ไซแมนเทคเผย การคาดการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย และการจัดเก็บข้อมูลท็อปฮิต ในปี 2554

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--เอพีพีอาร์ มีเดีย

ไซแมนเทคเผย การคาดการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลท็อปฮิต ในปี 2554คลาวด์, เวอร์ชวลไลเซชัน ระบบรักษาความปลอดภัยบนโมบาย และโซเชียล มีเดีย ขึ้นแท่นยอดนิยมในปีใหม่นี้ ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยการคาดการณ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัย และสตอเรจในปี 2554 ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยและสตอเรจได้มีการสังเกตการณ์เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลในภาพรวม โดยองค์กรธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันต่างเต็มไปข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไป เนื่องจากข้อมูลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด และในแทบจะทุกวันก็มีการเปิดตัวหรือไม่ก็นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ตลาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้คำมั่นสัญญาว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจได้มากขึ้น “เนื่องจากทุกวันนี้ งบด้านไอทีเริ่มชะลอและลดลง ทำให้บรรดาบริษัทชั้นนำต่างๆ ต้องทำให้ค่าใช้จ่ายไอทีที่จ่ายไปสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น” นายนพชัย ตั้งไตรธรรม, ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส, ไซแมนเทค ประเทศไทย กล่าวพร้อมเสริมว่า “การที่องค์กรธุรกิจมีความเข้าใจในเรื่องความท้าทาย ความเสี่ยงและ ภัยคุกคาม ก็จะช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถวางแผนพร้อมนำความริเริ่มด้านไอทีในเชิงกลยุทธ์มาใช้ภายในองค์กร อย่างเช่น เวอร์ชวลไลเซชัน การรักษาความปลอดภัยบนระบบสื่อสารเคลื่อนที่ การเข้ารหัส การแบ็กอัพและกู้คืนข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว รวมถึงคลาวด์คอมพิวติ้ง มาช่วยปกป้องและบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” คลิ๊กเพื่อทวีต การคาดการณ์ของไซแมนเทคในปี 2554 - คลาวด์ เวอร์ชวลไลเซชัน การรักษาความปลอดภัย บนระบบสื่อสารเคลื่อนที่ และโซเชียล มีเดีย มีบทบาทสำคัญมากขึ้น http://bit.ly/ibGkcr เทคโนโลยีใหม่ กับ ความท้าทายใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีเริ่มมีความฉลาดมากขึ้นและเร็วขึ้น ภัยคุกคามต่อเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ฉลาดขึ้นและพัฒนาเร็วขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนในหมู่ผู้บริโภคมีจำนวนสูงขึ้นมาก ซึ่งส่งผลให้มีการนำสมาร์ทโฟนมาใช้ร่วมกับระบบงานในองค์กรมากยิ่งขึ้น ทำให้เส้นแบ่งระหว่างธุรกิจกับการใช้งานส่วนตัวเริ่มไม่ชัดเจน และทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์โมบายในปี 2544 นี้ นักวิเคราะห์จากไอดีซี คาดการณ์ว่า จนถึงปลายปีนี้ มีการส่งมอบอุปกรณ์โมบายเพิ่มขึ้นถึง 55% ด้านการ์ทเนอร์ก็คาดการณ์ไว้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ จะมีผู้คนประมาณ 1.2 พันล้าน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อเว็บได้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์อาจจะยังดูไม่ค่อยสนใจกับอุปกรณ์โมบายนี้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เติบโตมากขึ้น และมีแพลตฟอร์มระบบโมบายอยู่พอสมควรในท้องตลาด ทำให้ดูจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้โจมตีจะพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์โมบายในปี 2554 และอุปกรณ์เหล่านี้ ก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแง่ที่เป็นเหตุให้ข้อมูลสำคัญสูญหายได้ ช่องว่างในการปกป้องเครื่องเสมือน การนำเวอร์ชวลไลเซชันมาใช้กันแพร่หลายก็ทำให้เกิดความท้าทายในลักษณะเดียวกัน แม้ว่าหลายบริษัทเชื่อว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันที่อยู่บนระบบโครงสร้างแบบเสมือนจะได้รับการปกป้องอยู่ก็ตาม หากยังมีผู้ดูแลด้านไอทีอีกหลายคนที่ต้องยอมรับความจริงว่าในปี 2554 เรื่องอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น การนำระบบโครงสร้างแบบเวอร์ชวลไลเซชันมาใช้ในเวลารวดเร็ว โดยติดตั้งใช้งานเป็นส่วนๆ และขาดมาตรฐาน ก่อให้เกิดช่องว่างตามมาทั้งเรื่องของความปลอดภัย ความพร้อมของระบบงานและการแบ็กอัพ แม้ว่าเวอร์ชวลไลเซชันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเซิร์ฟเวอร์ แต่องค์กรธุรกิจหลายแห่งก็กำลังพบว่าทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสตอเรจและการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกัน และถ้าไม่มีการวางแผนปกป้องสภาวะงานเหล่านี้ ก็อาจทำให้ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างเต็มที่เช่นกัน การควบคุมข้อมูล ระดับการเติบโตของข้อมูลในลักษณะก้าวกระโดด นับเป็นอุปสรรคในเวลาที่องค์กรต้องบริหารจัดการและกู้คืนข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ ในปี 2544 ผู้ดูแลสตอเรจจะต้องพยายามควบคุมข้อมูลให้ได้ทั้งหมด พร้อมกับต้องปล่อยวางความคิดเรื่องที่ว่าจะต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้หมด และต้องแยกประเภทให้ได้ว่าข้อมูลใดที่มีความสำคัญมากและควรเก็บรักษาไว้ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ค่าใช้จ่ายด้านสตอเรจก็จะพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง และองค์กรยังต้องเผชิญกับการที่ต้องเสียเวลาจำนวนมากไปกับการกู้คืนข้อมูล อีกทั้งยังไม่สามารถดำเนินการได้สอดคล้องตามมาตรฐานด้านกฏเกณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฏหมายสิทธิส่วนบุคคล และการสืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียมาช่วยในเรื่องของการสื่อสารและเพิ่มผลิตผลทั่วทั้งองค์กรยังเป็นการเพิ่มความซับซ้อนให้กับระบบ แม้ว่าโซเชียลมีเดียจะยังคงเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแนวทางในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในปี 2544 หากองค์กรด้านไอทียังต้องเข้าใจถึงวิธีการป้องกันและบริหารจัดการแอพลิเคชันที่ไม่ใช่มาตรฐานเหล่านี้ให้ได้ทั้งในแง่ของการกู้คืนและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจที่สื่อสารผ่านช่องทางเหล่านี้ การจัดเก็บข้อมูลในโซเชียลมีเดียแบบระยะยาวจะกลายเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากองค์กรต้องอาศัยศักยภาพในการทำธุรกิจผ่านเครือข่ายสังคม นอกจากนี้ยังต้องมีเก็บรักษาข้อมูลเหล่านี้ไว้ในระยะยาวในแง่ของการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงด้านข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ในเวลาที่มีการใช้ข้อมูลผ่านระบบโมบายมากขึ้น ทำให้ข้อมูลไม่ได้รับการจัดการผ่านระบบงานส่วนกลางเหมือนเคย ผู้มีอำนาจในการออกกฏจะเริ่มเข้ามาจัดระเบียบเรื่องนี้มากขึ้นในปี 2554 และจะผลักดันให้องค์กรเหล่านี้มีการติดตั้งเทคโนโลยีการเข้ารหัส โดยเฉพาะในอุปกรณ์โมบายต่างๆ ดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ ในปี 2544 องค์กรธุรกิจยังคงเน้นเรื่องการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในปี 2554 ในขณะที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบเฉพาะที่มีความฉลาดมากขึ้น ผู้ดูแลระบบไอทีต้องมีแนวทางที่ใช้ทั้งนวัตกรรมและกลยุทธ์มาช่วยในการแก้ปัญหา ในขณะที่ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 ก็จะมีโมเดลใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในการช่วยให้งานส่วนปฏิบัติการด้านไอทีง่ายขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง โฮสต์ เซอร์วิส และอุปกรณ์ประเภทแอพพลายแอนซ์ต่างๆ ล้วนเป็นตัวอย่างของโมเดลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และจะเปลี่ยนโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน โดยช่วยให้องค์กรปรับใช้โมเดลต่างๆ นี้ได้อย่างง่ายดาย และให้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น องค์กรต่างๆ จะมีการใช้ทั้งในพับลิกคลาวด์ และไพรเวทคลาวด์ เนื่องจากระบบเหล่านี้จะยิ่งมีความพร้อมมากขึ้นไปอีกในปีหน้า และจะมีเครื่องมือต่างๆ ออกมาเพื่อช่วยจัดการสภาวะงานด้านสตอเรจแบบใหม่ที่ซับซ้อนขึ้น อีกทั้งช่วยให้ผู้ดูแลระบบไอทีมีความเข้าใจที่ดีขึ้นและเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้จะช่วยให้หน่วยงานด้านไอทีได้ใช้ประโยชน์ของคลาวด์อย่างเต็มที่ รวมถึงทำเป็นรายงานเสนอผู้บริหารได้อย่างชาญฉลาด ในขณะที่ลูกค้ายังสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากบริการข้อความบนคลาวด์ และยังพบว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการสืบค้นข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในองค์กรเป็นระยะยาวด้วยรูปแบบผสมผสานในการทำอาไคฟว์หรือจัดเก็บข้อมูลระยะยาวบนคลาวด์ ช่วยให้องค์กรสามารถใช้บริการโฮสต์ข้อความไว้บนคลาวด์ ในขณะที่สามารถเก็บข้อมูลระยะยาวไว้ที่ไซท์งานตัวเองได้ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้องค์กรสามารถผสานการใช้งานด้านอีเมลร่วมกับแหล่งเนื้อหาที่จัดเก็บอยู่ในองค์กรเช่นบน PST, IM และในแชร์พอยท์ในกรณีที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวข้องต่างๆ มัลติมีเดีย - วิดีโอ เกี่ยวกับ การคาดการณ์แนวโน้มในปี 2554 จากไซแมนเทค - พ็อดแคสท์ เกี่ยวกับ การคาดการณ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม - บล็อกโพสต์: การคาดการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2554: สิ่งที่กำลังจะเกิด - ชมพรีเซนเทชันบน Slideshare: การคาดการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2554 - การสำรวจ: การคาดการณ์ความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2554 - การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันระบบโครงสร้างสำคัญประจำปี 2553 - การศึกษาเกี่ยวกับการกู้คืนภัยพิบัติประจำปี 2553 - การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล 2553 - แนวโน้มการเข้ารหัสข้อมูลจัดทำโดย Ponemon ประจำปี 2553 - รายงานสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในองค์กรประจำปี 2553 - รายงานสถานการณ์ดาต้าเซ็นเตอร์ประจำปี 2553 - รายงานภัยคุกคามความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 14 - ภาพรวมของ Trojan.Hydraq - การสำรวจด้านความปลอดภัยของมือถือและอุปกรณ์สมาร์ทโฟนจัดทำโดย Mocana ประจำปี 2553: ความกังวลที่เพิ่มตามความนิยม สมาร์ทโฟนต้นเหตุของปัญหาที่อาจบานปลาย (PDF) - Stuxnet Dossier (PDF) แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง - โซลูชันเพื่อการปกป้องข้อมูลจากไซแมนเทค - โซลูชันเพื่อการกู้คืนภัยพิบัติจากไซแมนเทค - โซลูชันด้านความพร้อมของระบบจากไซแมนเทค - ข้อมูลความปลอดภัยจากไซแมนเทค - การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากไซแมนเทค - การบริหารจัดการด้านสตอเรจจากไซแมนเทค - โซลูชันการบริหารจัดการระบบเวอร์ชวลไลเซชันจากไซแมนเทค - การรักษาความปลอดภัยบนเว็บจากไซแมนเทค ติดต่อกับไซแมนเทคได้ที่ช่องทางต่อไปนี้ - ติดตามเกี่ยวกับสตอเรจของไซแมนเทคบน Twitter - ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Symantec บน Facebook - อ่านข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ - ไซแมนเทค เชื่อมโยงชุมชนธุรกิจ สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด คุณมงคล จุลโยธิน 02-655-6633 [email protected] คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633 [email protected]

