คณะพาณิชย์ฯ และ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชย์ ส.พ.บ.ธ. จัดสัมมนาวิชาการ

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--

“คณะพาณิชย์ฯ และ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชย์ ส.พ.บ.ธ.” จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Paving the Way to AEC 2015: Know it First, Grab it First! : เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: รู้ก่อน ทำก่อน ได้ก่อน” ในงาน “TU เอื้องฟ้าแฟร์ 2555” คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ส.พ.บ.ธ.) จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง Paving the Way to AEC 2015: Know it First, Grab it First! : เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: รู้ก่อน ทำก่อน ได้ก่อน สนับสนุนโดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) กล่าวเปิดงานสัมมนาครั้งนี้ พร้อมด้วย รศ.ดร.กุลภัทรา สิโรดม (คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นวิทยากร อาทิ ศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ (กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) , รองศาสตราจารย์วิทวัส รุ่งเรืองผล (หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) , คุณธีรินทร์ รัตนภิญโญวงศ์ (ผู้จัดการกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชนมุ่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่สังคม) ในด้านการให้ข้อมูลแก่วงการศึกษาไทย นักวิชาการ นักธุรกิจ ตลอดจนบุคคลทั่วไป เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สร้างประโยชน์ในแง่ของการเผยแพร่ความรู้อันทันสมัยที่ได้รับจากการวิจัยและสามารถนำไปต่อยอดการวิจัยอื่น ๆ ในอนาคต กอปรใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมพร้อมสร้างทักษะที่พึงมีสำหรับการแข่งขันในระดับภูมิภาคสืบไป ประเด็นสำคัญของการสัมมนาวิชาการ อาเซียนแข่งขัน ร่วมกันสร้างมูลค่าตอนที่ 1 การกำเนิดของมูลค่า โดย ศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ว่า “ถ้าเราปรองดองกัน มีแต่ชนะ ไม่มีแพ้ ………..” ไปเป็นหลักคิดเกี่ยวกับความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนตาม AEC Blueprint ว่า เมื่อมีความปรองดอง คือมีความร่วมมือกันจริงตามที่ตกลงกันแล้ว ประเทศสมาชิกย่อมได้รับประโยชน์ร่วมกัน คือ มีแต่ชนะทุกคน ไม่มีใครแพ้ จากนั้นจึงมุ่งประเด็นไปที่การสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของกิจการในประเทศสมาชิกที่สามารถเพิ่มขึ้นได้จากความร่วมมือ AEC ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนมูลค่าปัจจัยหนึ่งมีแหล่งกำเนิดจากการเปิดเสรีการเงินทำให้อัตราต้นทุนทางการเงินของกิจการลดลง และทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้นทันที ศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ อ้างอิงผลงานวิจัย ซึ่งท่านได้ออกแบบตัวแบบจำลอง“กระสอบทรายโมเดล”ไว้ และได้ใช้ตัวแบบจำลองนั้นไปวัดอัตราต้นทุนทางการเงินของประเทศสมาชิกที่สามารถลดลงได้ จากความร่วมมือจากนั้นใช้ข้อมูลจริงเกี่ยวกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกับผลการวิจัย เพื่อระบุอย่างเป็นรูปธรรมถึงระดับมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของกิจการที่สามารถเพิ่มขึ้นได้ ร่วมกันและพร้อมๆ กันในทุกประเทศ หากประเทศสมาชิกร่วมมือกันเปิดเสรีการเงิน AEC เต็มที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ การระบุมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ที่สามารถเพิ่มขึ้นได้จากการเปิดเสรีการเงิน ACE โดยศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของวงวิชาการไทยที่การระบุมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรม รองศาสตราจารย์วิทวัส รุ่งเรืองผล เมื่อวิเคราะห์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยข้อมูลพื้นฐานภาพรวมของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคจะพบว่า ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพในระดับแนวหน้าของภูมิภาคทั้งด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การลงทุน จำนวนประชากร การบริโภคในประเทศ ตลอดจนแผนการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่นแผนการพัฒนาระบบขนส่ง (logistics) ในระหว่างภูมิภาคของไทยตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวทั้งการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า ตลอดจนแผนการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะได้รับประโยชน์ในด้านนี้อย่างเด่นชัดจะได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้าและการท่องเที่ยว ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์และธุรกิจประเภทที่พักอาศัยต่าง ๆ นอกจากนี้ การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะมีการขยับขยายตัวอย่างมากสู่ต่างจังหวัดอันเนื่องจากการขนส่งตลอดจนการเปิดโอกาสบริเวณพรมแดนที่จะมีมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อมีการไหลเวียนของแรงงานที่มีทักษะและที่ไม่มีทักษะย่อมจะทำให้เกิดความต้องการทีอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับลูกค้าระดับกลางถึงล่างซึ่งยังมีช่องว่างทางการตลาดอยู่อีกมาก สำหรับปัจจัยที่น่าเป็นห่วงที่ต้องการส่งเสริมเพื่อป้องกันการรุกตลาดจากต่างประเทศจะมีที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน และการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในประเทศในด้านภาษาอังกฤษซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมากเมื่อเปิด AEC นอกจากนี้ประเด็นแนะนำที่สำคัญคือการร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งรัฐเอกชนและองค์กรอิสระในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคืบหน้าของแต่ละภาคส่วนเนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องในแต่ละธุรกิจเป็นอย่างมากซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม โดยสรุปแล้วนั้น มีความเห็นว่าพื้นฐานของประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง และเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างมากในภูมิภาคอาเซียนนี้ มีแผนการณ์พัฒนาที่น่าสนใจอีกเป็นจำนวนมากในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโลจิสติกส์ ทั้งด้วยราคาที่ยังไม่แพงเลยหากเทียบกับมาเลเซีย เวียดนามหรือสิงค์โปร์ ดังนั้น การที่จะบุกตลาดต่างประเทศอาจไม่ได้เป็นภาคบังคับเมื่อเปิด AEC เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในต่างจังหวัดยังมีโอกาสอีกมากในการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่สำคัญที่ไม่อาจละเลยได้คือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่จะเข้ามามีผลต่อการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างเช่น การเมือง เศรษฐกิจโลก เป็นต้น ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ติดปีกธุรกิจบริการสู่ตลาดแห่งความต่างของอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการรวมตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 10 มีประชาคมที่มีพื้นที่กว่า 4.4 ล้านตารางกิโลเมตร ประชากรกว่า 680 ล้านคน การคิดว่าอาเซียนเราเหมือนกัน เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ผิดพลาดที่สุด เราอาจจะเหมือนกันในภาพรวมและแนวการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ แต่ในรายละเอียดเราแตกต่างกันมาก จนมักต้องย้ำเสมอว่า ASEAN is not ASEAN การทำความเข้าใจรสนิยมการบริโภคที่แตกต่าง สร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มอาเซียน เริ่มจากแนวคิด Customer Centric Service Design คือ การทำความเข้าใจ Customer Value ซึ่งคุณค่านี้ก็สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักตามการพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและระดับรายได้ของกลุ่มลูกค้า ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้กว้างๆของคุณค่าบริการที่กลุ่มลูกค้าเหล่านั้นต้องการ นั่นคือ (1) Function (2) Quality (3) Feature และ (4) Experience จากนั้น เจาะลึกแนวการตั้งรับ และกลยุทธ์เชิงรุกกลุ่มธุรกิจบริการที่มีศักยภาพของไทยในตลาดอาเซียนที่มีพลวัตรสูง เช่น กลุ่มบริการการท่องเที่ยว กลุ่มการศึกษา กลุ่มบริการความงาม ธีรินทร์ รัตนภิญโญวงศ์ ผู้จัดการกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สภาวะการแข่งขันของธุรกิจจะเป็นอย่างไรหลังจากการเปิดเสรีอาเซียน สหภาพยุโรปเป็นกรณีศึกษาที่ดีของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพราะตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน คนทั่วโลกได้เห็นถึงตั้งแต่ความสำเร็จทั้งในเชิงความแข็งแกร่งในภูมิภาค และบทบาทที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก จนถึงปัญหาวิกฤติหนี้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีบางสำนักเชื่อว่าระบบเงินสกุลเดียวกันเป็นหนึ่งในสาเหตุ ซึ่งภูมิภาคอาเซียนเองก็ได้เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวและพร้อมปรับใช้กับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือ AEC ดังจะเห็นถึงแนวทางที่ชัดเจนแล้วว่า เราคงจะไม่ใช้เงินสกุลเดียวร่วมกันแบบเงินยูโรในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน แม้จะเป็นแม่แบบที่ดี แต่ AEC ก็ต่างจากสหภาพยุโรปตั้งแต่รูปแบบการรวมตัว จนถึงความลึกและลักษณะแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการรวมกลุ่ม ที่จะทำให้อาเซียนคงไม่เหมือนยุโรปทีเดียว ในส่วนของแนวทางการรวมตัวนั้น สภาพยุโรปมีลักษณะค่อนข้างบังคับ ในขณะที่อาเซียนอาศัยความร่วมมือเป็นหลัก ในขณะที่ขอบเขตและลักษณะต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเชิงตลาดหรือธรรมชาติของธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการรวมกลุ่มประเทศมากกว่า เช่นการค้าระหว่างประเทศในยุโรปที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูงที่ 55% ตั้งแต่ก่อนรวมกลุ่มในขณะที่ของอาเซียนอยู่ที่ 25% ผลที่ตามมาก็คือความรวดเร็วในการดำเนินการที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าความลึกของการรวมตัวจะอยู่ที่ระดับไหน สิ่งหนึ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญเหมือนกันจากการเปิดเสรีก็คือการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัทชั้นนำในยุโรปอาจจะสะท้อนให้เห็นสิ่งที่อาจจจะเกิดขึ้นในทำนองเดียวกันในอาเซียน โดยบริษัทชั้นนำในยุโรปหันมาเน้นธุรกิจหลักที่ถนัดมากขึ้นจากเดิมที่ทำธุรกิจหลายๆ สาขา และขยายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพิ่มขึ้น นอกจากยังเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry cluster) ซึ่งส่งผลให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านในแต่ละภูมิภาคของยุโรป การรวมกลุ่มของภูมิภาคอาเซียนก็ได้เริ่มมีการพัฒนาไปในแนวทางที่เกิดขึ้นกับยุโรปแล้ว ประเทศมาเลเซียได้เริ่มต้นการขยายการลงทุนไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนไปตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมาแล้ว ที่เห็นได้ชัดคือด้านการเงินและการธนาคาร สำหรับในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ๆ ในประเทศไทยก็เริ่มมีความคึกคักในการขยายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศมากขึ้นในปีนี้ ในขณะเดียวกันสภาอุตสาหกรรม ก็ได้เริ่มวางโครงสร้างเพื่อขับเคลื่อนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทยแล้วเช่นกัน ธุรกิจในประเทศไทยควรเร่งปรับตัวในช่วงเวลาที่เหลือในการเสาะหา core competency ของตนเอง ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งขั้นตอนการใช้ประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึง ศึกษาความหลากหลายของตลาดอาเซียน เพื่อสามารถพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการในแต่ละกลุ่มได้ เพราะโลกธุรกิจปัจจุบัน อำนาจต่อรองนั้นอยู่กับผู้บริโภค และความแตกต่างของผู้บริโภคส่งผลให้ธุรกิจต้องมีการจัดเซกเมนต์ตลาดที่ชัดเจนมากขึ้น การมีสินค้าและบริการที่ไม่หลากหลายอาจจะกลายเป็นความเสียเปรียบในเวที AEC -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี+สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชย์วันนี้

แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แว่นท็อปเจริญ บริษัท ร่วมเจริญพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต ผลักดันการศึกษาด้านธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง โดยยินดีให้การต้อนรับนักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน

CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO... CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-MIT LGO หลักสูตรปริญญาโทสุดล้ำ — CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-MIT LGO ห...

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการยกย่องให้เป... โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คว้ารางวัล Thailand's Top Corporate Brands 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการยกย่องให้เป็น Thailand's Top Cor...

คาราบาวกรุ๊ป รับรางวัล Thailand's Top Corporate Brands 2024 หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้รับการประกาศเป็นองค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของประเทศไทยประจำปี 2567 หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ด้วยมูลค่า 89,115 ล้านบาท ในงาน ASEAN and...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบรางวัล ASEAN and... จุฬาฯ เผยผลวิจัย พร้อมมอบรางวัล ASEAN and Thailand's Top Corporate Brands 2024 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบรางวัล ASEAN and Thailand's Top Corporate Brands...

"สารัชถ์ รัตนาวะดี" แห่งอาณาจักรกัลฟ์ แชม... สารัชถ์ รัตนาวะดี แชมป์เศรษฐีหุ้น 2567 รวย 2.4 แสนล้านบาท — "สารัชถ์ รัตนาวะดี" แห่งอาณาจักรกัลฟ์ แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 2567 รวย 2.4 แสนล้านบาท ครองแชมป์ 6...