คปภ. กำหนด 1 กันยายน RBC มีผลบังคับใช้

กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--คปภ.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดให้การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง( Risk Based Capital :RBC) มีผลบังคับใช้ 1 กันยายน 2554 เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความสูญเสีย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงสร้างศักยภาพธุรกิจประกันภัยไทยให้เข้มแข็งตามมาตรฐานสากล โดยในช่วงแรกกำหนดอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนขั้นต่ำร้อยละ 125 นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคปภ. เปิดเผยว่าที่ผ่านมาสำนักงาน คปภ. ได้เตรียมความพร้อมบริษัทประกันภัยกับการใช้เกณฑ์ RBC อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีการทดสอบคู่ขนานการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง จำนวน 2 ครั้ง รวมถึงการประชุมชี้แจงผลการทดสอบ และกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะประกาศใช้ เพื่อให้บริษัทประกันภัยรับทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการต่อไป โดยภาพรวมของผลการทดสอบคู่ขนานครั้งที่ 2 สรุปได้ ดังนี้ ธุรกิจประกันชีวิต : ความเสี่ยงหลัก ได้แก่ความเสี่ยงด้านตลาด เป็นอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 46 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป อันดับที่ 2 ความเสี่ยงด้านการประกันภัย คิดเป็นร้อยละ 45 ธุรกิจประกันวินาศภัย : ความเสี่ยงหลัก ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการประกันภัย เป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 42 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการประกันภัยรถยนต์ อันดับที่ 2 ความเสี่ยงด้านตลาด เป็นคิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งส่วนใหญ่มากจากความผันผวนของราคาตราสารทุน ทั้งนี้สำนักงาน คปภ. ได้กำหนดแนวทางในการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัยมีเวลาปรับตัวมากขึ้น ดังนี้ - 1 กันยายน 2554 - 31 ธันวาคม 2555 กำหนดอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนสำหรับการเข้าแทรกแซงบริษัท (Solvency CAR) เท่ากับ ร้อยละ 125 - 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป กำหนดอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนสำหรับการเข้าแทรกแซงบริษัท (Solvency CAR) เท่ากับ ร้อยละ 140 โดยในปี 2557 สำนักงานคปภ. จะทำการทบทวนค่าความเสี่ยงแต่ละประเภทความเสี่ยง รวมถึงอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ใช้ในการแทรกแซงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในขณะนั้น นอกจากนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า เกณฑ์ RBC ที่จะใช้นี้ จะวัดระดับเงินกองทุน 2 ขั้น คือ - ต่ำกว่าร้อยละ 125 บริษัทประกันภัยยังสามารถรับประกันภัยได้อยู่ แต่จะให้จัดทำแผนแก้ไขฐานะการเงิน ซึ่งระหว่างนั้นจะถูกสั่งห้ามลงทุนหรือขยายธุรกิจใดๆ เพิ่มเติม - ต่ำกว่าร้อยละ 100 หากเป็นบริษัทประกันวินาศภัยจะถูกสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราวทันที ส่วนบริษัทประกันชีวิต จะถูกเข้าควบคุมกิจการ ทั้งนี้ การใช้ RBC จะทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าบริษัทประกันภัยมีความมั่นคงพียงพอที่รองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าบริษัทมีความเสี่ยงมาก ก็จะต้องมีเงินกองทุนมารองรับความเสี่ยงมากขึ้นตามไปด้วย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมติดต่อสายด่วนประกันภัย 1186 ฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร. 02-513-1738

ข่าวคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย+ธุรกิจประกันภัยวันนี้

คปภ. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมวันครอบครัว และการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยและการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมออก 2 ประกันภัยไมโครอินชัวรันส์รองรับ

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการ "กิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยการเดินทางและการส่งเสริมการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2568" เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เล็งเห็นความสำคัญของการเดินทางในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังคงเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง จึงได้พัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อมุ่งเน้นให้การประกันภัยสามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย