การจำหน่ายพันธบัตรทยอยคืนเงินต้น (Amortized Bond) ครั้งแรกของกระทรวงการคลัง

กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยภายหลังพิธีมอบหนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลประเภท ทยอยชำระคืนเงินต้น (Amortized Bond) และพบปะกับนักลงทุนประเภทสถาบันระยะยาวกว่า 30 ราย ซึ่งได้แก่ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ สำนักงานประกัน สังคม กลุ่มบริษัทประกันชีวิต รวมทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่า สบน. ได้คัดเลือกให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารดอยซ์แบงก์ และธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นตัวแทนร่วม จำหน่าย Amortized Bond (Joint – Lead Managers for Amortized Bond) เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์รายละเอียดต่างๆ ให้กับนักลงทุนทั้งในและต่าง ประเทศ ประเมินความต้องการของ นักลงทุนและอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ตลอดจนร่วมกับ สบน. ในการกำหนดกลยุทธ์การจำหน่ายเพื่อสนับสนุนให้การออก Amortized Bond ประสบความสำเร็จสูงสุด Amortized Bond เป็นเครื่องมือระดมทุนชนิดใหม่ของรัฐบาล โดยมีจุดเด่นที่แตกต่างจากพันธบัตร Benchmark ปกติของรัฐบาล กล่าวคือ มีการทยอย ชำระคืนเงินต้นในสัดส่วนต่างๆ แทนที่จะเป็นการชำระคืนครั้งเดียว เมื่อสิ้นสุดอายุตราสารเหมือนพันธบัตร Benchmark ซึ่งในการนี้ สบน. ได้กำหนดรูป แบบของ Amortized Bond ของกระทรวงการคลังให้มีการทยอยชำระคืนเงินต้นในช่วง 5 ปีสุดท้ายของอายุตราสาร ซึ่งรูปแบบดังกล่าวช่วยให้รัฐบาลสามารถสร้าง Amortized Bond ให้มียอดคงค้างในระดับที่สูงมากได้ เช่น ในระดับ 100,000 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อส่งเสริมให้ตราสารมีสภาพคล่องสูงโดยไม่มีความเสี่ยง ด้าน การปรับโครงสร้างหนี้ (Roll-Over Risk) จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง สบน. กับผู้ร่วมตลาดในเบื้องต้นพบว่ากลุ่มบริษัทประกันชีวิตและกลุ่มนักลงทุนต่างชาติมีความสนใจที่ จะลงทุนใน Amortized Bond เป็นพิเศษ โดยสำหรับกลุ่มบริษัทประกันชีวิตพบว่ากระแสเงินสดรับ (Cash inflow) ที่เกิดจาก Amortized Bond สอดรับกับกระแส เงินสดจ่าย (Cash Outflow) ของบริษัทประกันชีวิตได้ดี นอกจากนั้น การทยอยชำระคืนเงินต้นของ Amortized Bond ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถ ลงทุนได้เมื่อตราสารหนี้ที่มีวงเงินขนาดใหญ่ครบกำหนด (Re-investment Risk) อีกด้วย และสำหรับกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ พบว่ามีความสนใจที่จะลงทุนใน ตราสารหนี้ของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Country) อย่างมาก ซึ่งรวมถึงพันธบัตร Benchmark และ Amortized Bond ที่ออกโดยกระทรวงการคลังด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Amortized Bond เป็นตราสารหนี้ชนิดใหม่ที่กระทรวงการคลังไม่เคยออกมาก่อน จึงไม่มีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และเนื่องจาก สบน. กำหนดให้ Amortized Bond มีอายุยาวถึง 25 ปี และมีการทยอยชำระคืนเงินต้นในช่วง 5 ปีสุดท้าย ปีละเท่าๆ กัน (ร้อยละ 20 ของเงินต้นต่อปี) สบน. จึง จำเป็นต้องทำการประชาสัมพันธ์รายละเอียดของ Amortized Bond ให้กับนักลงทุนให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีการเข้าถึงอย่างกว้างขวาง ดังนั้น สบน. จึง พิจารณาทำการออก Amortized Bond ด้วยวิธีการจำหน่าย ผ่านตัวแทนจำหน่าย (Syndication) นอกจากนั้น ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยังได้กล่าวถึงการออก Amortized Bond ว่า เป็นหนึ่งภารกิจในมาตรการที่ 3 ของการพัฒนา ตลาดตราสารหนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ Economic Growth / Distribution of Wealth ของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สบน. มีแผนที่จะออก พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี (Inflation Linked Bond) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรุ่นอายุ 10 ปี ในปี งบประมาณ 2554 โดยล่าสุด พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรุ่นอายุ 10 ปี มียอดคงค้างประมาณ 100,000 ล้านบาท และมี Turnover Ratio ที่ประมาณ 1 เท่า และเป็น ที่นิยมของ นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวใน ASEAN ที่ออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อได้สำเร็จ นอกจาก นี้ ปัจจุบัน สบน. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในการออกพันธบัตรสกุลเงินสหรัฐ (US Dollar Bond) และ Zero-Coupon Bond ด้วย ตาราง : เงื่อนไขและรูปแบบ (Feature) ของ Amortized Bond วงเงิน ไม่เกิน 30,000 บาท รุ่นอายุ 25 ปี กำหนดการออก ธันวาคม 2555 การชำระคืนเงินต้น ทยอยชำระคืนเงินต้นเท่ากันทุกปี (ร้อยละ 20 ของเงินต้นต่อปี) ในช่วง 5 ปี สุดท้าย โดยชำระคืนเงินต้น ณ สิ้นปีที่ 21 – 22 – 23 – 24 – 25 อัตราดอกเบี้ย คงที่ การจ่ายดอกเบี้ย 2 งวดต่อปี อนึ่ง เพื่อให้การพัฒนาตลาดตราสารหนี้เป็นไปในแนวทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถใช้ประโยชน์จากการแต่งตั้ง PD ได้สูงสุด สบน. จะมีการจัดประชุม “PDMO Dialogue with MOF Outright PD” กับ PD ทั้ง 13 ราย เป็นประจำทุกไตรมาส ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของแต่ ละไตรมาส เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ PD ในหัวข้อความต้องการระดมทุนและ แนวทางการออกตราสารหนี้รัฐบาลประจำไตรมาส แนวทางการพัฒนา เครื่องมือระดมทุนชนิดใหม่ของรัฐบาล ตลอดจนหัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนของรัฐบาลและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 02-271-7999 ต่อ 5816 -กภ-

ข่าวคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย+สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะวันนี้

คปภ. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมวันครอบครัว และการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยและการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมออก 2 ประกันภัยไมโครอินชัวรันส์รองรับ

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการ "กิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยการเดินทางและการส่งเสริมการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2568" เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เล็งเห็นความสำคัญของการเดินทางในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังคงเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง จึงได้พัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อมุ่งเน้นให้การประกันภัยสามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย