ม.อ. เดินหน้าตั้ง ‘สถานวิจัยธรณีฟิสิกส์’ รุกศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลก-รับมือภัยพิบัติ

กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์

นักวิชาการ ม.อ. เตรียมรวมตัวจัดตั้งสถานวิจัยธรณีฟิสิกส์ เพื่อวิจัยด้านแผ่นดินไหว และด้านพิบัติภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรงขึ้น หวังศึกษาวิธีการรับมือที่เหมาะสมกับปัญหาและสภาพของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า หลังจากประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดในภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักนับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ขณะที่ปัญหากรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบนโลกทวีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น ทำให้นักวิชาการจากหลายหน่วยงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เช่น ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในงานวิจัยทางธรณีฟิสิกส์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยรวม งานวิจัยด้านแผ่นดินไหวและพิบัติภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ รวมถึงงานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รวมตัวกันเพื่อเตรียมจัดตั้ง “สถานวิจัยธรณีฟิสิกส์” ขึ้น สำหรับ “สถานวิจัยธรณีฟิสิกส์” ที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ จะทำหน้าที่ในการสำรวจหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจำเป็นต่อพื้นฐานการดำรงชีวิตของประชาชนและต่อการพัฒนาประเทศ เช่น แหล่งปิโตรเลียม แหล่งถ่านหิน แหล่งน้ำบาดาล แหล่งแร่เศรษฐกิจ รวมถึงจัดการกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านธรณี และหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ โดยสถานวิจัยดังกล่าวจะมีความพร้อมด้านเครื่องมือธรณีฟิสิกส์ ซึ่งมีหน่วยงานภายนอกเพียงไม่กี่หน่วยงานเท่านั้นที่มีความพร้อมด้านนี้ “สถานวิจัยธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะส่งเสริมให้สมาชิกและนักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับนักวิจัยภายในกลุ่มสาขาธรณีฟิสิกส์และนักวิจัยในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และจะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการติดต่อประสานงานการทำวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการต่อยอดงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก และงานวิจัยของคณาจารย์ให้มีความเข้มแข็ง โดยการสร้างเครือข่ายการวิจัยกับนักวิจัยจากหน่วยงานและสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสมกล่าว นอกจากนั้น สถานวิจัยยังจะทำหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลและความช่วยเหลือทางวิชาการด้านธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์แก่ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและสถาบันในภูมิภาคใกล้เคียง สำหรับทิศทางงานวิจัยของ “สถานวิจัยธรณีฟิสิกส์” จะครอบคลุมงานวิจัยด้านธรณีฟิสิกส์ของโลกและเพลตเทคโทนิกส์ การศึกษาวิจัยเขตรอยมุดตัวซุนดา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลังงานความร้อนใต้พิภพ งานวิจัยด้านแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนมีพลังในแถบภาคใต้และภูมิภาคอันดามัน ศึกษาวิจัยตัวเตือนล่วงหน้าการเกิดแผ่นดินไหว การศึกษาธรณีฟิสิกส์แบบบูรณาการของรอยเลื่อนมีพลัง งานวิจัยด้านธรณีพิบัติภัย หลุมยุบ แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหวและการพยากรณ์ ศึกษาด้านพิบัติภัยด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งสัมพันธ์กับลักษณะทางด้านธรณีวิทยา และงานวิจัยด้านการสำรวจแหล่งแร่ และแหล่งปิโตรเลียม ติดตามการเคลื่อนที่ของมลพิษในชั้นดิน ทรัพยากรพลังงานความร้อนใต้พิภพและการใช้ประโยชน์ ตลอดจนการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินในแอ่งตะกอน และในชั้นหินแข็ง เป็นต้น เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัทมาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ ในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ : พิภพ ฆ้องวง (ท๊อป) โทร: 0-2248-7967-8 ต่อ 118 Email : [email protected] หรือ [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์+บุญสม ศิริบำรุงสุขวันนี้

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) มุ่งพัฒนาทักษะความรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเตรียมบุคลากร

ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ช... จับตาไทย! ลุยพัฒนา ATMPs-สเต็มเซลล์ พลิกโฉมการแพทย์ เพิ่มโอกาสรักษาโรคร้ายแรง — ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ชั้นนำ เร่งเครื่องพัฒนา ATMPs-สเต็...

เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทอ... เครือ รพ.พญาไท - เปาโล จับมือ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พัฒนานวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์ — เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหา...

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineeri... AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก — สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...