เตือนผู้ประกอบการไทยเตรียมรับมือกฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารฉบับใหม่ของสหรัฐอเมริกา

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--คต.

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ วุติสภาสหรัฐอเมริกาได้มีมติเห็นชอบผ่านกฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารของสหรัฐฯ ฉบับปรับปรุงใหม่ (FDA Food Safety Modernization Act หรือ S.๕๑๐) โดยคาดว่าจะบังคับใช้ภายในปี ๒๕๕๔ ครอบคลุมอาหารทุกชนิด ยกเว้น เนื้อวัว หมู ไก่ และ ไข่ ซึ่งกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เป็นผู้กำกับดูแลกฎหมายดังกล่าวสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ ๑. FDA Food Safety Modernization Act เป็นการแก้ไขกฎหมาย Food & Drugs CosmeticsAct (FFDCA) เพื่อเพิ่มอำนาจให้หน่วยงาน Secretary of Health and Human Service ภายใต้ FDA ในการตรวจสอบข้อมูลรายงานเกี่ยวกับการผลิตอาหาร ที่มีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีการปนเปื้อน หรือก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ และอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ ๒. ให้อำนาจ FDA ในการระงับซึ่งการจดทะเบียนโรงงานผลิตเป็นการชั่วคราว หากพบว่าอาหารนั้น ๆ มีความเป็นไปได้สูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือต่อชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์ ๓. ให้ FDA ประเมินและเก็บค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการ re-inspection โรงงานผลิต การเรียกคืนสินค้าอาหาร รวมทั้งการประเมินคุณสมบัติผู้นำเข้า ๔. ให้ FDA เพิ่มความถี่ในการตรวจโรงงานผลิตสินค้าและรายงานต่อรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นประจำทุกปี ๕. ให้ FDA ปรับปรุงการติดตาม ตรวจสอบหาสาเหตุกรณีผลไม้และพืชผักนั้นก่อให้เกิดความเจ็บป่วยที่มาจากอาหาร ๖. แก้ไข/ ปรับปรุงมาตรฐานการกักกันสินค้าอาหาร ซึ่งจะดำเนินการได้ ก็ต่อเมื่อ FDA มีเหตุที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินค้าอาหารมีการปนเปื้อน หรือปิดฉลากไม่ถูกต้อง ๗. กำหนดให้มีการแจ้งล่วงหน้า ( Priority Notice) สินค้าอาหารนำเข้า และให้เพิ่มเติมข้อมูลรายชื่อประเทศที่ปฏิเสธสินค้าอาหารชนิดเดียวกับที่จะนำเข้ามายังสหรัฐฯ ๘. ให้อำนาจ FDA ในการดำเนินการและจัดทำข้อตกลงกับรัฐบาลต่างชาติเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบโรงงานในต่างประเทศที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ทั้งนี้ ให้ปฏิเสธการนำเข้าอาหาร กรณีการตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารในต่างประเทศ ถูกปฏิเสธโดยเจ้าของโรงงาน ผู้ดำเนินการหรือตัวแทน ๙. ??ให้ปฏิเสธการนำเข้าสินค้าอาหารที่ไม่ผ่านข้อบังคับต่างๆ ของ FFDCA รวมทั้งให้อำนาจ FDA ในการออกข้อบังคับให้มีการจัดหาใบรับรองว่าสินค้าอาหารนั้นๆ มีการปฏิบัติตามกฎหมาย FFDCA ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตนำสินค้าอาหารเข้าประเทศสหรัฐ นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า FDA อาจจัดตั้งสำนักงาน FDA ในต่างประเทศ เพื่อให้อาหารที่จะส่งออกมายังสหรัฐฯ มีความปลอดภัย ทั้งนี้ สหรัฐฯเป็นตลาดหลักที่สำคัญในการส่งออกสินค้าอาหารของไทย โดยในปี ๒๕๕๓ (ม.ค.-พ.ย.) ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐฯ มูลค่าประมาณ ๘๙,๐๐๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๗ ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยไปยังสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘ ทั้งนี้ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรศึกษารายละเอียดของกฎหมายเพื่อเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะข้อบทเกี่ยวกับการปรับปรุงความปลอดภัยอาหารนำเข้า ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.govtrack.us/congress/billtext.xpd?bill=s111-510

ข่าวสุรศักดิ์ เรียงเครือ+กรมการค้าต่างประเทศวันนี้

รัสเซียยกเลิกการขอ Veterinary Certificate ในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัสเซียได้ออกระเบียบ The Decision of the Customs Union Commission No. 810 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 เพื่อกำหนดให้หน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance (VPSS) ยกเลิกการขอเอกสาร Veterinary Certificate ในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ท ข้าวโพด ถั่วเหลือง และกากของพืชน้ำมันอื่น ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นต้น รายละ

คต. เตือนผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับมือ การพัฒนาคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จีนได้เริ่มให้ความสำคัญคุณภาพ มาตรฐานของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานสินค้าดังกล่าว...

Ecomark ของอินเดีย

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานของอินเดีย (Bureau of Indian Standards: BIS) ได้ประกาศใช้ฉลาก Ecomark รับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2534 เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่ง...

อียูแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปล่อย GHG ในการขนส่งทางเรือ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 คณะกรรมาธิการด้าน Climate Action ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) ในสาขาการขนส่งทางเรือ ดังนี้ 1...

สหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรสินค้า 9 รายการ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หน่วยงานศุลกากรของสหรัฐฯ (Customs and Border Protection : CBP) ได้ทบทวนพิกัดศุลกากรสินค้า 9 รายการ และได้ปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องลักษณะที่เป็นจริงของสินค้า ดังนี้...

ฉลากสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (Environmental Protection Agency: EPA) ได้ประกาศใช้ฉลากประหยัดพลังงาน (Energy Star) มาตั้งแต่ปี 2535 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน...

อียูประกาศสารเคมีอันตรายเพิ่ม

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกระเบียบ Commission Regulation (EU) No 109/2012 กำหนดให้สารประกอบในกลุ่ม Boron (Boron Compounds) เป็นสารเคมีอันตราย ที่ผ่านมามีการ...

ตรวจสอบโรงงานอาหารทะเลก่อนส่งออกไปประเทศอาร์เจนตินา

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หน่วยงาน SENASA ของประเทศอาร์เจนตินาพอใจเป็นอย่างมากในการตรวจสอบโรงงานอาหารทะเลของไทย และคาดว่าไทยน่าจะได้รับข่าวดีในเร็ววันนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าด้านอาหาร ...

คต. แจ้งเตือนภาคอุตสาหกรรมไทย

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 หน่วยงานจัดการสารเคมีสหภาพยุโรป (ECHA) ได้ประกาศเตือนภาคอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมจดทะเบียนสารเคมีจำนวน 2,300 รายการที่มีการผลิตหรือนำเข้ามาในสหภาพยุโรป (EU) ...

คต. ดันใช้ประโยชน์ FTA ปี 54 ยอดทะลุ 4 หมื่นล้านเหรียญ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์ส่งออกภายใต้ความตกลง FTA ในปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 39,944.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ...