พลังงานทางเลือกใหม่จาก “ใบหญ้า”

กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--สวทช.

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จากโครงการ JSTP ศึกษาวิธีเปลี่ยน “หญ้า” วัชพืชไร้ค่า เป็น“เอทานอล” พลังงานทดแทน พบวิธีการย่อยเซลลูโลสในหญ้าด้วยเอนไซม์ (Enzymatic Hydrolysis) ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเอทานอลสูง หวังเป็นวัตถุดิบทางเลือกใหม่ แทนมันสำปะหลังและอ้อยที่อาจขาดแคลนในอนาคต นางสาวเทียมแข มโนวรกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี และเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project : JSTP) สวทช. เปิดเผยว่า จากภาวะปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทำให้มีการนำพืชหลายชนิดมาใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงานทดแทน เช่น การนำมันสำปะหลังและอ้อย มาผลิตแก๊สโซฮอล์ หรือปาล์มน้ำมันมาผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น แต่ด้วยพืชเหล่านี้เป็นทั้งพืชอาหารและพืชเศรษฐกิจ ในระยะยาวจึงอาจส่งผลให้ผลผลิตขาดแคลนอย่างมากในท้องตลาด และทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นตามลำดับ “จากการศึกษาพบว่า เอทานอล เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตแก๊สโซฮอล์ ที่ผลิตได้จากพืชพลังงาน เช่นมันสำปะหลัง อ้อย โดยพืชกลุ่มนี้จะมีการสะสมแป้งและน้ำตาลอยู่ภายใน ซึ่งแป้งที่เกิดจากการเรียงตัวกันของโมเลกุลน้ำตาลเหล่านี้ เมื่อนำไปผ่านกระบวนการหมักจะทำได้ผลิตภัณฑ์ คือ เอทานอล ขณะเดียวกันวัชพืช เช่น หญ้าก็มีเซลลูโลสที่เกิดจากการจัดเรียงตัวกันของน้ำตาลเช่นเดียวกับแป้ง ดังนั้น หญ้า ก็น่าจะนำมาใช้ผลิตเอทานอลได้ จึงเป็นแรงจูงใจในการศึกษา “พลังงานทางเลือกใหม่จากใบหญ้า” เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงาน โดยมี ดร.ชัชวิน เพชรเลิศ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” นางสาวเทียมแข กล่าวว่า ในกระบวนการผลิตเอทานอลจากวัชพืช ต้องเริ่มต้นจากการนำวัชพืชไปผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส (การย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) เพื่อให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีหมู่คาร์บอนิลซึ่งถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย เป็นน้ำตาลที่ยีสต์สามารถนำไปใช้ในกระบวนการหมัก) ก่อน จากนั้นจึงนำน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้ไปเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการหมักเพื่อให้ได้เอทานอล ทั้งนี้กระบวนการไฮโดรซิสนั้นทำได้สองวิธี คือ ไฮโดรไลซ์ด้วยกรด (Acid Hydrolysis) และไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์ (Enzymatic Hydrolysis) ในงานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการไฮโดรไลซิสของวัชพืชเพื่อให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์มากที่สุด โดยวัชพืชที่นำมาใช้ศึกษา คือ ธูปฤๅษี หญ้าขน และหญ้าชันกาศ “ผลการทดลอง พบว่า วิธีการไฮโดรไลซิสวัชพืชด้วยเอนไซม์นั้น จะให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงกว่าการไฮโดรไลซิสด้วยสารละลายกรด โดยการไฮโดรไลซิสวัชพืชด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 10% ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงที่สุด และจากการทดสอบในวัชพืชทั้งสามชนิดนั้น พบว่า หญ้าขนเป็น วัชพืชที่ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุด รองลงมาคือ หญ้าชันกาศและธูปฤๅษี ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้ต่อปริมาณวัชพืชที่ใช้นั้นก็มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการหมักเอทานอลได้ อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าหากเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์จากหญ้ากับพืชพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ฯลฯ ในสัดส่วนที่เท่ากันจะพบว่าพืชพลังงานให้ปริมาณน้ำตาลที่มากกว่า แต่ “หญ้า” ก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตเอทานอลที่น่าสนใจ เพื่อทดแทนมันสำปะหลังและอ้อยที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนและอาจมีราคาแพงมากขึ้นในอนาคต ซึ่งหญ้าที่นำมาใช้ทดลองครั้งนี้ เป็นหญ้าที่พบได้ทั่วไป มีปริมาณมาก จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำมาใช้ในการผลิตพลังงาน ที่สำคัญยังถือเป็นการนำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า ดีกว่าการตัดหรือเผาทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์” นางสาวเทียมแข กล่าวทิ้งท้าย ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. โทร 0-2564-7000 ต่อ 71185-6 ,6112 หรือ [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+โรงเรียนชลราษฎรอำรุงวันนี้

สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU

(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ และรับรองพื้นที่ตามระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัด

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูน... TCMA ร่วม Thailand CCUS สู่เป้าหมาย Net Zero 2050 — นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufacturers Association: TCMA) ร...