คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ผนึกกำลังพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หารือภาคธุรกิจประกันภัย วางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็น การเร่งด่วน โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี มุ่งเน้นช่วยเหลือให้กลับมาดำเนินกิจการโดยเร็วเพื่อลดผลกระทบทาง เศรษฐกิจ นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลการหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย และสมาคมประกันชีวิตไทย วางมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งจากข้อมูล ของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2554 พบว่ามีผู้เสียชีวิต 307 ราย และสูญหาย 3 คน โดยได้รับแจ้งในเบื้องต้นว่ามีการทำ ประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จำนวน 40 ราย รวมค่าสินไหมทดแทน จำนวน 10,791,103 บาท สำหรับนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมและบางแห่งที่อยู่ในภาวะเสี่ยงภัย รวม 7 นิคมอุตสาหกรรม สำนักงาน คปภ.ได้สำรวจข้อมูลการทำประกันภัย ดังนี้ นิคมอุตสาหกรรม จังหวัด การประกันภัยทรัพย์สิน การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จำนวน ผู้เอาประกันภัย (ราย) จำนวนเงิน เอาประกันภัย จำนวน ผู้เอาประกันภัย (ราย) จำนวนเงิน เอาประกันภัย (ล้านบาท) (ล้านบาท) 1. สหรัตนนคร พระนครศรี อยุธยา 57 15,828 2 200 2. โรจนะ 241 108,014 4 1,135 3. HI-Tech 73 43,173 8 1,439 4. บางปะอิน 156 90,078 7 1,702 5. แฟคตอรี่แลนด์ 58 505 - - 6. นวนคร ปทุมธานี 235 118,867 6 2,259 7. บางกระดี 106 80,318 3 453 รวม 926 456,783 30 7,188 โดยนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำเข้าท่วมแล้ว 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรม HI-Tech นิคม อุตสาหกรรมบางปะอิน เขตประกอบอุตสาหกรรมแฟคตอร์รี่แลนด์ และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่ แท้จริงจะทราบได้ภายหลังน้ำลด อย่างไรก็ตามจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายทั้งหมดประมาณ 100,000 ล้านบาท และจากการสำรวจข้อมูลการทำ ประกันภัยทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ปทุมธานี และนนทบุรี พบว่ามีการทำประกันภัยทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยรายย่อย จำนวน 48,087 ราย รวมเงินเอาประกันภัยจำนวน 56,471,559,117 บาท ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนที่บริษัทประกันภัยได้ดำเนินการทันทีในขณะนี้คือการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าในพื้นที่ประสบอุทกภัยเพื่อเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผู้เอาประกันภัยก่อนเกิดความสูญเสีย โดยไม่ต้องรอให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้แจ้งเหตุ โดยบริษัทประกันภัยร่วมกับผู้ประกอบการได้เข้าไปเคลื่อนย้าย เครื่องจักรบางส่วนที่สามารถถอดชิ้นส่วนได้ออกไปเก็บในที่ปลอดภัย ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วกับนิคมอุตสาหกรรม นวนคร ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำเข้า ท่วม รวมถึงกำลังเร่งดำเนินการในนิคมอุตสาหกรรมบางกระดีที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่าสำนักงาน คปภ.ตระหนักถึงผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการจ้างงาน รวม ถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งคาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจในประเทศไประยะหนึ่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการลดผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้น และเป็นการช่วยเหลือให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้รวดเร็ว สำนักงาน คปภ. จึงมีนโยบายในการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่อาจเป็น อุปสรรคต่อการประเมินความเสียหาย เช่น การพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของผู้ประเมินวินาศภัย (Surveyor) เพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถนำผู้เชี่ยวชาญ จากต่างประเทศเข้ามาเป็นผู้ประเมินความเสียหายได้ทันที ซึ่งมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้บริษัทประกันภัยมีความสะดวกในการประเมินความเสียหายและ ทำให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยได้รวดเร็วมากขึ้น หากมีข้อสงสัยสอบถามสายด่วนประกันภัย 1186 ฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร . 02-513 -1769 02-513-1680

ข่าวคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย+สมาคมประกันชีวิตไทยวันนี้

คปภ. เปิดตัวระบบ Open Insurance ปลดล็อกอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่ยุคดิจิทัล สร้างระบบนิเวศในการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส และปลอดภัย

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานในงานเปิดโครงการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในอุตสาหกรรมประกันภัย หรือ Open Insurance ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว โดยมีสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย ผู้บริหารจากบริษัทประกันภัย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานกว่า 200 คน เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า Open Insurance ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนและยกระดับอุตสาหกรรมประกันภัยไทย สู่ยุคดิจิทัล

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำก... สำนักงาน คปภ. เปิดช่องทางใหม่ Insure Mall ครบทุกเรื่องประกันภัย จบทุกความต้องการ — นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจปร...

นายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ บริษ... ไทยประกันชีวิตร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ — นายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พร้อมทีมฝ่า...

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริ... เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 — นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (ม...

บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต นำทีมตัว... อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 — บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต นำทีมตัวแทนฝ่ายขายและพนักงาน ร่วมกิจกรรมบริจ...