รมช. ศธ. เผยรัฐบาลไฟเขียวปรับกลยุทธ์ทุนพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--สสวท.

นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ระยะหลังมีผู้สนใจเข้ารับทุนวิทยาศาสตร์ ลดลง และขาดแรงจูงใจในการเลือกอาชีพเป็นนักวิจัย ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรที่สนใจเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศสูงขึ้น ตนจึงได้ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการปรับแผนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ซึ่งผ่านการอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ประกอบด้วย 1. การปรับมูลค่าทุนการศึกษาในประเทศ ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และอนุมัติในหลักการให้ปรับมูลค่าทุนการศึกษา ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้โดยอัตโนมัติ กรณีที่สำนักงาน ก.พ. ปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนใหม่ 2. การปรับค่าใช้จ่ายสนับสนุนการจัดการศึกษานักเรียนทุน พสวท. ในประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของศูนย์โรงเรียนและศูนย์มหาวิทยาลัย การจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อใช้สำหรับโครงงานวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์โรงเรียน ค่าใช้จ่ายสนับสนุนทุนวิจัยสำหรับบัณฑิต พสวท. แรกบรรจุ 3. การปรับจำนวนทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เป็น 180 ทุน เพื่อให้การสร้างกำลังคนในอนาคตของชาติ (ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) ที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และลดปัญหาการขาดแคลนกำลังคนฯ คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากปีละ 130 ทุน เป็น ปีละ 180 ทุน โดยจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในประเทศ 135 ทุน และทุนการศึกษาต่างประเทศ 45 ทุน 4. อนุมัติการเพิ่มจำนวนศูนย์โรงเรียนและศูนย์มหาวิทยาลัย เป็น 20 ศูนย์ อนุมัติการปรับเพิ่มจำนวนศูนย์โรงเรียนจาก 7 ศูนย์ เป็น 10 ศูนย์ และเพิ่มศูนย์มหาวิทยาลัยจาก 7 ศูนย์ เป็น 10 ศูนย์ รวมเป็น 20 เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนไทยให้ทั่วถึงในภูมิภาคต่างๆ และเพื่อช่วยให้ผู้รับทุน พสวท. ไม่ต้องจากบิดามารดาและผู้ปกครองไปศึกษาในสถานศึกษาที่อยู่ไกลจากภูมิลำเนาเดิม ศูนย์ฯ ที่เพิ่มขึ้นจะกระจายอยู่ในภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ภาคละ 1 ศูนย์ นอกจากนั้น ยังได้มีการปรับกลยุทธ์ทุนผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนเองได้ผลักดันให้ ครม อนุมัติการปรับแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2555 – 2560) โดยทุนการศึกษายังคงมีเท่าเดิม ปีละ 580 ทุน แต่ปรับเปลี่ยนทุนแบ่งออกเป็น 2ประเภท ได้แก่ ทุนประเภทที่ 1 Premium จำนวนปีละ 400 ทุน เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโททางการศึกษาหรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างครูเพื่อสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นลำดับแรก ทุนประเภทที่ 2 Super Premium จำนวนปีละ 180 ทุน เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโททางการศึกษาหรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างครูสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ “การปรับรูปแบบของโครงการ สควค. นอกจากปรับเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภาแล้ว ยังคำนึงถึงความต้องการของโรงเรียน โดยเฉพาะสังกัด สพฐ. ที่เปิดสอนห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก นอกจากนั้น สพฐ. ยังได้จัดให้มีกลุ่มโรงเรียนมาตรฐานสากล และกลุ่มโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอน (EP Program) เพิ่มขึ้น ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในกลุ่มโรงเรียนเหล่านี้ นอกจากต้องมีพื้นฐานทางวิชาการดีเยี่ยม มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และมีความเป็นครูดีเยี่ยมแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย โดยปรับรูปแบบการผลิตครูจากเดิม เป็น การให้ทุนการศึกษาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) เพื่อศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโททางการศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. และจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูตามเกณฑ์ของคุรุสภาโดยอัตโนมัติ” รมช. ไชยยศ กล่าว

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+กระทรวงศึกษาธิการวันนี้

UNFPA-สสส. ผนึกกำลังภาครัฐ ภาคี 8 หน่วยงาน ปลดล็อกแพลตฟอร์ม SoSafe เดินหน้ายกระดับสุขภาพและความปลอดภัย ผ่านการพัฒนาชีวิตทุกช่วงวัย สำหรับทุกกลุ่ม ทุกเพศและทุกวัย

ดร. จูลิตตา โอนาบันโจ ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทยและผู้แทนประจำประเทศมาเลเซีย พร้อมด้วย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสันติธร ยิ้มละมัย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ดร. นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข, นายไพศาล วุทฒิลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาตินางสาวภรณี ภู่ประเสริฐ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโน... สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education" — ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...

สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือ... เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว — สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...