กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--OutDoor PR Plus
เด็กไทย หัวใจนักเต้น...ร่วมสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทยในเวทีการแข่งขัน “JTB THAI YOSAKOI FESTIVAL 2012” ครั้งที่ 4 (เจทีบี ไทย โยซาโกอิ เฟสติวัล 2012) ต้นตำหรับการเต้นรำพื้นบ้านของชาวประมง จังหวัดฮอกไกโด ชูวัฒนธรรมหวังกระตุ้นการท่องเที่ยวญี่ปุ่น-ไทย พร้อมสร้างความสุข ฟื้นความแข็งแกร่งหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้ง 2 ประเทศในปีที่ผ่านมา
“โยซาโกอิ โซรัน” หรือ “Yosakoi Soran” เป็นเทศกาลรื่นเริง สนุกสนานของเมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นกิจกรรมที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงในญี่ปุ่นมายาวนานกว่า20 ปี มีการเต้นรำที่เน้นการออกท่าทางที่เต็มไปด้วยพลัง ความฮึกเฮิมความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา ด้วยเพลง“โซรัน บูชิ”ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ร้องรำกันในหมู่ชาวประมง ขณะกำลังหาปลา ผู้เต้นจะสั่นเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “นารุโกะ”ประกอบกับท่วงท่าที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมง หรือวัฒนธรรมอื่นๆ อาทิ ท่วงท่าการดึงเรือ การจับปลา สายน้ำ การแข่งขันเต้นรำ“โยซาโกอิ โซรัน”ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี บริษัท JTB Western Japan Corporation, ฝ่าย Overseas Group Tour และ บริษัท เจทีบี(ประเทศไทย) จำกัดโดยการแข่งขันฯ ครั้งนี้ตื่นตาตื่นใจกับไฮไลท์แชมป์ 7 สมัยต้นตำหรับจากฮอกไกโด ทีม“ฮิรางิชิเทนจิน”พร้อมด้วย ทีมชิโอยาและทีมคามาเอะจากประเทศญี่ปุ่น มาร่วมโชว์ในเวทีนี้ด้วย
สำหรับผลการแข่งขัน ปรากฏว่า“ทีมสตรีวิทยา-สิงห์” คว้ารางวัลชนะเลิศจาก การแข่งขัน “JTB THAI YOSAKOI FESTIVAL 2012” ครั้งที่ 4ด้วยสมาชิกทั้งหมด 26 คน โดยตัวแทนของทีมบอกว่า “เราใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ตัดสินใจร่วมการแข่งขัน เป็นเพราะความสนใจในวัฒนธรรมและประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งการสนับสนุนจากผู้ปกครองของสมาชิกในการช่วยเหลือเรื่องชุด และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง พวกเราจึงตัดสินใจลงประกวด โดยหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตศึกษาคลิปเทศกาลฯ ของญี่ปุ่น และสอบถามจากผู้รู้เพิ่มเติม
ตัวแทนจากทีมสตรีวิทยา-สิงห์ กล่าวว่า ความสำเร็จครั้งนี้ มาจากความชำนาญด้านยิมนาสติกและการเต้นแจ๊สของทีม รวมถึงแรงสนับสนุนจากผู้ปกครองทำให้ ทีมสตรีวิทยา-สิงห์ โชว์การเต้นรำโยซาโกอิ โซรัน ได้อย่างน่าสนใจ โดยเปิดตัวด้วยชุดนินจาที่โชว์ลีลาตีลังกา วิชาตัวเบา ปล่อยลูกดอกตามแบบฉบับนินจาญี่ปุ่น ชุดกิมโมโน ฉากเทศกาลซากุระ ภูเขาไฟฟูจิ วัฒนธรรมการเคาะไม้ และการจับปลาของชาวประมง ประกอบเพลงพื้นบ้านโซรัน บูชิและการเขย่านารุโกะอย่างถูกวิธีเพื่อให้เกิดเสียงดัง ได้อย่างลงตัว พร้อมกันนี้ยังมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยด้วยการสร้างสรรค์ท่าเต้นในรูปแบบโมเดิร์น อย่างการละเล่นมอญซ่อนผ้า งูกินหาง การใช้พัดจากเชียงใหม่สื่อความหมายของพระอาทิตย์