ข่าวไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น+รักษาความปลอดภัยวันนี้

ภาพข่าว: ไทยเซิร์ต สพธอ.จับมือ ไซแมนเทค สหรัฐ จัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานงานแถลงข่าวพิธีลงนาม ความร่วมมือในการจัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ระหว่าง ศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา ณ ห้อง BB 201 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ สำหรับความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ไทยเซิร์ต สพธอ.จับมือ ไซแมนเทค สหรัฐ จัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานงานแถลงข่าวพิธีลงนาม ความร่วมมือในการจัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จัดงาน Symantec Resilient Data Center 2012 และแถลงข่าวเปิดตัว Symantec Backup Exec 2012 & NetBackup 7.5

หากการจัดการข้อมูลและสำรองข้อมูลที่ใช้อยู่เกิดขัดข้อง และเพื่อฟื้นฟูระบบป้องกันข้อมูลให้ทันสมัยยิ่งขึ้น บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด ...

ภาพข่าว: ไซแมนเทคมอบเสื้อชูชีพ 500 ตัวพร้อม 500 ไลเซ่นส์โซลูชั่นกู้คืนข้อมูล เพื่อผู้ประสบอุทกภัยกับครอบครัวข่าว 3

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด นำโดย นายประมุท ศรีวิเชียร (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการประจำประเทศไทย นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค (ขวาสุด) และนางสาว...

ไซแมนเทค ช่วยวิกฤตน้ำท่วมด้วยการมอบฟรี 500 ไลเซ่นส์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ไซแมนเทค ช่วยวิกฤตน้ำท่วมด้วยการมอบฟรี 500 ไลเซ่นส์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมโซลูชั่น Symantec Backup Systems Recovery – Server Edition (SSR)เพื่อกู้ข้อมูลสำคัญ จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นหลายจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย...

ภาพข่าว: นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย ไซแมนเทค ได้รับโล่ห์เกียรติยศ

นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย ไซแมนเทค ได้รับโล่ห์เกียรติยศรางวัลบุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งปี 2011จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) เมื่อเร็วๆ นี้...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น จัดงานแถลงข่าว “ไซแมนเทคประกาศเปิดตัว Symantec Endpoint Protection 12.1 ที่มาพร้อมกับการป้องกันภัยคุกคามได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว”

บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเพื่อความปลอดภัย ระบบจัดเก็บข้อมูล และการบริหารระบบ ใคร่ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชน...

ไซแมนเทคประกาศแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Distributor) บริการ Symantec.Cloud รายแรกในไทย

“ไซแมนเทคประกาศแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Distributor) บริการ Symantec.Cloud รายแรกในไทย” บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเพื่อความปลอดภัย ระบบจัดเก็บข้อมูล และการบริหารระบบ ใคร่ขอ...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จัดงานแถลงข่าว รายงานสถานการณ์ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 16

บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จำกัดขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 16โดย คุณประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย คุณนพชัย ตั้งไตรธรรม...

ไซแมนเทค เผยผลวิจัย SMB ไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติและไม่ดำเนินการใดๆ จนสายเกินไป

การขาดการเตรียมการทำให้เกิดผลเสียทางการเงิน ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่นในวันนี้ ประกาศ ผลสำรวจเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือ SMB ในปี 2011 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค...