคอร์รัปชั่น แต่ด้วยความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของผู้นำ และภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งไม่ยอมรับการทุจริต ปัจจุบัน สิงคโปร์จึงติดอันดับประเทศปลอดคอร์รัปชั่น
การปาฐกถาพิเศษโดย คุณมีชัย วีระไวทยะ ได้นำเสนอประสบการณ์ตรงในหัวข้อเรื่อง “รวมพลังผลักดันการต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ” โดยการเน้นการปลูกฝังในกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่ยุคปลอดคอร์รัปชั่น ระบุต้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ และแผนต่อเนื่องระยะยาว รวมทั้งเน้นการปฏิรูปการศึกษา มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรมเยาวชน สอนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม คิดนอกกรอบ และไม่ยอมรับการโกงกิน เพราะเชื่อมั่นว่า เด็กในวันนี้จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันนี้ได้โดยไม่ต้องรออนาคต
สำหรับกิจกรรมการสัมมนากลุ่มย่อย ตัวแทนจากทุกภาคส่วนสำหรับกิจกรรมการสัมมนากลุ่มย่อย ได้รับความสนใจจากตัวแทนทุกภาคส่วนในการร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ภาคีฯ ได้รับข้อมูลเชิงลึกอย่างสร้างสรรค์ในทุกมิติที่เป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น สรุปประเด็นสำคัญจากแต่ละกลุ่ม ดังนี้
“รวมพลังภาคประชาชนสู้ด้วยเสียง” ตัวแทนจากกลุ่มภาคประชาชนและอาสาสมัคร ภายใต้หัวข้อ “หมาเฝ้าบ้าน” ที่ประชาชนทั่วประเทศสามารถสมัครเข้าร่วมเป็นหนึ่งในการสอดส่องดูแลปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศ และได้เชิญบุคคลที่ต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชั่นด้วยสิทธิและเสียงของตัวเอง รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ชี้ภาคประชาชนเป็นส่วนสำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชั่น เนื่องจากประชาชนเป็นคนส่วนมากของสังคม เมื่อรวมตัวกันย่อมเกิดเสียงดัง โดยต้องเริ่มจากทุกคนเห็นความสำคัญของการสู้ด้วยเสียง สื่อสารให้ชัดเจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการบอกต่อให้เกิดกระแสในวงกว้าง เพราะทุกคนมีสังคมเป็นของตนเอง เปรียบเสมือน Social Hub ที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราวคอร์รัปชั่นให้ทุกคนรู้เท่าทัน โดยหนึ่งในเครื่องมือสำคัญคือ Social Media ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวที่สื่อมวลชนไม่สามารถเผยแพร่ได้ รสนา โตสิตระกูล ระบุ ทุกคนต้องสำนึกในหน้าที่ว่าเราเป็นเจ้าของบ้าน เป็นเจ้าของประเทศ จึงต้องมีปากเสียง และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องกระทำให้เกิดผล ด้าน พล.ต.อ. วศิษฐ์ เดชกุญชร กล่าวว่า ภาคประชาชนไม่ควรหวังพึ่งพาแต่หน่วยงานราชการ เนื่องจากการคอร์รัปชั่นมีจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบมีจำนวนไม่เพียงพอ ดังนั้นทุกคนจึงต้องเชื่อมั่นว่าตนเองมีศํกยภาพ และช่วยกันตีแผ่การคอร์รัปชั่นเพื่อประเทศไทย
“รวมพลังภาคธุรกิจ ริเริ่ม Clean & Clear’ Standards for AEC” นักธุรกิจจากวงการต่างๆ แสดงความคิดเห็นสรุปได้ว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนคือ “การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร” โดยการจัดการกับปัญหาคอร์รัปชั่นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกรายมีความเชื่อถือต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ การลดปัญหาคอร์รัปชั่นยังส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรเอกชนในแง่ที่สามารถลดต้นทุนการดำเนินการ และสามารถหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ ซึ่งคอร์รัปชั่นไม่เพียงแค่ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะนำมาสู่การพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจึงต้องมองถึงการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม และเสียสละประโยชน์ส่วนตน ร่วมมือกันทำให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติ และพัฒนาประเทศร่วมกันได้
