คอมพิวเตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำเชิงพาณิชย์เครื่องแรกของไอบีเอ็มช่วยประหยัดไฟ 40%

มิวนิค--19 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์


SuperMUC ของศูนย์ฯ Leibniz ได้รับการยอมรับว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในยุโรป

ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Leibniz (Leibniz Supercomputing Centre - LRZ) ร่วมกับไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เปิดตัวซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำเชิงพาณิชย์เครื่องแรก ซึ่งเป็นระบบที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสูง ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยนักวิจัยและสถาบันอุตสาหกรรมต่างๆทั่วทั้งยุโรปตรวจสอบและแก้ปัญหาความท้าทายทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างความหวาดหวั่นที่สุดในโลก

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20090416/IBMLOGO)

ยูทูบ: http://youtu.be/LzTedSh51Tw

ภาพ Flickr: http://flickr.com/gp/ibm_research_zurich/m89ZD2/

ไทม์ไลน์: IBM’s History and Future in Water Cooled Computing (1966-2060)

คอมพิวเตอร์ SuperMUC ใหม่ล่าสุดของ LRZ ใช้เซิร์ฟเวอร์ IBM System x iDataPlex Direct Water Cooled dx360 M4 ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยความจำกว่า 150,000 ชุดเพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดถึง 3 petaflop หรือเทียบเท่ากับประสิทธิภาพการทำงานของพีซีมากกว่า 110,000 เครื่องรวมกัน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจะนึกถึงภาพผู้คนถึง 3 พันล้านคนที่ใช้เครื่องคิดเลขแบบพกพาทำงาน 1 ล้านครั้งต่อวินาทีจึงจะเทียบเท่ากับประสิทธิภาพของ SuperMUC นอกจากนี้ การคิดค้นเทคโนโลยีปฏิวัติระบบระบายความร้อนด้วยน้ำร้อนของไอบีเอ็มยังช่วยให้ระบบสามารถลดขนาดของเครื่องลงได้ 10 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดได้มากขึ้น ในขณะที่ประหยัดไฟมากขึ้นไปอีก 40% เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่ระบายความร้อนด้วยพัดลม

“สถาบันต่างๆ ของรัฐบาลทั่วประเทศเยอรมนีจำเป็นต้องจัดหาพลังงานอย่างพอเพียง 100% สำหรับการใช้ไฟตลอดทั้งปีนี้” ศจ.ดร.อาร์นด โบเดอ ประธานคณะกรรมการของศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Leibniz กล่าว “SuperMUC จะช่วยให้เราสามารถดำเนินการตามภารกิจต่อไปได้ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้กับชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ได้ใช้ระบบที่ดีที่สุดสำหรับการทดสอบทฤษฎีต่างๆ ทดลองออกแบบ และทำนายผลได้อย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน”

ผู้บุกเบิกระบบเทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยน้ำ

มากถึง 50% ของการใช้พลังงานและการปลดปล่อยคาร์บอนโดยเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลที่ระบายความร้อนโดยพัดลมในทุกวันนี้ไม่ได้มาจากคอมพิวเตอร์ แต่มาจากการใช้ไฟของระบบระบายความร้อนที่จำเป็น นักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาของไอบีเอ็มเลือกที่จะแก้ปัญหาความท้าทายนี้ด้วยแนวความคิดนวัตกรรมระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งช่วยขจัดความจำเป็นในการใช้ระบบพัดลมระบายความร้อนในศูนย์ข้อมูล เทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยน้ำของไอบีเอ็มสามารถทำความเย็นให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบได้โดยตรง เช่น โปรเซสเซอร์ และ โมดูลหน่วยความจำ ด้วยน้ำยาหล่อเย็นที่อาจมีอุณหภูมิสูงสุด 113 องศาฟาห์เรนไฮต์ หรือ 45 องศาเซลเซียส

ดร.บรูโน มิเชล ผู้จัดการฝ่าย Advanced Thermal Packaging ของสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม กล่าวว่า “ขณะที่เราเดินหน้านำเสนอวิสัยทัศน์ระยะยาวเรื่องการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ที่ศูนย์ข้อมูลของเรา เราอาจจะประสบความสำเร็จในการลดขนาดของ SuperMUC ลงได้หนึ่งล้านเท่า ในอนาคต SuperMUC อาจจะมีขนาดเล็กลงเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบันมาก”

SuperMUC มีศักยภาพในการระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนได้ดีกว่าพัดลมถึง 4,000 เท่า และมีโปรเซสเซอร์ประหยัดพลังงาน Xeon ของอินเทลจำนวน 18,000 ตัว นอกจากจะช่วยให้เกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์แล้ว การรวมระบบระบายความร้อนด้วยน้ำเข้ากับซอฟต์แวร์การจัดการะบบที่ยืดหยุ่นสำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆของไอบีเอ็ม ยังช่วยให้สามารถนำพลังงานกลับมาใช้ในการให้ความร้อนกับอาคารต่างๆ ของศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Leiniz ในช่วงฤดูหนาว ช่วยประหยัดเงินได้ถึง 1 ล้านยูโร (1.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุดในยุโรป

