กรมธุรกิจพลังงานเผยสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมีนาคม 54 คาดเมษานี้ยอดใช้น้ำมันพุ่ง

กรุงเทพฯ--2กรมธุรกิจพลังงาน เม.ย.--กรมธุรกิจพลังงาน

กรมธุรกิจพลังงานเผยสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมีนาคม 54 คาดเมษานี้ยอดใช้น้ำมันพุ่ง พร้อมแจงผลการปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาสแรก นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินเดือนมีนาคมปรับลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 7% มาอยู่ที่ 19.8 ล้านลิตร/วัน เป็นผลจากเหตุความไม่สงบในลิเบียและความกังวลว่าสถานการณ์จะลุกลามไปยังประเทศตะวันออกกลางส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในเดือนมีนาคม 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เกือบ 3 บาท/ลิตร สวนทางกับการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีการปรับตัวสูงขึ้น 4% มาอยู่ที่ 55.6 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ตรึงราคาขายปลีกไว้ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ประกอบกับปีนี้ ผลผลิตทางการเกษตรสูงโดยเฉพาะอ้อยที่มีปริมาณมากและเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปลัง ทำให้มีการใช้รถบรรทุกขนส่งพืชผลทางการเกษตรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือนเมษายนซึ่งมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะทำให้การใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในการเดินทางท่องเที่ยว ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนมีนาคมประมาณ 5% และ 4% ตามลำดับ ขณะที่ภาพรวมการใช้น้ำมันเบนซินในเดือนมีนาคมลดลง แต่การใช้แก๊สโซฮอล์ อี 85 กลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 18% มาอยู่ที่ 0.017 ล้านลิตร/วัน ตามจำนวนรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ อี 85 ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้มีมาตรการจูงใจให้มีการผลิตและนำเข้ารถยนต์ประเภทดังกล่าวและกำหนดราคาแก๊สโซฮอล์ อี 85 ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าชนิดอื่น ๆ โดยส่วนต่างราคาอยู่ที่ 12 – 15 บาท/ลิตร ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา อยู่ที่ 54.6 ล้านลิตร/วัน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เหลือเพียง 0.2 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากกรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา บี 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 และยังให้คงสัดส่วนดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าสถานการณ์น้ำมันปาล์มจะเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับปริมาณการใช้ NGV ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% มาอยู่ที่ 6,420 ตัน/วัน และมีสถานีบริการ NGV จำนวน 437แห่ง ส่วนปริมาณการใช้ LPG ในเดือนมีนาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 555,000 ตัน/เดือน หรือ 17,900 ตัน/วัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์อยู่ 4% ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ในภาคปิโตรเคมี 193,000 ตัน/เดือน หรือ 6,200 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 10% และภาคอุตสาหกรรม 72,000 ตัน/เดือน หรือ 2,300 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 4% ในขณะที่การใช้ในภาคครัวเรือน 221,000 ตัน/เดือน หรือ 7,200 ตัน/วัน และภาคขนส่ง 69,000 ตัน/เดือน หรือ 2,200 ตัน/วัน มีปริมาณใกล้เคียงกับเดือนก่อน ประกอบกับโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ได้เริ่มดำเนินการผลิต หลังจากหยุดซ่อมบำรุงเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ รวมทั้งโรงกลั่นผลิต LPG เพิ่มมากขึ้น ในเดือนมีนาคม 2554 จึงมีการนำเข้า LPG จากต่างประเทศเพียง 91,000 ตัน มูลค่ารวม 2,500 ล้านบาท ด้านการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณรวมทั้งหมด 817,000 บาร์เรล/วัน ลดลงจากเดือนก่อน 3% ในขณะที่มูลค่านำเข้ารวมอยู่ที่ 86,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 19% แบ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ 778,000 บาร์เรล/วัน มูลค่านำเข้า 83,000 ล้านบาท และน้ำมันสำเร็จรูป 39,000 บาร์เรล/วัน มูลค่านำเข้า 3,100 ล้านบาท ส่วนการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณ 106,000 บาร์เรล/วัน เป็นมูลค่าส่งออก 12,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% และ 51% ตามลำดับ สำหรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาส 1 ปี 2554 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 พบว่า การใช้น้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 1% อยู่ที่ 20.5 ล้านลิตร/วัน เช่นเดียวกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่เพิ่มขึ้น 1% อยู่ที่ 53.8 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่การใช้ NGV อยู่ที่ 6,188 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 33% จึงเห็นได้ว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ประชาชนใช้น้ำมันลดลง และเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่มีราคาถูกเพิ่มขึ้น โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 4 บาท/ลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 2-3 บาท/ลิตร แม้ว่าในปี 2554 รัฐบาลจะควบคุมราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วแล้วก็ตาม สำหรับการใช้ LPG ในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ 525,000 ตัน/เดือน หรือ 17,500 ตัน/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24% โดยเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการใช้ในภาคขนส่ง เพิ่มขึ้น 22% อยู่ที่ 66,000 ตัน/เดือน หรือ 2,200 ตัน/วัน ภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 8% อยู่ที่ 213,000 ตัน/เดือน หรือ 7,100 ตัน/วัน ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 6% อยู่ที่ 66,000 ตัน/เดือน หรือ 2,200 ตัน/วัน และ ภาคปิโตรเคมีมีการใช้ 180,000 ตัน/เดือน หรือ 6,000 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 65% แม้ว่าปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของ ปตท. เริ่มดำเนินการได้และสามารถผลิต LPG ได้เกือบเต็มกำลังการผลิตในเดือนมีนาคม 2554 ประกอบกับนโยบายของรัฐในการสนับสนุนให้โรงกลั่นผลิต LPG เพิ่มมากขึ้น ทำให้การนำเข้า LPG ในไตรมาส 1 ปี 2554 จำนวน 106,000 ตัน/เดือน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8% แต่มูลค่ารวม 8,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% ส่วนของการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ภาพรวมของไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ 825,000 บาร์เรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1% แต่มูลค่ารวม 230,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 21% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึง 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จาก 76 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็น 101 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แบ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ 779,000 บาร์เรล/วัน มูลค่า 219,000 ล้านบาท และน้ำมันสำเร็จรูป 46,000 บาร์เรล/วัน มูลค่า 10,000 ล้านบาท ส่วนการส่งออกอยู่ที่ 122,000 บาร์เรล/วัน ลดลง 18% มูลค่า 36,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% นอกจากนี้ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานรายไตรมาสว่า Energy Information Administration (EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 จะอยู่ที่ประมาณ 110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบที่มีทีท่าว่าจะยืดเยื้อในลิเบีย รวมทั้งประเทศอื่นในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบ จะอยู่ที่ประมาณ 116 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ธพ.ตรวจเข้มคุณภาพน้ำมัน พร้อมแจงการตรวจสอบสถานีบริการที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของผลการปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554) รวมทั้งสิ้น 2,804 ราย 4,988 ตัวอย่าง พบว่ามีการจำหน่ายน้ำมันที่มีคุณภาพต่ำ 38 ราย 39 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.36 และ 0.78 ของจำนวนรายและจำนวนตัวอย่างที่ทดสอบเมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจสอบในรอบปีที่ผ่านมาซึ่งพบผิด คิดเป็นร้อยละ 3.06 และ 1.92 ของจำนวนรายและจำนวนตัวอย่างที่ทดสอบ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มการกระทำผิดลดน้อยลง โดยส่วนใหญ่ยังเป็นปั้มอิสระอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนิดน้ำมันที่พบผิดมากที่สุดคือน้ำมันเบนซินออกเทน 91 คิดเป็นร้อยละ 69.23 ของจำนวนตัวอย่างน้ำมันที่พบผิดทั้งหมด สาเหตุการพบผิดคือ ปนเมทานอล ปนสารโซลเว้นท์ และ ปนแก๊สโซฮอล์ ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานได้พิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายกับสถานีบริการที่ตรวจพบความผิดแล้ว นอกจากนี้ กรมธุรกิจพลังงานยังได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้อย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่ามีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงถูกน้ำท่วม รวมจำนวน 32 ราย แต่เป็นการท่วมพื้นลานสถานีบริการ จำนวน 23 ราย ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ ตรัง และ สุราษฎร์ธานี โดยกรมธุรกิจพลังงานได้ร่วมกับสำนักวิชาการพลังงานภาค 12 (สวภ.12) จัดส่งหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเคลื่อนที่ออกตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีบริการที่ถูกน้ำท่วมพื้นลานก่อนที่จะเปิดจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2554 พบว่ามีสถานีบริการที่มีคุณภาพถูกต้องและเปิดจำหน่ายแล้ว จำนวน 22 ราย และยังไม่เปิดจำหน่าย จำนวน 1 ราย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของประชาชน กรมธุรกิจพลังงานจะประสานไปยังพลังงานจังหวัดเพื่อจัดเก็บตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีบริการที่พร้อมจำหน่ายให้กรมธุรกิจพลังงานตรวจคุณภาพต่อไป

ข่าวนายวีระพล จิรประดิษฐกุล+วีระพล จิรประดิษฐกุลวันนี้

กกพ. ตรึงค่าเอฟที ที่ -15.90 สต.ต่อหน่วย ถึง ส.ค. 61

กกพ.ประกาศตรึงค่าเอฟทีงวด พ.ค. – ส.ค. 2561 ที่ -15.90 สตางค์ต่อหน่วย เท่ากับงวด ม.ค. – เม.ย. 2561 ท่ามกลางแนวโน้มราคาก๊าซขาขึ้น นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2561 ค่าเชื้อเพลิงทุกชนิด ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และถ่านหิน มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวสูงถึง 12.51 บาทต่อล้านบีทียู และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเอฟทีในส่วนของเชื้อเพลิงสูงขึ้น 3.77 สตางค์ต่อหน่วย แต่

กกพ. ตรึงค่าเอฟทีถึง เม.ย. 61

กกพ.ประกาศตรึงค่าเอฟทีงวด ม.ค. – เม.ย. 2561 เท่ากับงวด ก.ย. – ธ.ค. 2560 ในปัจจุบัน อยู่ที่ -15.90 สตางค์ต่อหน่วย ท่ามกลางแนวโน้มราคาก๊าซขาขึ้น นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. 2561 ค่าเชื้อ...

สำนักงาน กกพ. จัดงานแถลงข่าว “การพิจารณาค่าเอฟที สำหรับเดือนมกราคม – เมษายน 2561”

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วม งานแถลงข่าว "การพิจารณาค่าเอฟที สำหรับเดือนมกราคม – เมษายน 2561" ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 3...

กกพ. ย้ำหลักการตามนโยบายการกำหนดโครงสร้างค่าฟ้าฟ้าใหม่ ปี 61

"กกพ."ย้ำชัด "ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่" รอบล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษา เพื่อดูผลกระทบให้รอบด้านอย่างสมดุล พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนก่อนประกาศใช้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า...

กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงประกาศ SPP Hybrid Firm ตามมติ กบง.

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับการรับซื้อไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคให้มีความชัดเจนขึ้น และเพื่อให้การรับซื้อไฟฟ้าในโครงการ SPP Hybrid Firm ครบ...

"กกพ." เดินหน้าจับสลากโซลาร์ฟาร์ม เน้น "โ... กกพ. ดีเดย์จับสลากโซลาร์ฟาร์มวันนี้ — "กกพ." เดินหน้าจับสลากโซลาร์ฟาร์ม เน้น "โปร่งใส ตรวจสอบได้" ต่อหน้าสักขีพยาน จากผู้ผ่านคุณสมบัติรอบแรก จำนวน636 ราย...

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจกา... ภาพข่าว: กกพ. จัดแถลงข่าว การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560 — นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ซ้าย) ...

การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2560 13.30 น. นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานงานแถลงข่าวการจัดการ "ประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560" ภายใต้หัวข้อเรื่อง "Towards Smart...

สำนักงาน กกพ. จัดการ “ประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560”

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2560 13.30 น. นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานงานแถลงข่าวการจัดการ "ประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560" ภายใต้หัวข้อเรื่อง ...