ลุยตลาดอาหารฮาลาลอียู “สถาบันอาหาร” ชี้ช่อง เจาะตลาดผ่านงานแสดงสินค้า

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--สถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร แนะผู้ประกอบการไทยรุกตลาดอาหารฮาลาลในสหภาพยุโรป ผ่านงานแสดงสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค เผยชาวมุสลิมในยุโรปใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหาร ฮาลาลประมาณวันละ 5-6 เหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2552 มูลค่าตลาดอาหารฮาลาลในยุโรป มีมูลค่าประมาณ 44.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 45.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 คาดทศวรรษหน้าธุรกิจเกี่ยวกับอาหารฮาลาลจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-25 นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “ทวีปยุโรปเป็นตลาดที่มีศักยภาพที่สำคัญของตลาดอาหารฮาลาล แม้จะมีประชากรมุสลิมไม่มากนัก โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ นับว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งการที่จะเข้าไปเจาะตลาดอาหารในสหภาพยุโรปให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้ผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรปอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะระเบียบ (EC) 178/2002 ซึ่งเป็นระเบียบของสหภาพยุโรปที่ได้วางหลักการทั่วไปและข้อกำหนดของกฎหมายอาหาร เพื่อให้มีการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎระเบียบกำหนดไว้ตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร ซึ่งการบังคับใช้ดังกล่าวจะครอบคลุมถึงอาหารฮาลาลที่นำเข้ามายังตลาดสหภาพยุโรปด้วย” ทวีปยุโรปมีประชากรประมาณ 540 ล้านคน เป็นประชากรมุสลิมประมาณ 21 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 4.0 ของประชากรทั้งหมด โดยประมาณร้อยละ 75 ของประชากรมุสลิมในทวีปยุโรปอาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งประเทศฝรั่งเศสและโรมาเนีย มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่มากที่สุด คือ ประเทศ ละประมาณ 4.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 7 ของประชากรของฝรั่งเศส และร้อยะ 20 ของประชากรของ โรมาเนีย ขณะที่ประเทศเยอรมนีและอังกฤษ มีประชากรมุสลิมประมาณ 2.8 และ 1.6 ล้านคน ตามลำดับ สำหรับประเทศในแถบยุโรปตะวันตกที่อยู่นอกกลุ่ม EU มีประชากรมุสลิมน้อยมาก ในขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก พบว่าประเทศแอลเบเนีย มีประชากรมุสลิมมากที่สุดประมาณ 2.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75 ของประชากรทั้งประเทศ รองลงมาได้แก่ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา คิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากร ทั้งประเทศ “สำหรับตลาดอาหารฮาลาลในยุโรป พบว่า ในปี พ.ศ. 2552 มูลค่าตลาดอาหารฮาลาลในยุโรปมีมูลค่าประมาณ 44.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 45.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2553 ตลาดอาหารฮาลาลในยุโรปถือว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรมุสลิมที่มีอยู่เพียงประมาณ 21 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหารฮาลาลของชาวมุสลิมต่อหัวในยุโรปนั้นสูงมาก เฉลี่ยแล้วชาวมุสลิมในยุโรปใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหารฮาลาลประมาณวันละ 5-6 เหรียญสหรัฐฯ และทำให้ตลาดอาหารฮาลาลในยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดว่าในทศวรรษหน้าธุรกิจเกี่ยวกับอาหารฮาลาลจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-25 ดังนั้น ตลาดอาหารฮาลาลในยุโรปถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพในเชิงการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาล ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส และอังกฤษ ถือว่าเป็นตลาดอาหารฮาลาลที่มีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ” นายอมร กล่าว ประเทศฝรั่งเศส จัดว่าเป็นตลาดอาหารฮาลาลที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในยุโรป มีมูลค่าตลาดประมาณ 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2552 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 17.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ฝรั่งเศสมีประชากรมุสลิมประมาณ 4.4 ล้านคน ถือว่าเป็นจำนวนประชากรที่ไม่มากนัก หากเปรียบเทียบกับประเทศมุสลิม แต่เป็นกลุ่มที่มีอำนาจซื้อสูงมาก ตลาดอาหารฮาลาลในฝรั่งเศสกว่าครึ่งหนึ่งจะกระจายตัวอยู่รอบๆ กรุงปารีส ซึ่งบริเวณนี้จะมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 18 ของประชากรมุสลิมทั้งประเทศ ในอดีตอาหารฮาลาลในฝรั่งเศสสามารถหาซื้อได้เฉพาะตามร้านขายของชำทั่วๆ ไป เท่านั้น แต่ปัจจุบันอาหารฮาลาลสามารถหาซื้อได้ตามซูปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ เช่น Carrefour, Cora และ Groupe de’ Casino เป็นต้น ภายใต้ตราสินค้าต่างๆ เช่น Isla Delice, Duc, Oriental Viandes, Knorr, Lacteor และ Maggi เป็นต้น สำหรับประเทศอังกฤษ มีประชากรมุสลิมประมาณ 1.7 ล้านคน และตลาดอาหารฮาลาลมีมูลค่าประมาณ 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2552 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งคาดว่าตลาดอาหารฮาลาลโดยรวมในอังกฤษมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับฝรั่งเศส ขณะที่ในประเทศอื่นๆ ตลาดอาหารฮาลาลมีมูลค่าประมาณ 23.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2552 คาดว่าจะลดลงเหลือ 23.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2553 รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวสรุปว่า “ผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารฮาลาลของไทยที่ต้องการเจาะตลาดอาหารฮาลาลในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ควรต้องดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารฮาลาลไทยให้เป็นที่รู้จัก ถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้บริโภคชาวมุสลิมหันมานิยมเลือกซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถนำสินค้าอาหารฮาลาลไทยเข้าประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าอาหารในฝรั่งเศส เช่น งานแสดงสินค้าอาหาร SIAL เป็นต้น นอกจากนั้น การแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจหรือการจับคู่ทางธุรกิจกับผู้นำเข้าสินค้าอาหารรายสำคัญๆ ในฝรั่งเศส น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารฮาลาลของไทยในการเจาะตลาดอาหารฮาลาลในฝรั่งเศสได้ อีกทั้งเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าไปยังตลาดอื่นๆ ในยุโรปอีกด้วย” สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวอมร งามมงคลรัตน์+งานแสดงสินค้าวันนี้

สถาบันอาหาร ยกระดับเอสเอ็มอี-โอทอป พัฒนาอาหารบุกตลาดฮาลาลโลก

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม แนะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารกลุ่มเอสเอ็มอี และโอทอป ตลอดจนธุรกิจบริการร้านอาหาร เร่งพัฒนาคุณภาพการผลิตอาหารฮาลาล สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคอาหารฮาลาลที่มีอยู่ทั่วโลก หรือราวร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าอาหารโลก แนะจับตาตลาดใหม่มีกำลังซื้อสูง อาทิ ตุรกี โมร็อคโก ได้เปรียบเรื่องชัยภูมิที่ดี มีศักยภาพในการลงทุนและการกระจายสินค้าเชื่อมต่อตะวันออกกลาง และยุโรปตอนใต้ นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “เชื่อมั่น

ภาพข่าว: สถาบันอาหาร มอบเกียรติบัตร GMP in Mass Catering และ HACCP ให้ครัวรพ.ศิริราช

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร มอบเกียรติบัตร GMP in Mass Catering for Hospital ภายใต้โครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” เพื่อแสดงว่าฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช ได้ปฏิบัติตามข้อ...

ภาพข่าว: สถาบันอาหาร นำเอสเอ็มอีไทยจับคู่ธุรกิจเวียดนาม

เมื่อเร็วๆนี้ นายอมร งามมงคลรัตน์ (นั่งแถวสองคนที่ 6 จากซ้าย) รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะนักธุรกิจเอสเอ็มอีด้านอุตสาหกรรมอาหารของไทยรวม 21 ราย ร่วมเจรจาการค้าและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับผู้นำเข้าเวียดนาม และผู้...

ภาพข่าว: สถาบันอาหาร มอบเกียรติบัตรหลักสูตร Train the Trainer ให้บุคลากรปัญญธารา

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.อมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร (คนที่ 6 จากซ้าย) เป็น ผู้มอบเกียรติบัตรให้กับบุคลากรของบริษัท ปัญญธารา จำกัด ที่ผ่านการฝึกอบรมกับสถาบันอาหารในหัวข้อ Train the Trainer for Food Safety...

ภาพข่าว: สถาบันอาหาร ต้อนรับคณะPromPeru ดูงานครัวไทยสู่ครัวโลก

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.อมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ให้การต้อนรับมิสโบทริส โรเบลส คาฮอส (ซ้าย) และมิสคามิลา การ์เซีย โซเรีย ผู้แทนจากหน่วยงาน Commission of the Promotion of Peru for Export and Tourism (PromPeru) จากประเทศเปรู ...

ภาพข่าว: สถาบันอาหารร่วมกับอียูจัดสัมมนา Thai Ready to Eat Product

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จัดสัมมนา เรื่อง Thai Ready to Eat Products ภายใต้โครงการ Enhancing Food Safety Management Competence in the Thai Ready to Eat Food Sector เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ผลิตอาหารในการผลิตอาหารพร้อมบริโภค...

อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จัดงานแถลงข่าว “Thailand International Restaurant & Bar 2011 Industry Briefing”

อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ ร่วมกับ นิตยสารไทยแลนด์ เรสเตอรองต์ นิวส์ ผนึกกำลัง 3 ผู้สนับสนุน ได้แก่ บริษัท ชัยทิพย์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายข้าวแบรนด์พนมรุ้ง, บริษัท บุญรอดบริวเวอร์รี่...

“อียู”เข้ม ปี 2554 ใช้ระเบียบการแจ้งล่วงหน้าก่อนนำเข้าสินค้า

“สถาบันอาหาร” เผยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (อียู) ได้บังคับใช้ข้อกำหนดการแจ้งรายละเอียดสินค้าที่จุดแรกของการนำเข้า เป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมการนำเข้าแห่งสหภาพยุโรป (European Import Control Systems : ICS) เพื่อการลดความ...

สถาบันอาหาร มอบเกียรติบัตร “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงเรียน”

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร มอบเกียรติบัตรให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อแสดงว่าเป็นโรงเรียนนำร่องที่ได้รับการยกระดับในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานครัวโรงเรียน ในโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงเรียน” โดย ผศ.ดร...

สถาบันอาหาร มอบเกียรติบัตร รร.สังกัดกรุงเทพมหานครโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงเรียน”

สถาบันอาหาร ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร บริษัทไวเอท(ประเทศไทย) จำกัด และสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วม โครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรง...