โครงการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค

กรุงเทพฯ--23 ก.พ.--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

นายประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “โครงการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.30-12.30 น. ณ Jupiter Room 4-7 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 400 คน โดยมาจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการไทยเข้มแข็งทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานกลาง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น การจัดงานสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงานดำเนินโ ครงการ (Implementing Agency) เกี่ยวกับกรอบการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และขอความร่วมมือหน่วยงานดำเนินโครงการในการให้ข้อมูลโครงการแก่ที่ปรึกษาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะที่ต้องออกสำรวจ (Survey) เก็บข้อมูลติดตามและประเมินผลในภาคสนาม เพื่อจัดทำรายงานติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และคณะรัฐมนตรี การสัมมนาในวันนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้นำเสนอกรอบติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อจะนำไปใช้ติดตามและประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค สรุปได้ดังนี้ 1) การติดตามประเมินผลโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1.1 ระดับโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ การเบิกจ่ายงบประมาณ ผลผลิต ผลลัพธ์ การจัดซื้อจัดจ้าง ด้านเทคนิค ปัญหา/อุปสรรค ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ประกอบการแก้ไข ปรับปรุง ยกเลิกหรือดำเนินโครงการต่อไป 1.2 ระดับแผนงานรายสาขา เพื่อติดตามการดำเนินโครงการว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 8 ข้อ 1.3 ระดับภาพรวม เพื่อติดตามผลกระทบของโครงการต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม แบบบูรณาการในระยะสั้น และระยะยาว 2) การจัดทำตัวชี้วัด การจัดทำตัวชี้วัดแบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดระดับโครงการและตัวชี้วัดระดับสาขาการลงทุน โดยตัวชี้วัดได้สอดคล้องกับด้านปัจจัย ผลผลิต ผลลัพธ์ และวัตถุประสงค์โครงการที่แต่ละหน่วยงานได้เสนอโครงการมา นอกจากนี้ ตัวชี้วัดได้มีการทดสอบ (Pretest) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้ผ่านความเห็นชอบจากแต่ละหน่วยงานเพื่อนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต ้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 3) แนวทางการติดตามและประเมินผลโครงการการดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การติดตามโครงการส่วนหนึ่งและ การประเมินผลโครงการอีกส่วนหนึ่ง 3.1 การติดตามโครงการ เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ การกระตุ้นและเร่งรัดการดำเนินโครงการของแต่ละโครงการให้ดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทราบปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไขให้โครงการดำเนินการต่อไป อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจยกเลิกโครงการ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ 3.2 การประเมินผลโครงการ เป็นการประเมินผลโครงการที่ดำเนินการเสร็จแล้วว่าโครงการประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่โครงการได้กำหนดไว้ ตลอดบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งในระยะยาวหรือไม่ โครงการมีความยั่งยืนเพียงใด การเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) รวบรวมข้อมูลโครงการตามตัวชี้วัดที่จัดไว้ และ 2) การสัมภาษณ์ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จากนั้นจึงทำการประเมินใน ด้านต่างๆ กล่าวคือ การประเมินตัวโครงการ เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการ ว่า อยู่ในระดับใด ตั้งแต่ผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างว่าเป็นไปตามระเบียบราชการหรือไม่ ตลอดจนการตรวจสอบด้านเทคนิค โดยเน้นการตรวจสอบการก่อสร้างว่าเป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานทั่วไปหรือไม่ การประเมินผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ เป็นการประเมินความพึงพอใจของผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการและประโยชน์ที่ได้รับว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการด้วยหรือไม่ โดยสอบถามกับหน่วยงานที่ดำเนินโครงการและผู้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรงและอ้อม 4) เกณฑ์การประเมินความสำเร็จของโครงการ การประเมินผลความสำเร็จของโครงการและในระดับสาขาโครงการภายใต้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้กำหนดให้ใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นสากลใน 5 ประการประกอบด้วย (1) Relevance ประเมินความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของรัฐบาลหรือหน่วยงานดำเนินโครงการ (2) Effectiveness ประเมินความสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (3) Effic iency ประเมินด้านประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรที่ต้นทุนต่ำ (4) Impact ประเมินผลกระทบของโครงการที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (4) Sustainable ประเมินความยั่งยืนของโครงการที่ได้ดำเนินการว่ามีมากน้อยเพียงใด ในช่วงท้ายของการสัมมนาในวันนี้บริษัทที่ปรึกษาโครงการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พื้นที่ 4 ภาค พร้อมทีมงานได้มาแนะนำตัวและได้เริ่มปฏิบัติงานแล้วในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีระยะเวลาสัญญาจ้าง 1 ปี โดยบริษัทที่ปรึกษาจะลงพื้นที่สำรวจ (Survey) เก็บข้อมูลติดตามและประเมินโครงการในภาคสนาม เพื่อจัดทำรายงานติดตามและประเมินผลโครงการเสนอต่อคณะกรรมการติดต ามและประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งมีนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้กล่าวขอความร่วมมือหน่วยงานดำเนินโครงการต่างๆ ในการรายงานข้อมูลเข้าระบบการติดตามและรายงานผลโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (Projects Financial Monitoring System: PFMS-SP2) ให้มีความสมบูรณ์โดยเร็ว รวมทั้งการให้ข้อมูลโครงการแก่บริษัทที่ปรึกษาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทั้ง 4 ราย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์จัดทำร ายงานติดตามและประเมินผล ต่อไป สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5709

ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+ประวิช สารกิจปรีชาวันนี้

การเคหะแห่งชาติเผยแผนผุด Mixed Use ในเมืองชุมชนดินแดง ช่วยสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

การเคหะแห่งชาติ ให้การต้อนรับ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ลงพื้นที่โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1 เพื่อติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลความสำเร็จการดำเนินงาน ซึ่งเป็นโครงการลงทุนภาครัฐที่อยู่ระหว่างดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 ณ โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 1 อาคาร G แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ นางฐิตาภรณ์ ลาภเกียรติเสรี รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงเป็นการใช้เงินกู้จากรัฐบาลเป็นหลัก ปัจจุบันดำ

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์... วว. นำเสนอผลการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดอุดรธานีด้วย วทน. — ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่... SME D Bank เข้าพบผู้บริหารกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 66 — ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนางสาวนาร...

"ออมเพิ่มสุข" บนวอลเล็ต สบม. เต็มวงเงิน 10,000 ล้านบาทแล้ว พบกันอีกครั้ง 15 มิถุนายน 2565 ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุขบนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 10,000 ล้านบาท จำหน่ายได้ครบวงเงินเรียบร้อยแล้ว...

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงาน... พร้อมออมกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น "ยิ่งออมยิ่งได้" — นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจะเริ่...

Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ ...