กรมธุรกิจพลังงานแถลงผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 53 พร้อมแจงสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาส 3

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กรมธุรกิจพลังงาน

กรมธุรกิจพลังงานจัดแถลงข่าว สถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาส 3 พบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 เล็กน้อย พร้อมเผยผลการดำเนินงานสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำมันทั่วประเทศ แจงความคืบหน้าโครงการควบคุมไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิง (VRU) โครงการปั๊มคุณภาพปลอดภัยน่าใช้บริการปี 3 โครงการ LPG Safety 2010 และยอดเงินค่าธรรมเนียมที่นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินกว่า 90 ล้านบาท นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงว่า การใช้พลังงานในช่วงเดือนกันยายน 2553 ที่ผ่านมาว่า มีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2553 โดยการใช้น้ำมันเบนซินรวมอยู่ที่ 20.3 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2% การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 47.4 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 3% การใช้ LPG อยู่ที่ 16,100 ตัน/วัน หรือ 482,000 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้น 3% และการใช้ NGV อยู่ที่ 5,300 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 5% โดยคาดการณ์ว่า ในเดือนตุลาคมนี้จะมีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรที่มีการใช้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี สำหรับสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงรายไตรมาส ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภาพรวมปี 2553 ในช่วงไตรมาสที่ 3 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ยกเว้น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพียงชนิดเดียวที่มีอัตราการใช้ลดลง โดยมีการใช้น้ำมันเบนซินรวมเฉลี่ย 20.3 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 1% และการใช้ LPG รวม 15,300 ตัน/วัน หรือ 469,000 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้น 5% และในส่วนของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีอัตราการใช้ลดลง อยู่ที่ 47.5 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากไตรมาส 2 อยู่ 7% เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม เป็นช่วงฤดูมรสุมมีฝนตกหนักเกือบตลอดทั้งเดือนและมีน้ำท่วมในบางพื้นที่ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 การใช้น้ำมันในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้นทุกชนิด ด้านการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงภาพรวมในไตรมาส 3 (กรกฎาคม- กันยายน)มีปริมาณรวม 12,419 ล้านลิตร ปรับลดลงจากไตรมาส 2 ซึ่งมีการนำเข้ารวม 13,165 ล้านลิตร หรือคิดเป็น 5.7% มีมูลค่านำเข้ารวม 188,121 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 ซึ่งมีมูลค่า 212,487 ล้านบาทหรือคิดเป็น 11.5% โดยในจำนวนนี้ เป็นการนำเข้า LPG มาจากต่างประเทศ 363,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7,600 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 มีปริมาณการนำเข้า LPG รวม 432,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 10,500 ล้านบาท ลดลง 16% และ 27% ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป มีปริมาณ 3,700 ล้านลิตร มูลค่า 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 อยู่ 24% และ15% ตามลำดับ ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง 2553 นายพีระพล สาครินทร์ กล่าวว่า กรมธุรกิจพลังงานมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ค้าน้ำมันทั่วประเทศในปีงบประมาณ 2553 รวมทั้งสิ้น 6,507 ราย 11,636 ตัวอย่าง พบการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำ 199 ราย 223 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.06 และ1.92 ของจำนวนรายและจำนวนตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ยังเป็นปั๊มอิสระอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานได้พิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดทุกราย และจากการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบในรอบปีที่ผ่านมา พบว่าในภาพรวมแนวโน้มการจำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำลดลง โดยในปีงบประมาณ 2552 ตรวจพบการจำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำ คิดเป็นร้อยละ 5.24 และ 3.16 ของจำนวนรายและจำนวนตัวอย่างที่ตรวจสอบ ส่วนหนึ่งเกิดจากกรมธุรกิจพลังงานได้ประกาศแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างสีของน้ำมัน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้นหากมีการปลอมปน นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2554 กรมธุรกิจพลังงานมีแผนเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบ โดยจัดทำโครงการขยายขีดความสามารถด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สำนักวิชาการพลังงานภาคได้กำกับดูแลคุณภาพของสถานีบริการที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะวางแผนการตรวจสอบคุณภาพโดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่มีปัญหา รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสรรพสามิต เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันในการตรวจสอบและปราบปรามผู้กระทำผิดต่อไป โครงการ “ปั๊มคุณภาพ ปลอดภัย น่าใช้บริการ” ปี 3 กรมธุรกิจพลังงานเตรียมโครงการ “ปั๊มคุณภาพ ปลอดภัย น่าใช้บริการ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้จะเปิดรับสมัครสถานีบริการน้ำมันสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553 จำนวน 1,500 แห่งทั่วประเทศ แบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 3 ประเภท คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง มีหลักเกณฑ์การตรวจประเมิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ระบบควบคุมคุณภาพน้ำมัน ระบบควบคุมความปลอดภัย และ ระบบควบคุมความสะอาด สุขอนามัยและมาตรฐานการบริการ ซึ่งใน 2 ปีที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากสถานีบริการน้ำมันเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากมีสถานีบริการน้ำมันเข้าสมัครร่วมโครงการฯ จำนวนมาก โดยปีที่ 1 มีสถานีบริการที่ผ่านการคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 370 แห่ง และปีที่ 2 มีสถานีบริการที่ผ่านการคัดเลือกมีจำนวนทั้งสิ้น 437 แห่ง และสถานีบริการเหล่านี้มีการปรับปรุงพัฒนาสถานีบริการน้ำมันทั้งด้านความปลอดภัย คุณภาพน้ำมันดีสม่ำเสมอ และบริการที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตชุมชนใกล้เคียงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และที่พักผ่อนระหว่างการเดินทาง มีผลโดยตรงต่อภาพพจน์ของธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน สร้างเสริมความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการ ตลอดจนนำสู่การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน รอบสถานีบริการน้ำมันอันส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ผู้ประกอบการน้ำมัน รักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมใจ ติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเบนซิน ตามกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2550 กำหนดให้มีการติดตั้งหน่วยระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor Recovery System) หรือ VR ที่คลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมัน และรถขนส่งน้ำมัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปแล้ว กรมธุรกิจพลังงานได้ศึกษาผลการปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลประกอบมาตรการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พบปัญหา การเติมน้ำมันให้รถขนส่งน้ำมันต้องเป็นระบบเติมน้ำมันใต้ถัง (bottom loading) ทำให้รถขนส่งน้ำมันที่มีอยู่เดิมที่เป็นระบบเติมน้ำมันเหนือถัง (top loading) ไม่สามารถเข้าไปรับน้ำมันจากคลังน้ำมันได้ กรมธุรกิจพลังงานจึงได้ศึกษาระบบเติมน้ำมันเหนือถังในประเทศญี่ปุ่น และนำรูปแบบมาทดลองดัดแปลงคลังน้ำมันในประเทศไทย พบว่าค่ามลพิษที่เกิดขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้รถแบบ top loading ที่ผ่านการดัดแปลงสามารถใช้งานต่อไปได้ กรมธุรกิจพลังงานได้ดำเนินการแก้กฎหมายให้สอดคล้อง โดยออกกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 26 เมษายน 2553 ผ่อนผันให้มีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการจ่ายน้ำมันให้กับรถขนส่งน้ำมันเหนือถัง (top loading) เป็นเวลา 10 ปี และได้มีประกาศกระทรวงพลังงานเรื่อง ระบบรับและจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือถังสำหรับระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 6 พฤษภาคม 2553 กำหนดมาตรฐานการจ่ายน้ำมันให้แก่รถขนส่งน้ำมัน พร้อมได้มีประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 กำหนดบังคับใช้การควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่ 7 จังหวัดคือชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี สุราษฎร์ธานี โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 31 ธันวาคม 2553 จากข้อมูลล่าสุด คลังน้ำมันในพื้นที่ 7 จังหวัดได้ดำเนินการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วยหน่วยควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (VRU) และระบบเติมน้ำมันใต้ถังเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับระบบเติมน้ำมันเหนือถังที่มีการควบคุมไอน้ำมันหลายคลังได้ติดตั้งเสร็จและได้มีการใช้ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนพฤศจิกายน 2553 ขณะนี้ พบว่าผู้ประกอบการรถขนส่งน้ำมัน มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบเติมน้ำมันใต้ถัง มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพบว่าการใช้ระบบเติมน้ำมันใต้ถังสามารถเติมน้ำมันได้รวดเร็ว และไม่ต้องขึ้นไปทำงานบนที่สูงเหนือถังสามารถทำงานได้สะดวกและลดการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ไม่ต้องรอเติมน้ำมันที่คลังน้ำมันเป็นเวลานาน สามารถเพิ่มจำนวนเที่ยวการขนส่งน้ำมันทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการประกาศใช้กฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว สามารถควบคุมไอน้ำมันเบนซินได้ถึง 60% (กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวม 45% ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี สุราษฎร์ธานี รวม 15%) ซึ่งผลจากการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการลดการแพร่กระจายของไอน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ลดมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไอน้ำมันที่ระเหยไปกลับมาใช้เป็นน้ำมันได้อีก ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงช่วยให้ประเทศชาติลดการนำเข้าพลังงานได้อีกด้วย การดำเนินการในอนาคต กรมธุรกิจพลังงานจะได้ประสานกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ทั้ง 11 จังหวัดที่ได้ติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้ว หากพบว่าการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น จะได้พิจารณากำหนดเขตพื้นที่ติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตพื้นที่อื่นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่นั้นก่อนหากมีมลพิษสูงกว่ามาตรฐานจะได้พิจารณาดำเนินการต่อไป ธพ.เดินเครื่องโครงการ “LPG SAFETY 2010” กรมธุรกิจพลังงานเตรียมจัดกิจกรรมสัญจรให้ความรู้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ภายใต้ชื่อ โครงการ “LPG SAFETY 2010” ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยในปีแรกได้ดำเนินการไป 20 จังหวัด มีเยาวชนเข้าร่วมอบรมกว่า 5,000 คน ปีที่ 2 ได้จัดฝึกอบรมไปแล้วในพื้นที่ 8 จังหวัด มีเยาวชนเข้าร่วมอบรมกว่า 6,000 คน โดยในปีที่ 3 นี้ กรมธุรกิจพลังงานได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานไว้ 24 จังหวัด โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 14,400 คน โดยกิจกรรม จะมีการให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มุ่งเน้นให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นด้านการใช้พลังงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม อาทิ การให้ความรู้เรื่องคุณสมบัติของก๊าซหุงต้มและการนำมาใช้ในครัวเรือนอย่างปลอดภัย การแนะนำให้รู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม การบำรุงรักษา รวมทั้งการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เกิดจากก๊าซหุงต้ม เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่คนในครอบครัวและชุมชนของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุจากก๊าซหุงต้มได้อีกทางหนึ่ง กรมธุรกิจพลังงานนำส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินปี 53 ยอดรวมกว่า 90 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2553 กรมธุรกิจพลังงาน สามารถเก็บค่าธรรมเนียมสะสมเป็นเงินรายได้นำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินจำนวน 90,015,000 บาท จากการรับชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 26,392 ราย โดยกรมธุรกิจพลังงานคาดว่ายอดชำระรวมจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2554 นี้จะเป็นการจัดเก็บรายได้ให้กับแผ่นดินไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวกรมธุรกิจพลังงาน+น้ำมันเชื้อเพลิงวันนี้

มทร.ธัญบุรี จับมือ วช. เปลี่ยนขยะพลาสติกและน้ำมันเครื่อง เป็น 'น้ำมันดีเซล’

อาจารย์ มทร.ธัญบุรี สุดเจ๋ง!!! เปลี่ยนขยะพลาสติกและน้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้ว เป็นน้ำมันดีเซล รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า อาจารย์ มทร.ธัญบุรี ได้สร้าง 'เครื่องต้นแบบกระบวนการไพโรไลซิส' สำเร็จ เปลี่ยนขยะพลาสติกและน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ระบุคุณภาพน้ำมันเทียบเท่าน้ำมันดีเซล โดยไม่ต้องอาศัยการกลั่น สมบัติผ่านมาตรฐานตามที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานได้ประกาศไว้ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นความสำ

บริษัท ซัสโก้ จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ประกอ... SUSCO คุมเข้มด้าน “ความปลอดภัย” จัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง — บริษัท ซัสโก้ จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานเชื...

นางปัทมา เล้าวงษ์ (ที่ 7 จากซ้าย) รองประธ... SMPC เปิดบ้านต้อนรับกรมธุรกิจพลังงานและ PTTOR โชว์ศักยภาพการผลิตถังแก๊สมาตรฐานสากล — นางปัทมา เล้าวงษ์ (ที่ 7 จากซ้าย) รองประธานกรรมการ บริษัท สหมิตรถังแก...

นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการ... กทม.นำร่องใช้ระบบ ATC 13 ทางแยก ลดความล่าช้าเดินทางชั่วโมงเร่งด่วนได้ 10% — นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.กล่าวถึงการข...

ดร.มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรว... ผู้บริหารบางจากฯ ร่วมมอบรางวัลดีเด่นด้านความปลอดภัย ประจำปี 2566 ของสมาคม IESG — ดร.มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานในพิธี พร้อมด้วย น...

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริห... โออาร์ พร้อมสำรองน้ำมันเพียงพอรองรับความต้องการในช่วงเทศกาล — นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หร...

นายสมชัย เตชะวณิช ประธานเจ้าหน้าที่การตลา... บางจากฯ ให้ความมั่นใจ สถานีบริการน้ำมันบางจาก มีน้ำมันเพียงพอรองรับความต้องการของประชาชน — นายสมชัย เตชะวณิช ประธานเจ้าหน้าที่การตลาดและรองกรรมการผู้จัดกา...

นายพิทักษ์ รัชกิจประการ (ที่ 2 จากซ้าย) ป... "พีทีจี - กฟผ." เปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT — นายพิทักษ์ รัชกิจประการ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายรังส...