สสส. หนุน สื่อพื้นบ้านจาโปตาแง สื่อ-ศิลปวัฒนธรรมชุมชน หวังขับเคลื่อนเยาวชน สืบสาน-สืบทอด

กรุงเทพฯ--16 ก.ย.--สสส.

เมื่อวันที่ 3 – 4 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชนภาคใต้ จัดงาน “จาโปตาแง สื่อ ศิลปวัฒนธรรมชุมชน ภาคใต้ปี 2” ที่ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ (สสส.) กล่าวว่า เด็กและเยาวชนในภาคใต้นับว่าเป็น “เยาวชนกลุ่มเสี่ยง” ที่อยู่ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกระดับของสังคม เมื่อเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นจะขาดความมั่นใจและรู้สึกไม่มั่นคง เพื่อเป็นการดูแลและส่งเสริมให้เยาวชนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การเสริมสร้างพลังให้เด็กและเยาวชนในภาคใต้ได้ตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองและคุณค่าของสิ่งต่างๆ รอบตัว งาน “จาโปตาแง สื่อ ศิลปวัฒนธรรมชุมชน ภาคใต้ปี 2” นี้จึงเกิดขึ้น เพื่อหนุนเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่า เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ และต้องการสืบทอดสื่อพื้นบ้านปักษ์ใต้ให้คงอยู่ต่อไป โดย นายดนัย หวังบุญชัย กล่าวต่อว่า ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมของทั้งไทย-พุทธ และ ไทย-มุสลิม อยู่หลากหลาย งาน “จาโปตาแง สื่อ ศิลปวัฒนธรรมชุมชน ภาคใต้ปี 2” ครั้งนี้ถือว่าเป็นการมาร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นถิ่นซึ่งกันและกัน เกิดเป็นการผลัดกันเล่น ผลัดกันแสดง และผลัดกันดู เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันขึ้น ซึ่งการนำเด็กและเยาวชนในพื้นที่มาช่วยคิด - ทำ และออกแบบ โดยมีผู้ใหญ่สนับสนุนตามแนวคิดให้คน 3 วัย ที่เป็นศิลปิน ผู้เฒ่าผู้แก่ วัยทำงาน และเยาวชนร่วมกันทำกิจกรรม จนเกิดเป็นมิติทางศิลปวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของชุมชนขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน องค์การส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด จนนำไปสู่การทำให้ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งและอยู่ได้อย่างยั่งยืน” ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ (สสส.) กล่าว ด้านนางเตือนใจ สิทธิบุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชนภาคใต้ กล่าวว่า ที่ชื่อว่า “จาโปตาแง” นั้นมาจากภาษายาวี หมายถึง ความร่วมมือร่วมใจ โดยมุ่งหวังให้คนในชุมชนฟื้นฟูสื่อพื้นบ้าน และสานความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยความโดดเด่นที่เกิดขึ้นมีทั้งการแสดงระบำกะลา จากชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านต้นไทร, การแสดงดนตรีสร้างสุข ที่เป็นเครื่องสายลายดนตรี (สากล) จากโรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง, การแสดงมโนราห์ตัวอ่อน จากศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทัง, การแสดงเครือข่ายสื่อ ศิลปวัฒนธรรมชุมชนภาคใต้ ได้แก่ ลิเกฮูลูเพื่อสันติภาพ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, เพลงบอก เด็ก-เยาวชน จากศูนย์เรียนรู้ศูนย์ป่าห้วยพูด, ละครมาหยา สื่อสร้างสรรค์ เยาวชน จังหวัดกระบี่, การแสดงปัญจซีละ พัฒนาสุขภาวะ เยาวชน จังหวัดนราธิวาส, ละครสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน จังหวัดสตูล, ลิเกฮูลู คณะแหลมทราย จังหวัดปัตตานี และหนังตะลุงเด็กจากศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทัง จังหวัดพัทลุง และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนกันในเรื่องของวัฒนธรรมอาหาร อย่างการทำข้าวยำ, ขนมดีซำ, ขนมครกพื้นบ้าน, ขนมโค, ทับทิมกรอบ โดยมีปราชญ์ชาวบ้านเจ้าของต้นตำรับมาสอนให้เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานได้ลงมือทำและเรียนรู้ด้วยตัวเองไปพร้อมๆ กัน และเมื่อทำเสร็จคนที่มาร่วมงานก็มีโอกาสได้ชิมอาหารนั้นสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดช่องวางระหว่างวัยไปพร้อมๆ กันได้ “ส่วนการละเล่นพื้นถิ่นของภาคใต้ที่นิยมเล่นกันคือ “ว่าว” ในงานจึงมีการสาธิตและสอนทำว่าวแบบต่างๆ อย่างว่าวผีเสื้อ, ว่าวควาย, ว่าวรูปนก, ว่าวจุฬา จุดเด่นก็คือว่าวแต่ละตัวจะมีส่วนหัวที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีบ้านที่เปลี่ยนใต้ถุนบ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นห้องสมุดย่อมๆ ใต้ถุนบ้าน มีการสอนการจักสานแบบต่างๆ ทั้งการสานไม้ไผ่เป็นผนังบ้าน, ฝ้าเพดาน, สุ่มไก่ ลวดลายต่างๆ ส่วนพื้นที่ว่ารอบๆ บ้านมีการปรับเป็นสวนสมุนไพรขนาดย่อม เพื่อการสอนให้เด็ก-เยาวชนรู้จักและปลูกปักชนิดต่างๆ ก่อนจะนำมาประกอบอาหาร อีกทั้งยังมีลานออกกำลังกายที่นำกะลามะพร้าวมาคว่ำแล้วใช้เดินเพื่อออกกำลังกายและนวดเท้าให้กับผู้สูงอายุด้วย ถือได้ว่าเป็นการใช้พื้นที่ว่างรอบๆ บ้านให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สอนให้เด็กอยู่รอดได้ด้วยตัวเองแบบพอเพียงไปในตัว” นางเตือนใจ สิทธิบุรี กล่าว ทั้งนี้นายดนัย หวังบุญชัย ได้กล่าวเสริมอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในงานนี้ล้วนเป็นต้นแบบสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่า ความรู้ ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนว่าทรงคุณค่าแค่ไหน หากมีการถ่ายทอดไปยังเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อให้สืบสานและสืบทอดต่อ นอกจากจะไม่สูญหายแล้ว ยังจะเกิดเป็นอัตลักษณ์ให้กับชุมชน เกิดมิติอันดีงามทางศิลปวัฒนธรรม นำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างสังคมได้ หากพื้นที่อื่นจะนำไปเป็นต้นแบบโดยใช้คู่กับกระบวนการจิตอาสาได้อย่างแพร่หลาย เชื่อว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะกับเด็กและเยาวชน หรือสังคมจะเบาบางลง “นี่เป็นเพียง 1 ใน 18 โครงการในกลุ่มงานสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนเชิงบูรณาการ ของแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สสส. ในปีนี้ ผู้ที่สนใจกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ได้ที่ www.artculture4health.com และ www.facebook.com/Sponsorship.TH แล้วคุณจะรู้ว่าศิลปวัฒนธรรม รากเหง้า อัตลักษณ์ และความเป็นชุมชนเชิงบูรณาการที่น่าสนใจของไทยในมุมที่คุณยังไม่เห็นยังมีอีกมากมาย เชื่อว่าเมื่อได้สัมผัสจะหลงรัก และอยากจะรักษาไปอีกนานเท่านาน” นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฤทัยรัตน์ ไกรรอด(จ๋า) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สสส. สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวดนัย หวังบุญชัย+เด็กและเยาวชนวันนี้

ประกวดคลิปวิดีโอ "ร้อง เล่น เต้น เพลงพี่หัวดี"

พลตรีหญิง คุณหญิงอัสนีย์ เสาวภาพ ประธานสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ฯ พร้อมด้วยอารยา อรุณานนท์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อีทเวล จำกัดในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดคลิปวิดีโอ "ร้อง เล่น เต้น เพลงพี่หัวดี" และคณะกรรมการได้แก่ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช คุณดนัย หวังบุญชัย คุณประพาฬพงษ์ มากนวล และดร.อุดม หงส์ชาติกุล ร่วมประชุมพิจารณาคลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวด เมื่อเร็วๆนี้ ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว

อารยา อรุณานนท์ชัย ประธานโครงการความพิการ... ภาพข่าว: โครงการความพิการป้องกันได้ ถ้ารู้วิธี — อารยา อรุณานนท์ชัย ประธานโครงการความพิการป้องกันได้ ถ้ารู้วิธี สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระ...

โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ คว้ารางวั... ภาพข่าว: โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ คว้ารางวัล ในโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน — โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ คว้ารางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัต...

รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก (กลาง) คณะกรรมการสำนัก... ภาพข่าว: มอบรางวัลประกวดภาพยนตร์สั้น “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” — รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก (กลาง) คณะกรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) นพ....

โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม จัดสัมมนา... ภาพข่าว: ปฎิรูปสื่อ ปฏิรูปอุตสาหกรรมโฆษณา มุ่งสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ยุค 4.0 — โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม จัดสัมมนาในหัวข้อ "ปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปอุตสา...

โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม จัดสัมมนา... ภาพข่าว: ปฎิรูปสื่อ ปฏิรูปอุตสาหกรรมโฆษณา มุ่งสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ยุค 4.0 — โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม จัดสัมมนาในหัวข้อ "ปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปอุตสา...

ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำ... ภาพข่าว : ประกวดภาพยนตร์สั้น “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” — ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล (ที...

สสส.ชวนนักเขียนนักวาดฝีมือดี ร่วมผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาวะสร้างแรงบันดาลใจ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” และ “ไม่อยากอ้วน”

แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และกองทุนศรีบูรพา จัดโครงการ “ปิ๊งส์ เด็กเฮ้ว” ผุดนักผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาวะ (เรื่องสั้น การ์ตูนวาด) ภาย...

สสส.ชวนเยาวชนทำหนังสั้น “ชีวิตติดเดิน” 10 นาที รับสมัครวันนี้ถึง 27 มกราคม 2557

หลังพบ “การเดิน” มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 4 ด้าน กาย ใจ สังคม ปัญญา หากเดิน 10,000 ก้าวต่อวัน นาน 12 สัปดาห์ จะลดความดันโลหิต และเมื่อเดินเร็ว 1 ชั่วโมงต่อวัน นาน 3 เดือน ลดน้ำหนักได้ เพื่อปลูกฝังคนไทย “รักการเดิน” เผยเร่งดึง...