ผลการจัดอันดับ TOP500 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกที่ประกาศในวันนี้ ระบุว่า SuperMUC เป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในยุโรป ประสิทธิภาพการทำงานดังกล่าวสามารถช่วยในงานวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่จำลองการไหลเวียนของเลือดในหัวใจเทียม การคิดค้นเครื่องบินที่เงียบลง ไปจนถึงการค้นพบใหม่ๆทางธรณีฟิสิกส์ ซึ่งรวมถึงการศึกษาแผ่นดินไหว คอมพิวเตอร์ SuperMUC ยังเชื่อมต่อกับระบบกราฟิกที่ทรงพลัง ซึ่งรวมไปถึงเพาเวอร์วอลล์สามมิติระดับ 4K ขนาดใหญ่ และสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบ 5 ด้าน หรือ CAVE สำหรับสร้างภาพจากข้อมูล 3 มิติภาคสนาม ซึ่งรวมไปถึงธรณีศาสตร์ ดาราศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์

LRZ เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์สำหรับมหาวิทยาลัยต่างๆในมิวนิคและสำหรับสถาบันวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์บาวาเรียน (Bavarian Academy of Sciences and Humanities) LRZ เป็นผู้ดูแลโครงข่ายข้อมูลวิทยาศาสตร์ในมิวนิค ให้บริการด้านข้อมูลที่หลากหลาย และให้บริการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ระดับไฮเอนด์สำหรับชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วยุโรป

คอมพิวเตอร์ SuperMUC ใหม่ของศูนย์ LRZ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเป็นระบบหนึ่งที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง Partnership for Advance Computing Program (PRACE) สำหรับนักวิจัยและสถาบันอุตสาหกรรมทั่วทั้งยุโรป คอมพิวเตอร์ SuperMUC ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนีและแคว้นบาวาเรีย และมีกำหนดเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Leiniz ในเมืองการ์ชิง ประเทศเยอรมนี

ติดต่อ

ไอบีเอ็ม (ยุโรป)

Hans-Juergen Rehm

โทร: +49 7034 15 1887

อีเมล: [email protected]

Chris Sciacca

โทร: +49 7034 15 1887

อีเมล: [email protected]

Grit Abe

โทร: +41 44 724 8060

อีเมล: [email protected]

ไอบีเอ็ม (สหรัฐ)

Jim Smith

โทร: 1-203-232-7000

อีเมล: [email protected]

Joanna Brewer

โทร: 1-415-545-2270

อีเมล: [email protected]

-ปม-

ข่าวสถาบันอุตสาหกรรม+คอมพิวเตอร์วันนี้

DPU จับมือ Chinese Plus วิทยาลัยอาชีวศึกษาอีคอมเมิร์ซกุ้ยโจว และบ. กุ้ยโจว เฉียนเยว่โยวผิ่น

DPU จับมือ Chinese Plus วิทยาลัยอาชีวศึกษาอีคอมเมิร์ซกุ้ยโจว และบ. กุ้ยโจว เฉียนเยว่โยวผิ่น เปิดโครงการ " Guijiang Workshop" และ "สถาบันอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจีน-ไทย" เสริมทักษะ นศ.จีน-ไทย ปั้นนักไลฟ์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ Chinese Plus วิทยาลัยอาชีวศึกษาอีคอมเมิร์ซกุ้ยโจว ประเทศจีน และบริษัทกุ้ยโจว เฉียนเยว่โยวผิ่น อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์พอร์ต อีคอมเมิร์ซ จำกัด ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) เปิดโครงการ "Guijiang Workshop" และ "สถาบันอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซข้ามพรม

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา Chen Chi-... เมืองเกาสงตั้งเป้าเป็นประตูหลักตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ด้วยการสร้างเมืองอัจฉริยะ 5G — เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา Chen Chi-Mai นายกเทศมนตรีเมืองเกาสง ประ...

ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยา... มทร.อีสาน โพล ชี้เป้ายินดีเปิดสนามบินโคราช — ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า มทร.อีสาน ได้ดำเนินการ...

System Integration Promotion Alliance (SI... ไต้หวัน-ไทย ผนึกกำลังพัฒนาเมืองอัจฉริยะ — System Integration Promotion Alliance (SIPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสำนักงานการพัฒนาอุตสาหกรรม (IDB) สั...

เพื่อร่วมพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหม่ของสำนั... ASVDA นำทัพบริษัทสตาร์ทอัพไต้หวันร่วมงาน Startup Thailand ขยายโอกาสทางธุรกิจตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ — เพื่อร่วมพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหม่ของสำนักงานเศรษฐกิจแล...