คณิตศาสตร์ใสๆ ในธรรมชาติ ครั้งที่ 5 เนื่องมาจากคณิตศาสตร์อยู่ใกล้ตัวเรา

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--สสวท.

แหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนนั้น มีทั้งแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติและสถานที่ ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น อาจจะอยู่ ในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนก็ได้ ดังเช่น แหล่งเรียนรู้อย่างสวนหลวง ร.9 ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vcharkarn.com) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมดี ๆ เพื่อเยาวชน นั่นคือ กิจกรรม “คณิตศาสตร์ ใส ๆในธรรมชาติ” จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 แล้ว กิจกรรมคณิตศาสตร์ใส ๆในธรรมชาติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ประถมศึกษาปีที่ 6 จัดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2553 กิจกรรมในปีนี้ แบ่งตามกลุ่มดอกไม้เช่นเดิม โดยมี 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปันหยี (เสื้อสีขาว) กลุ่มไฮเดรนเยีย (เสื้อสีฟ้า) กลุ่มเดือนฉาย (เสื้อสีส้ม) และกลุ่มบัวหลวง (เสื้อสีชมพู) นอกจากนั้น งานนี้ยังมีคุณครูที่มาสังเกตการณ์จากหลากหลายโรงเรียน โดยเฉพาะจาก จ. ชุมพรและ บริษัท Double A มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมนำของรางวัลมามอบให้น้องๆ ด้วย โดยปีนี้ พี่สมเกียรติ เพ็ญทอง นักวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษาของ สสวท. หัวหน้าทีมวิทยากร พร้อมพี่ๆ ทีมงานได้เพิ่มเติมฐานการเรียนรู้ออกเป็นหลายฐานมากขึ้น ฐานแรก คือ แรลลี่คณิตศาสตร์ แต่ละกลุ่มจะแข่งกันการบวกลบคูณหาร ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ความรวดเร็ว ฐานปริศนาสวนจีน ฝึกการสังเกตและการคำนวณ ให้น้องๆ หาสิ่งรอบๆ ที่อยู่ในสวนจีนมาเป็นคำตอบ พร้อมคำนวณหาพื้นที่ต่างๆ เช่น ความสูงของแจกัน องศาของรูปดาวในคฑา เทพเจ้า ฐานสวนสวยด้วยคณิตศาสตร์ ร่วมหาคำตอบทางคณิตศาสตร์ที่หน้าอาคารพันธุ์ไม้ทะเลทรายและอาคารพันธุ์ไม้ในร่ม สังเกตเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความงามของธรรมชาติกับคณิตศาสตร์ ทั้งที่ปรากฏอยู่ ในธรรมชาติและศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาศัยหลักคณิตศาสตร์ มีการนำหลักการสมมาตรมาใช้ และการนำรูปทรงแบบต่างๆ ทางเรขาคณิตมาประกอบ และหาพื้นที่ทางคณิตศาสตร์ ฐานโอ้โฮ ! ต้นไม้สูงจัง วิธีวัดความสูงของต้นไม้ ซึ่งมีหลายวิธีมาก ฐานกงกรรม กงเกวียน ล้อเกวียนกลมๆ เรามามองแบบคณิตศาสตร์ด้วยการให้น้องๆ หาคำตอบว่าหากหมุนบนถนน จะวนจากหัวถนนไปยังปลายถนนได้กี่รอบ ฐานดอกอะไรสวยจัง หากสังเกตธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา จะเห็นว่าสิ่งต่างๆ เช่น พืช ผัก ผลไม้ รวมไปถึงดอกไม้ แต่ละชนิด แต่ละสายพันธุ์ แม้จะมีความแตกต่างกันออกไป แต่ยังมีบางสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะในตัวของมันเองและเป็นเช่นนี้เสมอสำหรับสายพันธุ์เดียวกัน หากสังเกตดีๆ จะพบว่าลักษณะเฉพาะเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างลงตัว ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือ ลำดับฟิโบนักซี ยกตัวอย่าง ดอกทานตะวัน ลูกสน สัปปะรด แต่อย่างไรก็ตาม ในธรรมชาติยังมีดอกไม้อีกหลายชนิดที่มีจำนวนกลีบไม่เป็นไปตามลำดับฟิโบนักซี่ น้องๆ ได้เรียนรู้การสังเกตดอกไม้ ผลไม้ในธรรมชาติ และได้เรียนรู้เรื่องลำดับฟิโบนักซีในฐานนี้ ฐานศาลาพักใจ ศาลาพักผ่อนในสวนหลวง ร.9 มีหลายหลัง สร้างไว้อย่างสวยงาม ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่ามีรูปเรขาคณิตอยู่มากมายที่ศาลา แต่หากเกิดฝนตกลงมา ศาลาจะสามารถรองรับคนเข้าไปหลบฝนได้กี่คน ซึ่งน้องๆ ต้องคำนวณกันหลายรอบ หลายวิธี พื่อให้ได้คำตอบที่ใกล้เคียงคำตอบที่ถูกต้องที่สุด พี่สมเกียรติ เพ็ญทอง หัวหน้าทีมวิทยากร กล่าวว่า ““ถ้าหากสวนหลวง ร.9 มีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างที่ สสวท.