“จำนำพืชผลการเกษตร” ความคิดเห็นจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงสินค้าเกษตร สรุปประเด็นแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักคือ ด้านปัญหาที่เกิดจากนโยบายและส่วนของแนวทางการแก้ปัญหา โดยสำหรับปัญหาที่เกิดนั้น ได้แก่
1. “คำสั่งซื้อข้าวจากไทยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง” “ความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าเกษตรของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งลดลง” ...ซึ่งเป็นผลจากราคาส่งออกข้าวไทยที่แพงกว่าคู่แข่งสำคัญในตลาดโลกค่อนข้างมาก
2. รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว “กลไกการแข่งขันในตลาดค้าส่งข้าวเปลือกในท้องถิ่นถูกทำลาย” “เกิดการบิดเบือนราคาสินค้า”...การแทรกแซงราคาข้าวที่สูงกว่าราคาตลาดมาก ทำให้ข้าวเปลือกจำนวนมากไหลสู่มือรัฐบาล ส่งผลให้พ่อค้าท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขันกับรัฐบาลได้ ขณะที่ตลาดกลางข้าวเปลือกส่วนใหญ่ต้องปิดกิจการลง
3. เกิดการทุจริตทุกขั้นตอน จากที่ไม่ทุจริต/ต่อต้านไม่เข้าร่วมโครงการฯ แต่จำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ “ร่วมกันกิน ร่วมกันโกง”
4. ขาดทุน 9,000 บาทต่อตัน รับจำนำประมาณ 9-10 ล้านตัน การขาดทุนเบื้องต้น 80,000 ล้านบาท รวมทั้งหมด (ค่าดำเนินการ) ขาดทุน 120,000 ล้านบาท ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตและรั่วไหล ทั้งการรับจำนำ (รับเข้า) และระบายออก ตลอดจนกระบวนการจัดเก็บรักษา ซึ่งผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย มีผู้อื่นได้รับประโยชน์จากโครงการนี้
5. ถ้าดำเนินนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่องขาดทุนปีละ 100,000 ล้านบาท ผนวกกับนโยบายอื่นของรัฐจะส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะต่อ GDP ประมาณ 50-60% ของ GDP
ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาหรือแนวทางมีข้อเสนอแนะจากนักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากเอกชนและรัฐบาลดังนี้
1. คงโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรไว้ แต่กำหนดให้ราคารับจำนำต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาตลาด (ราคาที่เหมาะสม)
2. กำหนดปริมาณรับจำนำไม่ใช่รับจำนำทุกแมล็ด
3. รัฐบาลควรประกันส่วนต่างราคาสินค้าเกษตรแทนโครงการรับจำนำฯ จะทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้นมากกว่า และกลไกตลาดไม่ถูกบิดเบือน
“ตรวจแถวหมาเฝ้าบ้าน” การสะท้อนมุมมองของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ รวมทั้งจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถาบันอิศรา ชี้ปัญหการคอร์รัปชั่นในประเทศมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย 1,) เจตจำนงที่แน่วแน่ของผู้นำประเทศ
2.) ภาคประชาสังคม รวมทั้งสื่อมวลชนยังไม่เข้มแข็งพอ เนื่องจากวัฒนธรรมทางสังคมและการเมืองที่อ่อนแอ ทำให้เกิดการยอมๆ กันไป ชาชิน และเห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา โครงสร้างขององค์กรสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำเสนอข่าวของสื่อภาคสนาม สื่อส่วนกลางจะสามารถทำข่าวทุจริตคอร์รัปชั่นได้มากกว่า เนื่องจากสื่อท้องถิ่นมีข้อจำกัดในการนำเสนอข่าวค่อนข้างมาก เพราะมีความใกล้ชิดและต้องพึ่งพากันมาก อีกทั้งอาจเสี่ยงต่ออันตรายจากอิทธิพลของการเมืองท้องถิ่น ที่สำคัญ การต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะภาคประชาชนต้องมีความเข้มแข็ง และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ กล้าเปิดเผยอย่างจริงจัง สื่อมวลชนต้องมีการเรียนรู้เรื่องข้อกฎหมายใหม่ๆ และอาจต้องมีการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ๆ เช่น Social Media ซึ่งเป็นสื่อที่มีผลกระทบในวงกว้างมากในปัจจุบัน โดยการรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบและรอบด้าน การที่จะตีแผ่เรื่องทุจริตคอรณืรัปชั่น ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอมีหลักฐานที่แน่ชัด-นท-