ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดการณ์ว่าตลาดเฮทธ์แคร์ (Healthcare) ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยคิดเป็นร้อยละ 34.6 ของตลาดเฮลธ์แคร์ทั่วโลก
จากผลการวิจัยของ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกพบว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 150 ในระหว่างปี 2553-2563 โดยในปี 2563 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะโตขึ้นร้อยละ 9.2 (CAGR) และมีมูลค่าประมาณ 2927 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพของคนไทยนั้นถูกคาดว่าจะสูงถึง 25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 8.4 (CAGR)
นาง เรนู บุลเลอร์ Vice President, Healthcare, Asia Pacific บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้กล่าวในงานสัมมนา “Frost & Sullivan Thailand Outlook 2012: Chemicals, Materials & Healthcare ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัล เวิลด์ ซึ่งเป็นการสัมมนาจัดให้มีขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงในวงการเท่านั้น ว่า ในส่วนของประเทศไทย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย โดยมีมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้ได้ถึงสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ ฟรอสต์ฯ ยังคาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทยคาดว่าจะสูงถึง 0.4 ล้านล้านบาท ในปี 2558
“ปัจจุบันความต้องการในการรักษาในสถานพยาบาลเอกชนกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทยเนื่องจากความล่าช้าในการให้บริการของสถานพยาบาลภาครัฐ ประกอบกับการขยายตัวของตลาดประกันสุขภาพ และ การท่องเที่ยวควบกับการบริการด้านสุขภาพ (Medical Tourism) ซึ่งนับว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับโรงพยาบาลเอกชน” นาง เรนู บุลเลอร์ กล่าว
“การรับรองมาตรฐานจากนานาชาติ อาทิ JCI (Joint Commision International) กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงพยาบาลที่มีเป้าหมายที่จะเข้าร่วมการท่องเที่ยวควบกับการบริการด้านสุขภาพ (Medical Tourism) เนื่องจากความเข้มงวดในการปฎิบัติงานและมาตรฐานการบริการที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของโรงพยาบาลในตลาดได้”
ในช่วงปี 2548 - 2554 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับการรับรองจาก JCI ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากโดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมของการบริการในโรงพยาบาลเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่มาใช้บริการในแง่ของ ความคาดหวังที่มีต่อโรงพยาบาล ระดับการศึกษา และ ฐานรายได้ของผู้ป่วย เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่าตลาดเฮลธ์แคร์ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังขึ้นอยู่กับการขยายตัวของชนชั้นกลางและการเปลี่ยนแปลงวิถีในการดูแลสุขภาพ ตลอดจนกลยุทธ์ทางการตลาดของโรงพยาบาล
นอกจากนี้ นาง เรนู บุลเลอร์ ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เราคาดการณ์ว่าประชากรในภูมิภาคเอเชียจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 4.5 พันล้านคนภายในปี 2593 โดยคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรโลก ซึ่งขณะนี้ ประมาณ 4.8 ล้านครัวเรือนในเอเชียมีรายได้สูงกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และคาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 3-5 สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเติบโตอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง มีให้เห็นในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะทำให้เกิดเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นและทำให้เกิดความต้องการในการบริโภคสูงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงส่งผลให้เกิดความต้องการการบริการด้านสุขภาพต่างๆ เพิ่มขึ้นตามมา
นางเรนู บุลเลอร์ ยังได้กล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ ด้านสุขภาพบนโทรศัพท์มือถือว่า “ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพยังโตเร็วเป็นอันดับ 3 ของแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่มีในโทรศัพท์ระบบไอโฟนและแอนดรอยด์ ปัจจุบัน แอปเปิ้ลสโตร์มีประมาณ 17,000 แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆด้านสุขภาพบนโทรศัพท์มือถือ อาทิ การวัดความดันโลหิตบนไอโฟน ในอีกไม่นานนี้อย่างแน่นอน”
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
Sasikarn Watt
Corporate Communications – Thailand
Phone: +662 637 7414
Email:
[email protected]
-นท-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net