ทำไว้เป็นตัวอย่างครั้งนี้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปกครองที่พาบุตรหลาน มาเที่ยวได้เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองจะได้มาพักผ่อนที่สวนหลวง ร.9 ในวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์แล้ว ยังสามารถนำชุดกิจกรรมนี้เรียนรู้ไปพร้อมกับบุตรหลาน เนื่องจากการเรียนรู้ไม่ได้เป็นหน้าที่ของครูแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ปกครองยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับบุตรหลานได้อีกทางหนึ่ง ถ้าหากผู้ปกครองได้เห็นกิจกรรมที่นำเสนอ อาจจะถามคำถามต่างๆ ให้ลูกตอบ พยายามคัดเลือกคำถามที่มีคำตอบที่เป็นไปได้หลายๆ แบบ เด็กจะได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาตอบคำถาม เป็นการย้ำว่าคณิตศาสตร์มีประโยชน์และอยู่รอบตัวเรา” น้องจีน ณิชากร วรขจิต บอกว่า ชอบฐานปริศนาสวนจีน ร่วมกิจกรรมนี้แล้วประทับใจในเรื่องคณิตศาสตร์ที่แฝงในธรรมชาติ รู้สึกดีต่อคณิตศาสตร์มากขึ้น และชอบคณิตศาสตร์มากขึ้น น้องเมล รุ่งฤดี เสฏฐัตต์ เล่าว่า ชอบเดินในเขาวงกต กิจกรรมคณิตศาสตร์ใสๆ นี้สนุกมาก และ พี่ ๆ วิทยากรก็ตลกด้วย น้องอุ้ม อารยา เอื้อวงศ์วัฒนา เป็นอีกคนที่ชอบฐานปริศนาสวนจีน เพราะได้ไขปริศนา ประทับใจทุกอย่างในการหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ ร่วมกิจกรรมแล้วรู้สึกดี เพราะสนุก ทั้งนี้ ทีมงานหวังที่จะเห็นน้องๆ ทุกคน ตระหนักในคุณค่าและประโยชน์ของคณิตศาสตร์ ซึ่งการเข้าค่ายในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้กับน้องๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล หรือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยสอดแทรกอยู่ในกิจกรรมฐานต่างๆ โดยที่น้องๆ จะได้รับโดยไม่รู้ตัว นอกจากการจัดกิจกรรมโดยตรงให้แก่เยาวชนแล้ว สสวท. ยังมุ่งเน้นที่จะขยายผลไปสู่ครูคณิตศาสตร์ให้นำไปจัดกิจกรรมต่อในโรงเรียนของตน จึงได้ทำคู่มือการจัดกิจกรรมนี้เผยแพร่ให้แก่ครูคณิตศาสตร์ รวมทั้งนำแนวคิดการจัดกิจกรรมไปบรรยายเผยแพร่ต่อตามเวทีต่าง ๆ ด้วย ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท. สินีนาฎ ทาบึงกาฬ / รายงาน สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์วันนี้

นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คว้ารางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และรางวัลต่าง ๆ จากการนำเสนอโครงการในจัดการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (International Conference of Young Scientists : ICYS) ครั้งที่ 31 หรือ ICYS 2025 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ณ จังหวัดระยอง รศ.ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยเป็น

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโน... สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education" — ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... อ่านฟรีรับปีใหม่ นิตยสารสสวท.ออกแล้ว — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนอ่านฟรี นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251 พบกับเนื้อหาน่าสนใจ "การ...

สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือ... เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว — สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานมหกรรมหนังสือ... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เปิดตัว "เก่งสอบ" แพลตฟอร์มข้อสอบออนไลน์ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิ...

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู... เด็กไทยคว้า 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิกจากอียิปต์ — รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์แ...