ภาพข่าว: วิศวลาดกระบังสานความร่วมมือไทย-สิงคโปร์ก้าวไกล รองรับประชาคมอาเซียน(AEC)

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

ความร่วมมือด้านวิศวกรรมศาสตร์ไทย-สิงคโปร์ก้าวไกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งเป็นผู้นำงานวิจัยนวัตกรรมและการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ครบครันสาขาและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดย ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น(คนที่4จากซ้าย) รองคณบดี ร่วมกับ สถาบันโปลีเทคนิคแห่งสิงคโปร์ ที่มีชื่อเสียงในภูมิภาคเอเซีย ร่วมจัดงานวิชาการ เรื่อง “Engineering Education : Introduction to CDIO Framework” โดยมี มร.ลี เลก เซง และนางเฮเลน เลือง(คนที่1 และ 2 จากขวา) ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษ เพื่อร่วมพัฒนาแนวทางความก้าวหน้าในการเรียนการสอนวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใช้หลักการCDIOมิติใหม่การเรียนรู้วิศวกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เป้าหมายของการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์เป็นการเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการทำงาน ความพร้อมต่อการใช้ชีวิต และความพร้อมต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักการ CDIO นี้เป็นที่ยอมรับและใช้แพร่หลายในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ที่เปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ CDIO ประกอบด้วย - C– CONCEIVE ขั้นตอนแรกที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการของลูกค้า เปิดไอเดียใหม่ๆ พิจารณาเลือกสรรการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม วางแผนกลยุทธ์และลำดับขั้นตอน พัฒนาแนวคิดคอนเซ็ปท์ แผนเทคนิค และแผนธุรกิจ - D– DESIGN เป็นขั้นตอนการออกแบบดีไซน์ เขียนแบบดรออิ้งและข้อกำหนดว่าจะต้องทำสิ่งใดบ้าง - I – IMPLEMENT การพัฒนาถอดแบบดีไซน์ประยุกต์สู่รูปแบบผลิตภัณฑ์จริง รวมถึงการผลิต การทำโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์(Coding) การทดลอง และการตรวจสอบประเมินผล - O– OPERATE ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสะท้อนถึงคุณค่าที่ตั้งไว้ได้มากที่สุด การเข้าใช้งาน การใช้งาน และการออกจากระบบ ตลอดจนการบำรุงรักษา-กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง+พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวันนี้

สุดยอดศึกหุ่นยนต์อัจฉริยะ Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ปิดฉากสุดมันส์ เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพก้าวสู่เวทีโลก

การแข่งขัน Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ได้ปิดฉากลงอย่างสุดประทับใจ ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้น และลุ้นระทึกตลอดการประลองฝีมือของเยาวชนไทยผู้เปี่ยมด้วยนวัตกรรมและความสามารถด้านหุ่นยนต์และระบบปฏิบัติการอัจฉริยะ (ROS) เวทีแห่งนี้ ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยความร่วมมืออันแข็งแกร่งจากพันธมิตรชั้นนำด้านหุ่นยนต์อย่าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท ไอเมค

ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมส่งเสริ... ฟอร์ติเน็ตร่วมกับ CIPAT มอบไฟร์วอลล์ ให้กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง — ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซ...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. เดินหน้าสนับสนุนอุตสาหกรรมไทย ร่วมเปิด "ศูนย์บริการรัฐแบบเบ็ดเสร็จ" อมตะซิตี้ — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมเป็นหนึ่งใน...