ใครที่ชอบนั่งนาน ๆ ระวัง "รวยโรค" ไม่รู้ตัว

กรุงเทพฯ--18 พ.ย.--โรงพยาบาลปิยะเวท

ใครที่ชอบนั่งทำงาน หรือนั่งจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานเกินไป พิจารณาข่าวนี้ให้ดี ๆ เพราะล่าสุดมีนักวิจัยทางการแพทย์สหรัฐฯ ออกมาบอกว่า การนั่งทำงานรวดเดียวเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ถึงแม้จะออกกำลังกายประจำ ก็ยังเสี่ยงอายุสั้นอยู่ดี งานวิจัยข้างต้น พญ.กรุณา อธิกิจ อายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้ผ่าน ทีมงาน Life and Family ว่า การนั่งนาน ๆ เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ชายที่นั่งทำงานอยู่กับที่มากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 2 เท่า และเสียชีวิตจากโรคหัวใจเทียบกับการทำงานที่ต้องเดิน สอดรับกับการศึกษาจากสมาพันธ์มะเร็งอเมริกา ที่ทำการศึกษาถึงเวลานั่ง และการออกกำลังกายกับอัตราการเสียชีวิตของอาสาสมัครระหว่างปี 1993-2006 ของอาสาสมัครชายหญิงจำนวน 53,440 และ 69,776 คนตามลำดับ ซึ่งไม่มีใครเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ อัมพาต และโรคปอดเลย โดยระหว่างช่วงทำการศึกษา ทีมวิจัยพบว่า ยิ่งนั่งพักนานเท่าไร ยิ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง มีรายงานว่า ผู้หญิงที่นั่งเกินวันละ 6 ชม. เสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิงที่นั่งวันละ 3 ชม. หรือประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ชายที่นั่งนานเกินวันละ 6 ชม. มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ชายที่นั่งวันละ 3 ชม. หรือประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์นี้ไม่เปลี่ยนแปลงหลังหักลบเวลาออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังพบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากกว่าโรคมะเร็ง ดังนั้น ไม่ว่าจะออกกำลังกาย 30-60 นาที แต่หากใช้เวลาที่เหลือของวันกับการนั่งนาน ๆ ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และเสียชีวิตได้ ไม่เพียงแค่โรคหัวใจเท่านั้น การนั่งนาน ๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมง แพทย์สาขาอายุรกรรมท่านนี้บอกต่อว่า ยังเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคระบบหลอดเลือด เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกได้ง่าย ส่วนมากจะเกิดกับผู้โดยสารบนเครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะเวลานานนับสิบชั่วโมงโดยไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือคนขับรถเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโรคทางระบบเมทตาโบลิค (ระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายช้าลง) เป็นสาเหตุให้เกิดโรคน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง โรคเบาหวานชนิดที่สอง ระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้สูง ตลอดจนโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคทางกระดูก และกล้ามเนื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนั้น แพทย์สาขาอายุรกรรมรายนี้ แนะนำสมาชิกทุกบ้านว่า ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิคให้ได้ทุกวัน ประมาณวันละ 30-60 นาที ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญควรลดการเวลาการนั่งนาน ๆ ด้วยการเปลี่ยนท่วงท่า หรือเดินยืดเส้นยืดสายบ้าง "คนที่ชอบนั่งทำงานอยู่ที่ติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ โดยทุก 1 ชม. ควรใช้เวลาเดินเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เช่น เดินขึ้นลงบันได 1-2 ชั้น “คนที่ชอบนั่งทำงานอยู่ที่ติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ โดยทุก 1 ชม. ควรใช้เวลาเดินเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เช่น เดินขึ้นลงบันได 1-2 ชั้น หรือลดการพูดคุยสื่อสารทางเมล แต่ใช้การสื่อสารโดยตัวท่านเองในระหว่างเพื่อนร่วมงาน" พญ.กรุณาฝากทิ้งท้าย (แหล่งข้อมูล : เว็ปไซค์ผู้จัดการ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-625-6555 โรงพยาบาลปิยะเวท สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรงพยาบาลปิยะเวท+กรุณา อธิกิจวันนี้

เตือนภัย “ฉี่หนู” ภัยใกล้ตัวที่มากับฝน

เมื่อฤดูฝนผ่านเข้ามาเยือนอีกครั้ง นำพาความชุ่มมาให้พร้อมกับอากาศก็จะเริ่มเย็นลง ความชื้นก็สูงขึ้น ทำให้เกิดการเปียกชื้นหรือเปียกปอนต่อเสื้อผ้า เวลาเดินทางไปไหนก็จะค่อนข้างลำบาก มักจะตกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน จนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งน้ำนี้แหละจะนำเชื้อโรคมากมายมาสู่ตัวคุณ แพทย์หญิงกรุณา อธิกิจ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่าโรคที่มากับหน้าฝนและน้ำที่สำคัญ คือ โรคฉี่หนู หรือ เล็ปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยสัตว์ที่

นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดก... รพ.ปิยะเวท จับมือ อัลฟ่า คอม เปิดให้บริการ Mobile lab ตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยี CRISPR — นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค...

บมจ.เซนต์เมด (SMD) ผู้นำธุรกิจจัดจำหน่ายเ... 'SMD' รับใบสั่งซื้อครุภัณฑ์การแพทย์สำหรับโรงพยาบาลสนามสองแห่ง มูลค่ามากกว่า 130 ล้านบาท — บมจ.เซนต์เมด (SMD) ผู้นำธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์เฉพาะทางด...

มุ่งเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-... นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม โครงการลมหายใจเดียวกัน 120 เตียง ใหญ่ที่สุดในประเทศ — มุ่งเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น...