“เรารู้สึกดีใจตื่นเต้นและคุ้มค่ามาก ที่ความพยายาม อดทน ตั้งใจ แบ่งเวลามาฝึกซ้อม ทำให้พวกเราประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศ และนี่ถือเป็นเวทีแรกของหลายสมาชิกตัวเล็กในทีมด้วย เราได้แบ่งเวลาไปเรียน อ่านหนังสือ เล่น เต้น ทำกิจกรรม ควบคู่กันได้โดยไม่เสียการเรียน ทั้งยังทำให้สมองปลอดโปร่ง มีสติ ได้ฝึกวินัยให้กับตัวเอง ฝึกความอดทน มีความกล้าแสดงออก มีน้ำใจนักกีฬาและอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ความสามัคคี ในหมู่คณะ เพราะการเต้นรำ “โยซาโกอิ โซรัน” เป็นการเต้นที่ไม่ได้จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุ สามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่เด็กเล็ก ในปีหน้าเราจะซ้อมให้มากกว่านี้ เพื่อพัฒนาการแสดงให้ดีกว่าเดิม และหวังว่าจะได้เจอเพื่อนที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ”
สำหรับกติกาในการแข่งขันเต้นรำ “โยซาโกอิโซรัน”คือ แต่ละทีมต้องมีสมาชิก 15 – 40 คน บังคับใช้เครื่องดนตรี “นารุโกะ” และเพลง “โซรัน บูชิ” ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านที่ใช้ร้อง ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ธง พัด ร่ม ฉาก สามารถประกอบการแสดงได้ตามความเหมาะสม เครื่องแต่งกายควรเป็นธีมเดียวกัน และเกณฑ์การให้คะแนน พิจารณาจากความพร้อมเพียงในจังหวะการเต้น, เครื่องแต่งกาย, ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบท่าเต้น ตลอดจนบุคลิกภาพ และการเอ็นเตอร์เทนคนดู
ด้าน นายซากาโมโต ซาโตเอกิ ผู้จัดการอาวุโสบริษัท JTB Western Japan Corporation, ฝ่าย Overseas Group Tour กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเต้นรำ“โยซาโกอิโซรัน” ในประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากจังหวัดฮอกไกโด ในการประชาสัมพันธ์ในจังหวัดและส่วนกลางด้วยความพยายามให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่นและไทย ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 7 ทีม 300 กว่าชีวิต ถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากยังเป็นกิจกรรมที่ใหม่สำหรับคนไทย ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ในการเชิญทีมจากประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันเต้นรำ “โยซาโกอิ โซรัน” ที่จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น หากมีผู้สนใจการแข่งขันดังกล่าวฯ มากขึ้น
“อยากให้เทศกาลเต้นรำ“โยซาโกอิโซรัน” ซึ่งเป็นเทศกาลเต้นรำที่เต็มไปด้วยพลัง ความฮึกเฮิมความสุข ความสนุกสนาน เรียกพลังของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นกลับคืนมา หลังภัยพิบัติจากไป นอกจากนั้นยังเป็นกิจกรรมที่จะสานสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศได้อีกด้วย การเต้นรำโยซาโกอิ โซรัน ถือเป็นกิจกรรมครอบครัว ที่ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดเพศ ขอเชิญชวนคนไทยทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมแห่งพลังและความสุข เทศกาลเต้นรำโยซาโกอิ โซรัน ประเทศไทยในครั้งหน้าด้วย” นายซากาโมโต ซาโตเอกิ กล่าว
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit