ปฏิรูปชีวิตเกษตรกร ทางออกของรากหญ้าสู่รากแก้ว

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย

สปกช. วางเป้า 5 ปี ตั้งองค์กรอิสระ ขับเคลื่อนการทำงาน เล็งเก็บภาษีจากการนำเข้าปุ๋ยเคมี สินค้าส่งออกตั้งกองทุน สำหรับการพัฒนาเกษตรกร ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส แนะภาคธุรกิจหันดูแลภาคเกษตรให้มากขึ้น เวทีปฏิรูปประเทศไทยสุขภาวะคนไทยครั้งที่ 35 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องประชุม 1 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถ.วิภาวดี กรุงเทพมหานคร หัวข้อ “การปฏิรูประบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร” นำโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และผู้ร่วมเวทีปฏิรูป ได้แก่ ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา อดีตคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนามสำนักงานส่งเสริมการปฏิรูประบบเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ชุมชนและสังคม (สปกช.) และคณะ นำเสนอแนวทางให้จัดตั้งองค์กรอิสระขับเคลื่อนการทำการปฏิรูปชีวิตเกษตรกร ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา กล่าวถึงฐานความคิดในการสร้างแผนปฏิรูประบบเกษตรกรว่า เกิดจากความไม่เป็นธรรมในสังคมเกี่ยวกับชีวิตเกษตรกร ที่มีอยู่ 16 ล้านคนในประเทศ และในปี 2551 สามารถผลิตส่งออก มากเป็นอันดับ 7 ของโลก แต่ประชากรกว่า 10.7 ล้านคน ขาดความมั่นคงทางอาหาร และมีคนที่บริโภคอาหารเกินความจำเป็นกว่า 10 ล้าน คน แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านเกษตรกรรมที่เชื่อมโยงไปยังเรื่องของอาหาร อีกทั้งปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ไร้ที่ทำกิน และการมองตนเองว่า ต่ำต้อย ไม่มีศักดิ์ศรี และขาดความภาคภูมิใจในตนเอง “แม้ว่าการเชื่อมโยงระหว่าง เกษตรกร ภาคการผลิต เทคโนโลยี จะช่วยเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ความต้องการแท้จริงของเกษตรกร คือ สุขภาพกาย สุขภาพจิต มีจิตวิญญาณ มีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งหากมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างบูรณาการแล้วจะช่วยนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งและระบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้” เป้าหมายการจัดทำแผน จะมีการขับเคลื่อนต่อไปภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยให้ได้ 3 องค์ประกอบ คือ 1.พิมพ์เขียวการพัฒนา 2.กลไก/องค์กรอิสระ เพื่อช่วยในการปฏิรูป ทำหน้าที่ได้ต่อเนื่อง ทำหน้าที่ขับเคลื่อน โดยการพัฒนาความรู้เพื่อการปฏิรูประบบ ประสานเครือข่าย ขับเคลื่อนสังคมและนโยบาย และ 3.การจัดตั้งกองทุน สำหรับการพัฒนาเกษตรกร โดยการเก็บภาษีจากการนำเข้าปุ๋ยเคมี หรือสินค้าส่งออก “พิมพ์เขียวปฏิรูประบบฯ จะต้องมีระบบย่อยที่เชื่อมโยงกับชุมชน สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจากการที่เอาเงินเป็นตัวตั้ง ทำให้วัฒนธรรมของการปลูกพืช ขัดแย้งกัน ดังนั้น จะต้องเน้นช่วยจัดการให้เกษตรกรต้องอยู่ในการอยู่ร่วม เอกภาพ อธิปไตย จากวัฒนธรรมการเมืองของแต่ละชุมชน หากไม่คำนึงการส่งเสริมก็จะไม่ประสบความสำเร็จ” ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา กล่าวเพิ่มเติม ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายว่า การสร้างพลังชุมชนเชื่อมโยง ความรู้ ชุมชน อำนาจรัฐ เพื่อช่วยให้การปฏิรูปประเทศไทยในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม มี 3 วิธี คือ 1.ปฏิรูปที่ดินทำกินของเกษตรกรอย่างจริงจัง 2.กลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต้องปรับการดูแลเกษตรกร และ 3.ควร จัดตั้งศูนย์ประสานการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนให้มีทั่วทุกจังหวัด โดยให้เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐอย่างเป็นรูปธรรมด้วย ซึ่งหากอาศัยช่วงกระแสการปฏิรูปประเทศไทยในการผลักดัน จากภาคประชาชน จะช่วยแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินได้อย่างเป็นรูปธรรมจากภาคประชาชนมากขึ้น ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย www.thaireform.in.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 081-8149942/089-9755914 น้ำเพ็ชร/เนตรชนก สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์+จิตติ มงคลชัยอรัญญาวันนี้

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปในพิธีลงพระนามและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปในพิธีลงพระนามและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ณ ตำหนักทิพย์พิมาน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปในพิธีลงพระนาม