สภาที่ปรึกษาฯ เดินเครื่องเปิดเวทีภาคอีสาน เร่งระดมความเห็นเรื่อง AC

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--สป.

เมื่อวันที่ 11มิ.ย. 54 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น 4 ภูมิภาค เรื่อง “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC) ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีนายธนวัฒน์ พลอยโสภณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวต้อนรับ นางภรณี ลีนุตพงษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวรายงาน และฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวเปิดการสัมมนา ฯพณฯ นายอำพลฯ กล่าวเปิดในประเด็นการสัมมนาว่า ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก คือ 1) การเมืองความมั่นคง 2) สังคมและวัฒนธรรม 3) เศรษฐกิจ ซึ่งการจัดตั้งประชาคมอาเซียนนั้นมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศอาเซียนสู่ระดับโลก ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งผลกระทบในภูมิภาคอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย แต่ขณะเดียวกันก็จะทำให้สามารถเคลื่อนย้ายฐานการผลิตได้อย่างเสรี ลดกำแพงภาษีระหว่างประเทศ และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทในประเทศสมาชิกได้อย่างสันติ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้นมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อประเทศไทย เนื่องจากประเทศอาเซียนจะมีความเกี่ยวข้องกับสังคมในเกือบทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน สาธารณสุข ตนเองนั้นมีความห่วงใยต่อภาคการเกษตรซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศไทย ที่อาจได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบเช่นเดียวกัน ประการแรกในด้านบวก ประเทศไทยสามารถขยายตลาดการส่งออกสินค้าการเกษตรได้ เนื่องจากกำแพงภาษีลดลง ประการที่สองในด้านลบ ภาคการเกษตรอาจต้องเผชิญกับสินค้าราถูก และต้องแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงต้องมีการบูรณาการระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย นักวิชาการ รวมถึงสื่อมวลชน เพราะเป็นกลไกสำคัญในการนำประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ภายใต้การน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกโอกาส ตั้งแต่ระดับครอบครัว สังคม ตลอดจนประเทศและระหว่างประเทศ และต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของประชาชน ให้สำนึกในคุณธรรม มีความอดทน มีความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ หลังจากนั้นเป็นการอภิปรายเรื่อง “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC) ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยวิทยากร ศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐพงศ์ ทองภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อภิปรายในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์” นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อภิปรายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” นางอังคณา พุทธศรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อภิปรายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC) ด้านการเกษตร” นายตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภาภาควิชาการ อภิปรายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่การเข้าร่วมประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)” และนางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อภิปรายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่การเข้าร่วมประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ด้านการศึกษา”

ข่าวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง+ธนวัฒน์ พลอยโสภณวันนี้

ค่านิยมองค์กรสู่เอกลักษณ์ที่โดดเด่น "มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ"

มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่ก่อตั้งโดยเจตนารมย์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและชาวจีนโพ้นทะเลที่มุ่งหวังผลิตเยาวชนไทยให้มีความรู้คู่คุณธรรม และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยและจีน ดังนั้นตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจึงมีปณิธานที่แน่วแน่ในการบ่มเพาะคุณลักษณะของนักศึกษาและบุคลากรให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ "มีคุณธรรม 6 ประการ (ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู) ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการมีจิตอาสาพร้อมรับใช้สังคม" และตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน

ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่ศูนย์การเ... "นายอำเภอหนองโดน-เจ้าอาวาสวัดโปร่งเก่า" ร่วมเปิดโครงการ "พลิกฟื้น คืนชีวิต ชาวนา — ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิ...

เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 65 นายจำเริญ ทิพญพงศ์... สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา เข้าร่วมนำเสนอผลการขับเคลื่อน ศจพ.ต่อคณะรัฐมนตรี — เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 65 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นำ...