ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนองค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกคาดว่าระบบขนส่งมวลชนในเมือง หรือ (Urban Rail) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5-6 ซึ่งส่งผลให้รายได้ในธุรกิจนี้ทะยานสูงถึง 90 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563 จากระดับที่ประมาณการณ์ไว้ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากการที่ภาครัฐและภาคเอกชนเทเม็ดเงินมาเพื่อสร้างทางรถไฟสายใหม่
มร. ราล์ฟ ยิว นักวิเคราะห์จากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวว่า ปัจจุบัน ระบบชนส่งมวลชนในเมืองของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังอยู่ในระหว่างการเติบโตเมื่อเทียบกับฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ภูมิภาคนี้มีการผสมผสานของโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งมวลชนเมืองของประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ มีระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งมวลชนเมืองที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ประเทศอย่างอินเดีย จีน และเวียนดนามยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว
จากรายงานการวิเคราะห์ใหม่จากฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เรื่อง Growth Opportunities in Urban Rail Transportation in Asia Pacific ซึ่งครอบคลุม 10 เมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ บริสเบน ฮ่องกง โฮจิมินห์ซิตี้ จาการ์ต้า กัวลาลัมเปอร์ มุมไบ โซล เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ และโตเกียว จากการศึกษาพบว่าตลาดถูกคาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการในระบบขนส่งมวลชนในเมืองมากถึง 10.66 พันล้านในปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มยอดเป็น 15.35 พันล้านในปี 2563
มร.ยิว กล่าวว่า โตเกียวเป็นเมืองที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งมวลชนเมืองมากที่สุดในปีนี้ โดยอยู่ที่ 3.17 พันล้าน ตามมาด้วยกรุงโซล ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนเมืองอยู่ที่ 1.99 พันล้าน โดยผู้โดยสารส่วนใหญ่มาจากการใช้รถไฟใต้ดินของโซล MRT LRT และรถไฟความเร็วสูงต่างๆ โดยอันดับสามคือมุมไบ อินเดียโดยมีจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 1.61 พันล้าน
มุมไบ เซี่ยงไฮ้ และโฮจิมินซิตี้เป็นสามเมืองที่มีการลงทุนในระบบขนส่งมวลชนเมืองสูงที่สุดในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมุมไบเป็นเมืองที่ถูกให้ความสนใจมากที่สุดในการลงทุนทั้งในส่วนของรถไฟใต้ดิน และ monorails
นอกจากนี้ เมืองที่มีประชากรกว่า 20 ล้านคนอย่างเซี่ยงไฮ้ ก็นับเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับบริษัทขนส่งมวลชนต่างๆเนื่องจากได้มีแผนการสร้างรถไฟใต้ดินอีก 20 สายในอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะที่ โฮจิมินห์ซิตี้ก็เป็นคู่แข่งทางการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟที่สำคัญซึ่งได้มีการเสนอสายการลงทุน 6 สายใหม่ความยาวกว่า 100 กิโลเมตรภายในปี 2563
โครงการขนส่งมวลชนในเมืองนี้มีจุดมุ่งหมายที่การลดความแออัด และเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของผู้คนที่อาศัยในเมืองโดยเฉพาะย่านธุรกิจขนาดกลาง โดยมีการสนับสนุนของภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งผู้เข้าร่วมในภาคเอกชนส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของการออกแบบ และการสร้างสินทรัพย์ทางรถไฟ อาทิ ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการติดตามและอุปกรณ์สัญญาณต่างๆ
นอกจากนี้ในบางประเทศ ภาคธุรกิจยังมีบทบาทในการเป็นโอปะเรเตอร์ และผู้ให้การบำรุงรรักษาอีกด้วย โดยเฉพาะMRT LRT โมโนเรล หรือระบบรถราง บริษัทเอกชนสามารถเป็นได้ทั้งเจ้าของ หรือเจ้าของร่วมในระบบรถรางทั้งระบบอีกด้วย
มร.ยิว ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคเอกชนเป็นตัวริเริ่มให้เกิดความแข็งแกร่งในธุรกิจทั้งในแง่ของความสำเร็จทางธุรกิจและทางด้านเทคนิคในโครงการขนส่งมวลชนในเมือง เช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของ MRT ในฮ่องกง และSMRTของสิงคโปร์
ปัจจัยเรื่องการหาเงินทุนที่ใช้ในโครงสร้างพื้นฐานจากสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการดำเนินงานและการบำรุงรักษา มร.ยิวกล่าวว่า เงินทุนสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการเพื่อขออนุมัติพื้นที่สำหรับโครงการรถไฟเมืองนั้นได้รับการคัดค้านจากบางหน่วยงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้าที่ไม่จำเป็นสำหรับโครงการดังกล่าว
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 6301734 Frost & Sullivan